แหล่งไม้กลายเป็นหินในประเทศไทย ของ ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน

พิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน จ. นครราชสีมาไม้กลายเป็นหินในวนอุทยานไม้กลายเป็นหินบ้านตาก จ. ตาก หลุมขุดค้นที่ 1 เป็นไม้ทองบึ้ง Koompassioxylon elegans

มีรายงานการค้นพบไม้กลายเป็นหินในประเทศไทยหลายแห่ง ทั้งที่มีอายุเก่าแก่ถึงยุคไทรแอสซิกที่อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ที่ได้รับการศึกษาวิจัยโดยนักบรรพชีวินวิทยาพืชชาวญี่ปุ่นว่า เป็นไม้สนสกุล อะรอคาริออกไซลอน (Araucarioxylon sp.) และยังมีรายงานการค้นพบกระจัดกระจายในชั้นหินมหายุคมีโซโซอิกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่บ้านโกรกเดือนห้า อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ที่เป็นที่มาของการก่อสร้างและพัฒนาเป็นพิพิธภัณฑ์ไม้กลายเป็นหิน และพัฒนาเป็นสถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินและทรัพยากรธรณีภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

แหล่งไม้กลายเป็นหินขนาดใหญ่ครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 30 ตารางกิโลเมตรถูกค้นพบในเขตวนอุทยานไม้กลายเป็นหิน (Bantak Petrified Forest Park) อำเภอบ้านตาก จังหวัดตาก จากการสำรวจขุดค้นพบว่าท่อนไม้กลายเป็นหินฝังตัวอยู่ใต้ชั้นกรวดยุคควอเทอร์นารีซึ่งเป็นกรวดแม่น้ำโดยพิจารณาจากความเรียบและกลมมนของเม็ดกรวด จากการสำรวจภาคพื้นดินพบท่อนไม้โผล่ให้เห็นหลายสิบท่อน และได้มีการขุดขึ้นมาเพื่อจัดแสดงและพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวแล้วจำนวน 8 ท่อนจากจำนวน 7 หลุมขุดค้น จากการวิจัยพบว่าเป็นไม้ทองบึ้ง (Koompassioxylon elegans) จำนวน 6 ท่อน และไม้มะค่าโมง (Pahudioxylon sp.) จำนวน 2 ท่อน (วิฆเนศ ทรงธรรม 2553) ถือว่าเป็นแหล่งไม้กลายเป็นหินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

ใกล้เคียง

ซากดึกดำบรรพ์ช่วงเปลี่ยนสภาพ ซากดึกดำบรรพ์ ซากดึกดำบรรพ์มีชีวิต ซากดึกดำบรรพ์ไม้กลายเป็นหิน ซากดึกดำบรรพ์สาหร่าย ซากดึกดำบรรพ์ดัชนี ซากดึกดำบรรพ์ละอองเรณู ซากดึกดำบรรพ์ร่องรอย ซากดึกดำบรรพ์ทางเรณูวิทยา ซากดึกดำบรรพ์สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง