อิทธิพลต่อวัฒนธรรม ของ ซูเปอร์แมน

ซูเปอร์แมนได้กลายมาเป็นทั้งสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรม [98][99] และผลงานการ์ตูนซูเปอร์ฮีโรเรื่องแรกของชาวอเมริกา ความชื่นชอบของผู้คนที่มีต่อเรื่องราวการผจญภัยและตัวของซูเปอร์แมนส่งผลให้ซูเปอร์แมนมีอิทธิพลต่อการดำเนินชีวิตในสังคมเป็นอย่างมาก จะเห็นได้จากชื่อของซูเปอร์แมนที่มักจะเข้าไปอยู่ในผลงานต่างๆของบรรดานักดนตรี, ศิลปินตลก และ นักประพันธ์ทั้งหลายคำว่า คริปโตไนท์, เบรนิแอค และ ไปซาร์โร ได้กลายมาเป็นวลีที่ผู้คนมักใช้พูดเปรียบเทียบโดยมีความหมายเช่นเดียวกับวลีที่ว่า ข้อเท้าของอคิลิส ซึ่งมีความหมายว่าจุดอ่อน[100]หรือของแสลง[101] เช่นเดียวกับประโยคที่ว่า "ฉันไม่ใช่ซูเปอร์แมนนะ" หรือ กลับกันว่า "คุณไม่ใช่ซูเปอร์แมนนะ" ซึ่งกลายมาเป็น สำนวน ที่มีความหมายว่าไม่ได้มีความสามารถรอบด้านหรือเก่งกาจไปซะทุกอย่าง[102][103][104]

แรงบัลดาลใจต่อผลงานเรื่องอื่น

ซูเปอร์แมนถือว่าเป็นตัวละครที่มีอิทธิพลอย่างมากต่อการออกแบบตัวละครซูเปอร์ฮีโรในเรื่องอื่นๆ [105][106] เช่น แบทแมน ซึ่งถือว่าเป็นตัวละครตัวแรกที่ได้รับแรงบัลดาลใจมาจากซูเปอร์แมน โดยบ๊อบ เคน ผู้สร้างแบทแมน เคยกล่าวต่อ วิน ซัลลิแวน เอาไว้ว่า “จำนวนเงินพวกนั้น[ที่ชีเกลและชูสเตอร์ได้รับจากผลงานเรื่องซูเปอร์แมน]คุณจะได้มาแค่วันจันทร์วันเดียว”[107] เช่นเดียวกับวิคเตอร์ ฟอกซ์ สมุห์บัญชีของดีซีใขณะนั้นได้ทำการเสนอความคิดเห็นต่อ วิล ไอส์เนอร์ คณะกรรมการของ ดีซี ว่าควรจะสร้างตัวละครที่มีลักษณะใกล้เคียง กับซูเปอร์แมน ซึ่งตัวละครนั้นก็คือ วันเดอร์ วูแมน โดยวันเดอร์ วูแมน ทำการตีพิมพ์ฉบับแรกในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1939 แต่หลังจากที่ฟอกซ์แพ้คดีความในการครอบครองลิขสิทธิ์ของตัวละครต่อทางดีซี[108] ฟอกซ์จึงต้องยุติบทบาททั้งหมดที่เขามีต่อวันเดอร์ วูแมน จนกระทั่งภายหลังฟอกซ์จึงมาประสบความสำเร็จกับตัวละครที่มีชื่อว่า บลู บีทเทิล ส่วน กัปตันมาร์เวล ตัวละครของนิตยสารฟอว์เซทท์ คอมิคส์ ทำการตีพิมพ์ในปี ค.ศ 1940 ได้กลายมาเป็นคู่แข่งสำคัญของซูเปอร์แมนในการแย่งความนิยมตลอดทศวรรษ 1940 โดยในช่วงนั้นได้มีการฟ้องร้องกันไปมาระหว่าง 2 สำนักพิมพ์ จนกระทั่งทางสำนักพิมพ์ ฟอว์เซทท์ยอมรับข้อเสนอจากทางดีซีในปี ค.ศ.1953 โดยทางฟอว์เซทท์ต้องยุติการพิมพ์ผลงานทั้งหมดของกัปตันมาร์เวล[109] ในยุคสมัยปัจจุบันหนังสือการ์ตูนแนวซูเปอร์ฮีโรนับได้ว่าเป็นสิ่งที่โดดเด่นมากในวงการหนังสือการ์ตูนของอเมริกา [110] ซึ่งมีตัวละครนับพันๆตัวได้ถูกสร้างขึ้นมาตามรอยของซูเปอร์แมน[111]

การตลาด

ซูเปอร์แมนกลายมาเป็นหนังสือการ์ตูนที่ได้รับความนิยมอย่างรวดเร็ว ด้วยระยะเวลาการวางจำหน่ายอยู่ที่ 3 เดือนต่อ 1 ฉบับ โดยในปี ค.ศ. 1940 มีการนำเอาซูเปอร์แมนเข้ามาแสดงใน มาซี่ พาเหรด (ขบวนพาเหรดที่ถูกจัดขึ้นปีละครั้งของชาวอเมริกา)เป็นครั้งแรก[112] ความนิยมต่อซูเปอร์แมนนั้นยังขยายออกไปอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในปีค.ศ. 1942 ด้วยยอดจำหน่ายของนิตยสารของซูเปอร์แมนทั้ง 3 ฉบับที่วางจำหน่ายอยู่ในขณะนั้น สามารถทำเงินรวมกันได้มากกว่า 1.5 ล้านเหรียญ ส่งผลให้นิตยสาร ไทม์ได้เขียนบทความถึงกับเหตุการณ์นี้เอาไว้ว่า “กรมทหารเรือสหรัฐได้ประกาศว่าหนังสือการ์ตูนเรื่องซูเปอร์แมนนั้นจะต้องถูกจัดอยู่ในหมวดอุปกรณ์ที่จำเป็นต่อการปฏิบัติหน้าที่ของเหล่าทหารเรือที่ประจำการอยู่ในมิดเวย์ อิสแลนด์” [113]หลังจากนั้นไม่นานทางดีซี ได้ทำการจดลิขสิทธิ์ต่อตัวละครทำให้ซูเปอร์แมนกลายมาเป็นแบรนด์ทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล ในปีค.ศ. 1939 ได้ปรากฏสิ้นค้าชิ้นแรกที่มีภาพของซูเปอร์แมนนั้นก็คือ ป้ายประกาศชื่อสมาชิกของชมรม ซูเปอร์เม็นออฟอเมริกา คลับ และในปีค.ศ 1940 มีสิ้นค้าและผลิตภัณฑ์จำนวนมากที่เริ่มนำเอาภาพของซูเปอร์แมนไปใช้ในการตลาด เช่น จิ๊กซอว์, ตุ๊กตากระดาษ, หมากฝรั่ง และการ์ดเกมส์ทั้งหลาย อาจจะรวมถึงฟิกเกอร์ประเภทต่างๆด้วย ความนิยมต่อสินค้าทั้งหลายของซูเปอร์แมนได้ขยายตัวออกไปหลังจากที่ซูเปอร์แมนถูกซื้อลิขสิทธ์ไปสร้างเป็นบทภาพยนตร์ ละครทางวิทยุและโทรทัศน์ โดยเลส แดเนียลส์ได้เขียนบทความถึงเหตุการณ์ในครั้งนี้เอาไว้ว่า “มันคือจุดเริ่มต้นของรากฐานแห่งความยิ่งใหญ่ของวงการบันเทิง ภายในสิบปีข้างหน้าซูเปอร์แมนอาจจะกลายมาเป็น ‘สิ่งสำคัญของวงการบันเทิง’ ก็เป็นได้”[114] ในปี 2006 หลังจากที่ วอร์เนอร์บราเธอร์ส ได้ทำการจัดจำหน่ายภาพยนตร์เรื่อง ซูเปอร์แมน รีเทิร์น ได้มีการทำสัญญาระหว่างวอร์เนอร์ บราเธอร์สและเบอร์เกอร์คิง,[115] โดยทางเบอร์เกอร์คิงสามารถนำตัวละครไปใช้เป็นส่วนหนึ่งในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ทุกชนิดของบริษัท

ความนิยมต่อซูเปอร์แมนนั้นมีมากเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะสัญลักษณ์ตัว S ที่เป็นเหมือนกับเครื่องหมายการค้าของซูเปอร์แมน ซึ่งจะเป็นสัญลักษณ์ที่มีลักษณะเป็นตัว S สีแดงเข้มวางอยู่เหนือพื้นหลังสีทอง ได้ถูกนำไปใช้วงการแฟชั่นอย่างแพร่หลาย[116][117]

สัญลักษณ์ตัว “S” มักจะถูกนำไปใช้เป็นสัญลักษณ์แทนตัวของซูเปอร์แมนในสื่อต่างๆ [ต้องการอ้างอิง] โดยมักจะปรากฏอยู่ในฉากเปิดเรื่องหรือไม่ก็ฉากปิดท้ายของภาพยนตร์หรือละครทางโทรทัศน์[ต้องการอ้างอิง]

รูปแบบของสื่อต่างๆ

ซูเปอร์แมนเป็นอีกตัวละครหนึ่งจากหนังสือการ์ตูนที่มักถูกนำไปดัดแปลงผ่านรูปแบบสื่อต่างๆมากมาย เนื่องจากซูเปอร์แมนคือตัวละครที่เปรียบเสมือนสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของวัฒนธรรมของอเมริกา[118] และได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง[119] โดยสังเกตได้จากรายได้ทางการตลาดที่มีมูลค่ามหาศาล[114] จึงเป็นเหตุผลให้มีการนำซูเปอร์แมนไปสร้างเป็นละครทางวิทยุ, โทรทัศน์ และจึงเป็นเหตุผลให้มีการนำซูเปอร์แมนไปสร้างเป็นละครทางวิทยุ, โทรทัศน์ และภาพยนตร์, รวมถึงวิดีโอ เกม โดยจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัยรวมถึงวิดีโอ เกม โดยจะมีการปรับเปลี่ยนเรื่องราวเพื่อให้เหมาะสมกับยุคสมัย

ผลงานชิ้นแรกของซูเปอร์แมนที่ถูกนำเสนอผ่านสื่อนั้นก็คือ การ์ตูนช่องในหนังสือพิมพ์รายวัน, ที่ทำการตีพิมพ์เป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ 16 มกราคม ค.ศ.1939 จนถึงพฤษภาคม ค.ศ. 1966 จะสังเกตได้ว่า ชีเกลและชูสเตอร์ได้นำเอาเรื่องราวในตอนแรกของการ์ตูนช่องมาอธิบายที่มาที่ไปของซูเปอร์แมน เช่น เรื่องราวเกี่ยวกับดาวคริปตันรวมถึง จอร์-เอลบิดาผู้ให้กำเนิดซูเปอร์แมน ซึ่งเนื้อหาดังกล่าวไม่ได้กล่าวถึงในหนังสือการ์ตูน[70] จนกระทั่งในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1940 ได้มีการเปิดตัวผลงานซีรีส์ทางวิทยุเรื่องแรกของซูเปอร์แมนที่มีชื่อว่า เดอะ แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ซึ่งได้ บัด คอลล์เยอร์ มาเป็นผู้ที่พากย์เสียงซูเปอร์แมน ซีรีส์ชุดนี้ได้รับความนิยมอย่างมากโดยได้ออกอากาศจนถึงเดือนมีนาคม ค.ศ. 1951 บัด คอลล์เยอร์นั้นยังเป็นผู้ที่ให้เสียงซูเปอร์แมนในผลงานซีรีส์การ์ตูนที่มีชื่อว่า “ซูเปอร์แมน”อนิเมท การ์ตูน ผลงานของ เฟลิสเชอร์ สตูดิโอ โดยเฟมัส สตูดิโอ จะเป็นผู้จัดจำหน่ายในฉบับภาพยนตร์ ซีรีส์ชุดนี้มีจำนวนตอนทั้งหมด 7 ตอนด้วยกันซึ่งทำการผลิตอยู่ในช่วงปีค.ศ. 1941 และค.ศ.1943 ในปีค.ศ. 1948 ได้มีการทำภาพยนตร์เกี่ยวกับ ซูเปอร์แมน อีกครั้ง โดยได้ เคิร์ก อลิน มารับบทซูเปอร์แมนซึ่งเคิร์ก อลิน นั้นคือผู้ที่แสดงเป็นซูเปอร์แมนคนแรกในผลงานภาพยนตร์เฟรนไชด์ของซูเปอร์แมน จากนั้นภาพยนตร์เรื่องที่2 ของซูเปอร์แมนที่มีชื่อว่า อะตอมแมน ปะทะ ซูเปอร์แมน, ได้ทำการออกฉายในปีค.ศ.1950 [120]

ในปีค.ศ. 1951 ได้มีการจัดทำซีรีส์ทางโทรทัศน์ที่ชื่อว่า แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน นำแสดงโดย จอร์จ รีฟส์ โดยในตอนที่ 25 และ 26 ได้ถูกนำไปดัดแปลงเป็นภาพยนตร์ที่ชื่อว่า ซูเปอร์แมน แอนด์ เดอะ โมล์ เม็น ซึ่งผลงานซีรีส์ชุดนี้ออกอากาศในปี ค.ศ. 1952 – ค.ศ.1958 มีจำนวนตอนทั้งสิ้น 104 ตอน ส่วนผลงานเรื่องถัดมาของซูเปอร์แมนเกิดขึ้นในปีค.ศ.1966 ในรูปแบบของละครเพลงที่ใช้ชื่อว่า นั่นคือนก…นั่นคือเครื่องบิน…นั่นมันซูเปอร์แมนโดยได้จัดแสดงในโรงละครบรอดเวย์ ซึ่งได้รับการตอบรับจากผู้ชมเป็นอย่างดี ส่งผลให้รอบการแสดงนั้นสูงถึง 129 รอบ[121]หลังจากนั้น ผลงานเพลง ได้ถูกบันทึกในรูปแบบของแผ่นเสียงและออกจัดจำหน่ายในเวลาถัดมา [122] อย่างไรก็ตามในปีค.ศ.1975 ได้มีการนำผลงานชุดนี้กลับมาทำใหม่และออกอากาศทางโทรทัศน์ ซูเปอร์แมนได้ถูกนำมาทำเป็นแอนิเมชั่นอีกครั้งซึ่งครั้งนี้เป็นผลงานที่ออกอากาศทางโทรทัศน์ในซีรีส์ที่ชื่อว่าเดอะ นิว แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ซีรีส์ชุดนี้มีจำนวนตอนทั้งสิ้น 68 ตอน และทำการออกอากาศช่วงปีค.ศ. 1966 ถึง ค.ศ.1969 โดยได้ บัด คอลล์เยอร์ กลับมาให้เสียงเป็นซูเปอร์แมนอีกครั้ง หลังจากนั้นในช่วงค.ศ.1973 ถึง ค.ศ.1984 สถานีโทรทัศน์ เอบีซี ได้ทำการออกอากาศซีรีส์แอนิเมชั่นของซูเปอร์แมนที่มีชื่อว่า ซูเปอร์ เฟรนด์ ซึ่งเป็นผลงานของ ฮันน่า-บาร์เบร่า สตูดิโอ[123]

ซูเปอร์แมนได้หวนกลับคืนสู่แผ่นฟิล์มอีกครั้งในปีค.ศ.1978 โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์แมน กำกับโดย ริชาร์ด ดอนเนอร์ และได้ คริสโตเฟอร์ รีฟ มาสวมบทเป็นซูเปอร์แมน ภาพยนตร์ชุดนี้ยังถูกนำมาทำต่ออีกสามภาคได้แก่ ซูเปอร์แมน II (ค.ศ.1980), ซูเปอร์แมน III (ค.ศ.1983) and ซูเปอร์แมน IV: เดอะ เควสท์ ฟอร์ พีซ (ค.ศ.1987).[124] ในปีค.ศ. 1988 ได้มีการนำซูเปอร์แมนมาทำเป็นแอนิเมชั่นเพื่อออกอากาศทางโทรทัศน์อีกครั้งโดย รูบี้ สเปียร์ โปรดักชั่น โดยใช้ชื่อเรื่องว่า ซูเปอร์แมน,[125] รวมถึง ได้มีการสร้างซีรีส์คนแสดงเรื่อง ซูเปอร์บอย ที่ทำการออกอากาศตั้งแต่ ค.ศ. 1988 จนถึง ค.ศ.1992 [126] จนกระทั่งปีค.ศ. 1993 ซีรีส์เรื่อง ลูอิส & คลาร์ก : เดอะ นิว แอดเวนเจอร์ออฟซูเปอร์แมน ได้ทำการออกอากาศผ่านเครือข่ายของสถานีโทรทัศน์เอบีซี นำแสดงโดย ดีน เคน รับบท ซูเปอร์แมนและ เทริ แฮทเชอร์ รับบท ลูอิส เลน โดยซีรีส์ชุดนี้ออกอากาศจนถึงปีค.ศ. 1997 ส่วนผลงานของ วอร์เนอร์ บราเธอร์ส แอนิเมชั่น ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: เดอะ แอนิเมท ซีรีส์ ได้ออกอากาศผ่านช่อง เดอะ ดับเบิ้ลยู บี ตั้งแต่ค.ศ. 1996 จนถึง ค.ศ. 2000 [127]

ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 ได้มีการนำเสนอผลงานภาพยนตร์และซีรีส์ของซูเปอร์แมนเช่น ในปีค.ศ.2001 ซีรีส์ชุด สมอลล์วิลล์ ได้ทำการออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ เดอะ ดับเบิ้ลยู บี ซึ่งเรื่องราวจะเน้นไปที่เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับ คลาร์ก เคนต์ ในสมัยที่ยังเป็นวัยรุ่นก่อนที่จะกลายมาเป็นซูเปอร์แมนในภายหลัง โดยได้ ทอม เวลลิ่ง มารับบท คลาร์ก ซี่รีย์ชุดนี้ทำการออกอากาศถึง 10 ซีซั่น โดยซีซั่นสุดท้ายจบลงเมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ.2011 ส่วนผลงานทางภาพยนตร์ของซูเปอร์แมนนั้น ในปีค.ศ. 2006 ได้มีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง ซูเปอร์แมน รีเทิร์น กำกับโดย ไบรอัน ซิงเกอร์ และได้ แบรนดอน เราธ์ มาแสดงเป็นซูเปอร์แมน โดยหยิบยกเรื่องราวจากซูเปอร์แมน 2 ภาคแรกที่ คริสโตเฟอร์ รีฟ เคยแสดงนำมาปรับปรุงใหม่ ส่วนในปีค.ศ. 2007 ชื่อของ ทอม เวลลิ่ง เคยถูกเสนอให้เข้ามารับบทเป็นซูเปอร์แมนอีกครั้งในผลงานที่มีชื่อว่า จัสติสลีก: มอร์ทัล ซึ่งจะกำกับโดย จอร์จ มิลเลอร์.[128] โดยจะเป็นเรื่องราวของการรวมกันระหว่าง ซูเปอร์แมน, แบทแมน, วันเดอร์ วูแมน, และสมาชิกคนอื่นๆจากผลงานหนังสือการ์ตูนของ ดีซีคอมิกส์ ที่มีชื่อว่า จัสติสลีกออฟอเมริกา แต่ถึงอย่างนั้นโครงการนี้ก็ไม่มีแผนงานที่แน่นอนทำให้โครงการนี้ต้องล้มเลิกไปในท้ายที่สุดแม้ว่าจะได้ตัว ดี เจ โคโตรน่า เข้ามาคัดตัวเป็นซูเปอร์แมนแล้วก็ตาม[128]จนกระทั่งในปีค.ศ. 2010 มีการประกาศสร้างผลงานชุดใหม่ของซูเปอร์แมน หลังจากที่ผลงานเรื่อง เดอะ ฮิททอรี่ออฟอินวัลเนอร์เรบิลิตี้ ของ เดวิด บาร์ คัทซ์ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับ เจอร์รี่ ซีเกล ผู้สร้างสรรค์ซูเปอร์แมน ได้ออกฉายที่โรงภาพยนตร์ ซินซินนาติ เพลย์เฮาส์ อิน เดอะ พาร์ค [129][130] ในครั้งนี้ภาพยนตร์ชุดใหม่ของซูเปอร์แมนจะมีชื่อว่า เดอะ แมนออฟสตีล จะมีกำหนดการออกฉายในวันที่ 14 มิถุนายน ค.ศ.2013 ซึ่งกำกับโดย แซค ซไนเดอร์ และได้เฮนรี่ แควิลล์ มารับบทซูเปอร์แมน [131]ส่วนเนื้อหาในภาพยนตร์นั้นทางวอร์เนอร์ บราเธอร์จะทำการรีบูทเนื้อเรื่องใหม่ทั้งหมด ให้เหมือนกับ แบทแมน บีกินส์ ภาพยนตร์ของแบทแมนในปี ค.ศ. 2005 .[132] ซึ่ง แควิลล์ ผู้ที่มารับบทซูเปอร์แมนในครั้งนี้นั้นเคยเข้ารับการคัดเลือกเพื่อที่จะสวมบทเป็นซูเปอร์แมนมาก่อนในปีค.ศ. 2006 โดยทางสตูดิโอในตอนนั้นตัดสินใจเลือก แบรนดอน เราธ์ มารับบทเป็นซูเปอร์แมน

ฉบับภาพยนตร์

บทภาพยนตร์
Superman (1948)Superman (1978)Superman II (1980)Superman III (1983)Superman IV (1987)Superman Returns (2006)Man of Steel (2013)
ซูเปอร์แมน /
คลาร์ก เค้นท์
เคิร์ก อลินคริสโตเฟอร์ รีฟแบรนดอน เราธ์เฮนรี แควิลล์
โลอิส เลนNoel NeillMargot KidderKate Bosworthเอมี่ อดัมส์
เล็กซ์ ลูเธอร์ ยีน แฮ็กแมน ยีน แฮ็กแมนเควิน สเปซีย์ 
เพอร์รี ไวต์Pierre WatkinJackie CooperFrank Langellaลอว์เรนซ์ ฟิชเบิร์น
จิมมี ออลเซนTommy BondMarc McClureSam Huntington 
ลานา แลง Diane Sherry Annette O'Toole  Jadin Gould
โจนาธาน เค้นต์Ed CassidyGlenn Ford    เควิน คอสต์เนอร์
มาร์ธา เค้นต์Virginia CarrollPhyllis Thaxter   Eva Marie Saintไดแอน เลน
General Zod Terence Stamp   Michael Shannon
ลารา ลอร์-เวนLuana WaltersSusannah York Susannah York อเยลิต ซูเรอร์

ฉบับซีรีส์

บทซีรีส์
Superman (1948)Atom Man Vs. Superman (1950)Adventures of Superman (1952-1958)Superboy (1988-1992)Lois & Clark (1993-1997)Smallville (2001-2011)
ซูเปอร์แมน /
คลาร์ก เค้นท์
Kirk AlynGeorge ReevesJohn Haymes Newton /
Gerard Christopher
Dean Cainทอม เวลลิ่ง
เล็กซ์ ลูเธอร์ Lyle Talbot Scott Wells /
Sherman Howard
John Sheaไมเคิล โรเซนบอม
โลอิส เลนNoel NeillPhyllis Coates
/ Noel Neill
 เทอรี แฮทเชอร์Erica Durance
ลานา แลง Stacy Haiduk คริสติน ครุก
เพอร์รี ไวต์Pierre WatkinJohn Hamilton ไม่ปรากฏชื่อนักแสดงMichael McKean
จิมมี ออลเซนTommy BondJack Larson Michael Landes / Justin Whalin / Jack LarsonAaron Ashmore
ซูเปอร์เกิร์ล Laura Vandervoort

ผลงานเพลง การล้อเลียนและการอ้างอิง

ซูเปอร์แมนถูกฆ่าตายขณะปฏิบัติหน้าที่ในอิรัก วาดโดย คาร์ลอส ลาทัฟฟ์

ซูเปอร์แมนมักจะถูกนักดนตรีใช้เป็นแรงบัลดาลใจในการสร้างผลงานอยู่เสมอ ซึ่งชื่อของซูเปอร์แมนมักจะปรากฏอยู่ในเนื้อเพลงของศิลปินหลายๆคนในทุกยุคสมัย เช่น Sunshine Superman ผลงานสุดฮิตที่ติดชาร์จ บิลบอร์ดฮอต 100 ของ โดโนแวน ที่มีชื่อของซูเปอร์แมนปรากฏอยู่ทั้งในชื่อเพลงและเนื้อเพลงในท่อนที่ร้องว่า "Superman and Green Lantern ain't got nothing on me"[133] ส่วนนักร้องโฟล์คและนักแต่งเพลงอย่างจิม ครอค ได้กล่าวถึงซูเปอร์แมนในท่อนครอรัสในบทเพลงของเขาที่ชื่อว่า "You Don't Mess Around with Jim",ในท่อนที่ร้องว่า "you don't tug on Superman's cape" ซึ่งภายหลังได้กลายเป็นวลีที่ได้รับความนิยมในสมัยนั้น [134] สำหรับบทเพลงอื่นที่อ้างอิงถึงซูเปอร์แมนนั้นก็มีเพลง "Land of Confusion" ของวง เจเนซิส[135] โดยในมิวสิควิดีโอของเพลงนี้จะมีใบประกาศที่เป็นรูปของ โรนัลด์ เรแกน สวมชุดของซูเปอร์แมนปรากฏอยู่[136] นอกจากนี้ยังมีเพลง "(Wish I Could Fly Like) Superman" ของวงเดอะคิงค์ส โดยเป็นผลงานเพลงจากอัลบั้ม Low Budget ที่ออกจำหน่ายในปี ค.ศ.1979 รวมถึงบทเพลงที่มีชื่อว่า "Superman" ของวง เดอะ ไคลคิว ส่วนผลงานถัดมาเป็นของวงอาร์.อี.เอ็ม. ในปีค.ศ.1986 กับอัลบั้มที่มีชื่อว่า Lifes Rich Pageant ซึ่งบนปกของอัลบั้มนั้นมีการอ้างอิงถึง แกรนท์ มอร์ริสัน ผู้ที่มีบทบาทเป็น แอนนิม่อล แมนรวมถึงปรากฏภาพของซูเปอร์แมนอยู่บนปกด้วย[137] รวมถึงบทเพลงของวง แคลช เทส ดัมมี่' ที่มีชื่อว่า "Superman's Song" ผลงานเพลงในปี ค.ศ.1991 จากอัลบั้มThe Ghosts That Haunt Me โดยเนื้อเพลงจะกล่าวถึงความมุ่งมั่นและการต้องตัดสินใจในการใช้ชีวิตของซูเปอร์แมน [138] จนกระทั่งในปีค.ศ. 2000 บทเพลง "Superman (It's Not Easy)" ของวง ไฟฟ์ ฟอร์ ไฟท์ติ้ง ได้ทำการกล่าวถึงมุมมองของซูเปอร์แมนว่าตัวซูเปอร์แมนนั้นไม่ได้มีความสุขสบายเหมือนที่ผู้คนทั้งหลายๆเข้าใจ[139]

ผลงานที่นำเอาซูเปอร์แมนมาล้อเลียนนั้นก็มีอยู่เป็นระยะๆ เช่น ผลงานการ์ตูนในปีค.ศ.1942 เรื่อง ไมท์ตี้ เมาส์ ที่มีการเปิดตัวเรื่องด้วยข้อความ “เดอะ เมาส์ออฟทูมอร์โรว์”[140] ไมท์ตี้ เมาส์นั้นจะมีพลังเหมือนกับซูเปอร์แมนทุกอย่างเพียแต่เรื่องราวจะออกมาในรูปแบบเบาสมองซึ่งตัวละครภายในเรื่องนั้นก็มีบุคลิกคล้ายกับตัวละครในซูเปอร์แมน หลังจากนั้นในปีค.ศ.1943 ผลงานการ์ตูนของ บักส์ บันนี่ ที่มีชื่อตอนว่า ซูเปอร์ แรบบิท จะมีฉากที่บักส์ บันนี่ได้รับพลังหลังจากที่กินแครรอทเข้าไป โดยตอนจบของเนื้อเรื่องนั้นบักส์ บันนี่ ได้วิ่งเข้าไปในตู้โทรศัพท์เพื่อที่จะทำการแปลงร่างเป็น ซูเปอร์แมน และทำท่าทางเหมือน นาวิกโยธินของอเมริกา ส่วนในปีค.ศ.1956 ดัฟฟี่ ดั๊ค ได้มาสวมบทเป็น "คลั๊ก เทร้นท์ " ในผลงานการ์ตูนที่มีชื่อว่า "สติวเปอร์ ดั๊ก" จนภายหลังบทบาทนี้ได้ถูกนำไปใช้ในหนังสือการ์ตูนของ ลูนี่ย์ ตูน อยู่หลายตอน [141] างฝั่งของสหราชอาณาจักรเองก็มีการนำเอาซูเปอร์แมนไปล้อเลียนเช่นกันเริ่มจากผลงานของมอนตี้ ไฟท่อน กับตัวละครที่มีชื่อว่า ไบซีเคิ่ล รีแพร์แมน ผู้ซึ่งมีหน้าที่รับซ่อมจักรยานทั่วโลก โดยซีรีส์ชุดนี้จะถูกนำเสนอในช่องรายการของ บีบีซี[142] รวมถึงซีรีส์ซิท-คอมที่มีชื่อว่า"มาย ฮีโร่" ที่นำเสนอเรื่องราวของ เธอร์โมแมน ผู้ที่มีพลังคล้ายกับซูเปอร์แมน ซึ่งพยายามที่จะปกป้องโลกรวมถึงเสาะหาความรักที่ซาบซึ้งให้กับตัวเอง [143] และในรายการ แซทเทอร์เดย์ ไนท์ ไลฟ์ ของสหรัฐอเมริกาเองก็ได้มีการล้อเลียนซูเปอร์แมน เมื่อ มาร์ก๊อท คิดเดอร์ ได้แต่งตัวเลียนแบบเป็น ลูอิส เลน ในโชว์ที่ 179 ของรายการ ส่วน เจอร์รี่ ซีนฟิลด์ ผู้ซึ่งเป็นแฟนพันธุ์แท้ของซูเปอร์แมน ได้นำซูเปอร์แมนใส่เข้าไปอยู่ในผลงานซีรีส์ของเขาเรื่อง ซีนฟิลด์ จากนั้นในปีค.ศ.1997 ซีนฟิลด์ได้ให้ซูเปอร์แมนเข้ามามีส่วนร่วมในการถ่ายทำผลงานโฆษณาของอเมริกัน เอ็กซ์เพรซ โดยให้แสดงคู่กับตัวเขาเอง ซึ่งโฆษณาชุดนี้ได้ได้ถูกผยแพร่ในการแข่งขันเอ็น เอ็ฟ แอล รอบเพลย์อ๊อฟ ในปี ค.ศ.1998 รวมถึงการแข่งขัน ซูเปอร์โบล์ว ในทุกๆนัด โดยทางซีนฟิลด์ได้ให้ศิลปินที่มีชื่อว่า เคิร์ท สวอน เป็นผู้วาดภาพแอนิเมชั่นของซูเปอร์แมนที่ใช้ในโฆษณา[144]

ซูเปอร์แมนมักจะถูกอ้างถึงในผลงานของนักเขียนต่างๆมากมาย เช่นในผลงานนิยายภาพของ สตีเว่น ที. ซีเกิล ที่มีชื่อว่า ซูเปอร์แมน: อิท อะ เบิร์ด ซึ่งมีเนื้อหาเกี่ยวกับการต่อสู้ชีวิตของซีเกิลโดยได้รับแรงบัลดาลใจมาจากซูเปอร์แมน[145]ทางด้าน แบรด เฟรเซอร์ ก็ได้อ้างถึงซูเปอร์แมนในบทประพันธ์ของเขาเรื่อง พัว ซูเปอร์ แมน มีการจัดพิมพ์ในหนังสิพิมพ์ ดิอินดีเพ็นเดนต์ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ ผู้ชายคนหนึ่งที่เป็นเกย์ต้องมาต้องมาสูญเสียพวกพ้องจากการติดโรคเอดส์จากบุคคล "ที่ถูกระบุว่าเป็นซูเปอร์แมน ผู้ที่มาจากนอกโลกและมีนิสัยชอบหลอกลวงผู้อื่น"[146]ส่วนผลงานโรแมนติค คอมเมดี้ของโธม ซาห์เลอร์ เรื่อง เลิฟ แอนด์ เคพส์ โดยจะมีเรื่องราวเกี่ยวกับความรักของซูเปอร์แมน อนาล็อก ที่มีประโยคประจำตัวว่า (“ได้โปรด ฉันคือสัญลักษณ์!”) กับคู่หมั้นของเขาที่เป็นคนธรรมดา

ซูเปอร์แมนยังถูกกล่าวถึงในผลงานภาพยนตร์หลายๆเรื่อง เช่นภาพยนตร์เรื่อง แบทแมน & โรบิน ของโจเอล ชูมัคเกอร์ โดยแบทแมนได้ทำการพูดว่า: "เพราะอย่างนี้ไง ซูเปอร์แมนถึงทำงานคนเดียว..." ซึ่งแบทแมนต้องการจะเปรียบเทียบถึงโรบิน คู่หูของเขาที่มักชอบนำปัญหามาให้ รวมถึงภาพยนตร์เรื่อง สไปเดอร์แมน ของแซม ไรมี่ ในฉากที่ป้าเมย์ ได้ให้คำปรึกษากับปีเตอร์ ปาร์คเกอร์ผู้ที่เป็นหลานชายว่าอย่าหักโหมให้มากนักด้วยคำพูดที่ว่า “หลานก็รู้ หลานไม่ใช่ซูเปอร์แมนนะ” นอกจากนี้ซูเปอร์แมนยังถูกอ้างอิงในภาพยนตร์เรื่องอื่นๆอีกมากมาย

การวิเคราะห์ผลงาน

นับตั้งแต่ซูเปอร์แมนปรากฏตัว ซูเปอร์แมนได้ถูกนำไปตีความและถูกบอกเล่าในหลายๆรูปแบบ ซูเปอร์แมนคือตัวละครซูเปอร์ฮีโรตัวแรกที่บรรดานักวิชาการมักจะหยิบยกมาพูดคุยและวิเคราะห์ในหลายๆด้าน อัมเบอร์โต เอโค่ นักวิชาการชื่อดัง เคยกล่าวไว้ว่า “ผู้คนจะเห็นว่าซูเปอร์แมนนั้นคือตัวแทนของความดีงามโดยเขาได้แสดงสิ่งเหล่านั้นออกมาผ่านการกระทำของเขา”[147] ส่วนบทความของ เจอร์รอลด์ คลาร์ก ในนิตยสาร ไทม์ ที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ.1971 ได้เขียนไว้ว่า: “ความนิยมอันมากมายที่ผู้คนมีต่อซูเปอร์แมนนั้นมันเหมือนกับเป็นสัญญาณการการปิดฉาก ยุคสมัยของ โฮราทิโอ อัลเกอร์ นักเขียนที่มีผลงานเป็นร้อยเรื่อง” คลาร์กได้ดูรายละเอียดของบรรดาตัวละครและทำการศึกษาความสัมพันธ์ต่างๆ จากนั้นได้เขียนบทความเกี่ยวกับซูเปอร์แมนผ่านหนังสือพิมพ์ คลาร์กนั้นเห็นว่าซูเปอร์แมน (ซึ่งตอนนั้นอยู่ในช่วงทศวรรษ ค.ศ.1970) จะไม่มีวันล้าสมัยอย่างแน่นอน คลาร์กกล่าวว่า “มีแต่บุคคลที่ทรงพลังเท่านั้นที่จะสามารถสร้างวีรกรรมอันยิ่งใหญ่และจะอยู่คู่โลกใบนี้ตราบนานเท่านาน” [148] ในช่วงต้นของศตวรรษที่ 21 แอนดรีว อาร์โนลด์ ได้เขียนบทความเอาไว้ว่า การกระทำของซูเปอร์แมนนั้นคือแบบอย่างที่ดีที่มนุษย์ทุกคนควรจะปฏิบัติตาม ซูเปอร์แมนแม้จะเป็นบุคคลจากดาวอื่นแต่ก็มีจิตใจที่ดีงามทำซึ่งผู้อ่านสามารถซึมซับความดีเหล่านั้นได้จากการรับชมซูเปอร์แมน[149]

เอ.ซี. เกรย์ลิ่ง ได้เขียนบทความไว้ในนิตยสาร เดอะ สเปคเตเตอร์ เกี่ยวกับบุคลิกของซูเปอร์แมนในยุคสมัยต่างๆ ซูเปอร์แมนถูกเปิดตัวในช่วงทศวรรษที่ ค.ศ.1930 ด้วยปณิธานที่ต้องการกำจัดอาชญากรรมตามกระแสความนิยมในยุคสมัยนั้นที่ได้รับอิทธิพลมาจาก อัล คาโปน จนกระทั่งช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1940 ในช่วงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซูเปอร์แมนได้เข้ามาช่วยเหลือประเทศชาติด้วยการขาย พันธบัตรสงคราม[150] ในช่วงทศวรรษ ค.ศ. 1950 ซูเปอร์แมนได้ออกค้นหาเทคโนโลยีชิ้นใหม่ที่มีอานุภาพทำลายล้างโลกได้ โดย เกรย์ลิ่ง ได้ทำการบันทึกถึงเรื่องราวของเหตุการณ์นี้หลังจากที่ สงครามเย็น ได้เปิดฉากขึ้นเอาไว้ว่า “เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนี้มันกลายมาเป็นเรื่องราวของซูเปอร์แมน: ซูเปอร์แมนต้องใช้พละกำลังของตัวเองเข้าต่อกรกับมันสมองของ เล็กซ์ ลูเธอร์ และ ไบรนิแอค ซึ่งมันก็คล้ายๆกับสงครามเย็นที่เกิดขึ้นในขณะนี้” แต่เหตุการณ์ที่ถูกผู้คนนำมาพูดถึงมากที่สุดนั่นก็คือเหตุการณ์ วินาศกรรม 11 กันยายน พ.ศ. 2544, “ทั่วทั้งโลกต่างจับตามองไปยัง จอร์จ ดับเบิลยู บุช ประธานาธิบดีของอเมริกา หลังจากที่อเมริกาต้องตกเป็นเหยื่อการก่อวินาศกรรมจากผู้ก่อการร้ายที่มีนามว่า อุซามะฮ์ บิน ลาดิน เหตุวินาศกรรมในครั้งนี้ถือว่าเป็นการก่อวินาศกรรมที่ร้ายแรงที่สุดของประเทศสหรัฐอเมริกาและของโลก ผู้คนในประเทศต้องพยายามก้าวผ่านสิ่งนี้ไปให้ได้ โดยหวังว่าซักวันจะมีชายผู้สวมชุดสีฟ้าบินมาพร้อมกับผ้าคลุมสีแดงออกมาปกป้องพวกเขาในโลกแห่งความเป็นจริง”[151]

สกอตต์ บูคัทมัน ได้ทำการกล่าวถึงซูเปอร์แมนกับฮีโร่ทั่วๆไปว่าไม่มีฮีโร่คนไหนจะมีพื้นที่ในการปฏิบัติงานกว้างขวางไปกว่าซูเปอร์แมนอีกแล้ว ซูเปอร์แมนนั้นต้องบินไปมาในท้องฟ้าของเมืองที่มีขนาดใหญ่มากๆอย่างเมโทรโพลิส บูคัทมันยังได้เขียนบทความเกี่ยวกับซูเปอร์แมนเอาไว้ว่า “นับตั้งแต่ปีค.ศ.1938 ซูเปอร์แมนนั้นถูกนำมากล่าวถึงอยู่ตลอดเวลาเขาเป็นสุดยอดฮีโร่ ซูเปอร์แมนมีสายตาเอ็กซ์-เรย์ที่สามารถมองทะลุผนังได้ มีจิตใจที่ดีงามและมีพลังอันมหาศาล เมืองเมโทรโพลิสเป็นประชาธิปไตยพร้อมกับเกิดความสงบสุขได้ก็เพราะมีซูเปอร์แมน” [38]

จูเลียส ไฟฟ์เฟอร์ ได้พูดเกี่ยวกับซูเปอร์แมนเอาไว้ว่า ซูเปอร์แมนนั้นคือการพัฒนาการของคลาร์ก เคนต์อย่างแท้จริง ไม่น่าสงสัยเลยว่า “ทำไมซูเปอร์แมนถึงสามารถสร้างสิ่งมหัศจรรย์ขึ้นมาได้ นั่นก็เพราะซูเปอร์แมนได้เรียนรู้เรื่องราวต่างๆผ่านบุคลิกอีกบุคลิกหนึ่งที่เป็นเด็กชาวไร่ธรรมดาๆที่มีชื่อว่า คลาร์ก เคนต์นั่นเอง” ไฟฟ์เฟอร์ เป็นหนึ่งในทีมงานผู้พัฒนาที่ทำให้ซูเปอร์แมนกลายมาที่นิยมในยุคแรกๆ [152] ทั้งซีเกลและชูสเตอร์สองผู้สร้างซูเปอร์แมนต่างเห็นด้วยกับแนวความคิดของไฟฟ์เฟอร์ โดยซีเกลได้ทำการกล่าวว่า “ถ้าคุณสนใจในเรื่องที่ว่าซูเปอร์แมนมีที่มาที่ไปอย่างไร…อะไรดีละ? แต่ผมจะบอกคุณว่านี่แหละคือหัวใจสำคัญของเรื่องราวทั้งหมดที่แฟนๆของผลงานชุดนี้จะต้องชอบแน่ๆ โจกับผมก็พยายามมาคิดแล้วคิดอีกเกี่ยวกับเรื่องนี้...ว่าเราควรจะนำมาใช้เพื่อช่วยทำให้หนังสือการ์ตูนของเราที่มีเรื่องราวเป็นแนววิทยาศาสตร์ดูน่าสนใจมากขึ้น นั่นจึงเป็นสาเหตุว่าทำไมเราจึงต้องสร้างตัวตนของซูเปอร์แมนขึ้นมาสองตัว” ส่วนชูสเตอร์ก็เห็นด้วยกับแนวความคิดนี้เช่นกัน โดยได้กล่าวว่า “ทำไมผู้คนชอบพูดถึงเรื่องนี้กันจังเลย”[153]

เอียน กอร์ดอน ได้ให้ความเห็นเอาไว้ว่า หลายๆสิ่งในตัวของซูเปอร์แมนที่ถูกนำแสดงผ่านสื่อนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับรูปแบบอุดมการณ์ของชาวอเมริกัน กอร์ดอนยังอธิบายว่าสิ่งเหล่านี้มันก็เหมือนกับการเชื่มโยงระหว่างปัจเจกนิยม, การคุ้มครองสิทธิ์ และ ประชาธิปไตย ส่วนอีกสิ่งหนึ่งนั้นก็คือเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและผลกระทบในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งทั้งหมดนี้ได้เข้ามามีผลต่อซูเปอร์แมนอย่างแท้จริง[154]

การที่ซูเปอร์แมนนั้นต้องมาอาศัยอยู่บนโลกหลังจากที่ดวงดาวบ้านเกิดถูกทำลายลงได้กลายมาเป็นหัวใจสำคัญของการดำเนินเรื่องราว[155][156][157] อัลโด เรกาลาโด มีความเห็นว่าในอเมริกานั้นซูเปอร์แมนกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย เรกาลาโดได้ให้ความเห็นว่าการที่ซูเปอร์แมนเป็นบุคคลที่มาจากนอกโลกทำให้มันมีแนวความคิดเหมือนกับ ชาวแองโกล-แซกซัน ในอดีต[158] ส่วนมุมมองของ แกรี่ อีเกิ้ล นั้นเห็นว่า “เรื่องราวของซูเปอร์แมนจะมีส่วนผสมของความเชื่อมั่นและการมองโลกในแง่ดีอยู่เสมอตามลักษณะของผู้ที่ทำการเดินทางมาสู่ วัฒนธรรมอเมริกา " อีเกิ้ลยังกล่าวอีกว่าซูเปอร์แมนนั้นเป็นซูเปอร์ฮีโรที่มีบุคลิกเหมือนกับชาวตะวันตกที่ทำการย้ายถิ่นฐานเมื่อครั้งอดีต จากเหตุผลทั้งสองข้อนี้ทำให้ระบุได้ว่าซูเปอร์แมนนั้นมีบุคลิกของผู้อพยพทั้งสองกลุ่ม ทำให้คลาร์ก เคนต์นั้นก็คือสิ่งที่ผสมผสานของมรดกทางวัฒนธรรมโดยแสดงผ่านออกมาในบุคลิกของซูเปอร์แมน[156] ทางด้านทิโมธี แอรอน พีวีย์ ได้ทำการกล่าวถึงในแง่มุมของเรื่อง ความฝันอเมริกัน ที่เข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับซูเปอร์แมน ซึ่งพีวีย์ได้ทำการบันทึกไว้ว่า “สิ่งเดียวที่สามารถสร้างความเจ็บปวดให้กับซูเปอร์แมนได้กลับเป็นคริปโตไนท์เศษหินจากดาวบ้านเกิดของซูเปอร์แมนเอง”[37] ด้าน เดวิด จีนมันน์ กลับมีความคิดที่ต่างออกไป จีนมันน์ เห็นว่าเรื่องราวในช่วงแรกๆของซูเปอร์แมนนั้นน่าจะเป็นภัยคุกคามต่อโลกมากกว่า ด้วยคำพูดที่ว่า “สิ่งที่เห็นอยู่ชัดแจ้งแดงแจ๋ก็คือซูเปอร์แมนมีความสามารถที่จะยึดครองโลกได้สบายๆเลยละ” [159] ส่วน เดวิด รูนี่ย์ นักวิเคราะห์ภาพยนตร์ ของ เดอะ นิวยอร์ก ไทม์ส ได้ทำการกล่าวถึงซูเปอร์แมนในบทความวิจารณ์ของเขาที่มีชื่อว่า เยียร์ ซีโร่ เอาไว้ว่า “แก่นสารของเรื่องก็คือการอพยพมายังโลกของซูเปอร์แมน...ต้องมาเติบโตใช้ชีวิตอยู่ในดวงดาวที่ไม่ใช่บ้านเกิดของตัวเอง ซูเปอร์เติบโตขึ้นมาบนโลกพร้อมกับความแข็งแกร่งแต่ก็ต้องปกปิดชาติกำเนิดของตัวเองเอาไว้ซึ่งก็ส่งผลให้ซูเปอร์แมนมีการพัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่องเพื่อต่อกรกับบรรดาเหล่าวายร้ายทั้งหลายที่เข้ามาคุกคามโลก”[160]

การยอมรับและความนิยม

ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมาตัวละครซูเปอร์แมนทั้งในรูปแบบหนังสือการ์ตูนและรูปแบบในสื่ออื่นๆ ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้คนส่งผลให้ได้รับรางวัลเป็นจำนวนมาก

  • เอ็มไพร์ แม็กกาซีน ได้ยกย่องให้ซูเปอร์แมนเป็นตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาลของวงการหนังสือการ์ตูน[161]
  • ผลงานชุด เดอะ เรนจ์ออฟเดอะ ซูเปอร์เม็น เป็นหนึ่งในผลงานของซูเปอร์แมนทั้งหมดที่ได้รับรางวัล คอมิคส์ บายเยอร์ ไกด์ แฟน อวอร์ด โดยได้รับรางวัลชนะเลิศ สาขา ผลงานยอดนิยม ในปีค.ศ.1993[162]
  • ซูเปอร์แมนถูกรับเลือกเข้ามาเป็นอันดับที่ 2 ในการจัดอันดับสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวอเมริกาที่ชื่อว่า “วีเอชไอ ท๊อป ป๊อป คัลเจอร์ ไอค่อน ในปีค.ศ.2004”[163]
  • ซูเปอร์แมนได้รับการโหวตจากนิตยสาร บริตริส ซินีม่ากอล์ส ในปีค.ศ. 2004 ให้เป็นซูเปอร์ฮีโรที่ยิ่งใหญ่ที่สุดตลอดกาล[164]
  • ทีมงานผู้สร้างนิตยสารซูเปอร์แมนเคยได้รับรางวัล ไอส์เนอร์ อวอร์ด[165][166] ถึง 6 ครั้ง และ ฮาร์วีย์ อวอร์ด[167] อีก 3 ครั้ง ตลอดการสร้างผลงานเรื่องซูเปอร์แมน
  • ภาพยนตร์เรื่องซูเปอร์แมนเคยถูกเสนอชื่อเข้าชิงและได้รับรางวัลอยู่มากมาย เช่น คริสโตเฟอร์ รีฟ ได้รับรางวัลของ BAFTA จากการสวมบทเป็นซูเปอร์แมน ในเรื่อง ซูเปอร์แมน : เดอะ มูฟวี่
  • นักแสดงจาก ซีรีส์เรื่อง สมอลล์วิลล์ ได้รับรางวัล เอ็มมี่ อวอร์ด อยู่หลายรางวัลตลอดระยะเวลาการออกอากาศของซีรีส์[168][169][170]
  • นักวิจารณ์จำนวนมากต่างยกให้ซูเปอร์แมนเป็นตัวละครที่ยิ่งใหญ่ที่สุดหลังจากที่มีการฉลองการครบรอบ 70 ปีของซูเปอร์แมน[171]

วีดีโอเกมส์

ในขณะที่กระแสความนิยมของซูเปอร์แมนนั้นเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายมาเป็นซูเปอร์ฮีโรอันดับหนึ่งของ ดีซีคอมิกส์ แต่กับความสำเร็จในด้านวีดีโอเกมส์นั้นซูเปอร์แมนกลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เริ่มตั้งแต่ปีค.ศ. 1978 เมื่อผลงานวิดีโอเกมส์ชุดแรก ได้ออกจัดจำหน่ายให้กับเครื่องเครื่อง อะตารี่ 2600 แม้ว่าผู้พัฒนาเกมส์จำนวนมากจะพยายามทำให้ตัวเกมส์ของซูเปอร์แมนเป็นที่ชื่นชอบของผู้คนแต่ผลงานเกมส์ชิ้นนี้กลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร รวมถึงผลงานเกมส์ที่ถือว่าเป็นผลงานที่ล้มเหลวที่สุดก็คือเกมส์ที่มีชื่อว่า “ซูเปอร์แมน” จัดจำหน่ายในปีค.ศ.1999ให้กับเครื่องไนเทนโด 64 (แต่เกมส์นี้มักจะถูกเรียกอย่างผิดๆว่า ซูเปอร์แมน 64 ตามชื่อของเครื่องเล่น N64 ที่มีเลข 64 ตามหลัง) ซึ่งผลงานเกมส์ชุดนี้ถูกจัดให้เป็นผลงานเกมส์ที่เลวร้ายที่สุดตลอดกาลของวงการเกมส์เลยทีเดียว

แหล่งที่มา

WikiPedia: ซูเปอร์แมน http://www.amazon.com/Bird-Plane-Superman-Original... http://www.azreporter.com/entertainment/television... http://www.bartleby.com/61/ http://www.blackwell-synergy.com/doi/abs/10.1111/1... http://www.blackwell-synergy.com/doi/full/10.1111/... http://www.cbgxtra.com/default.aspx?tabid=42&view=... http://www.citybeat.com/cincinnati/article-20359-t... http://www.cnn.com/SPECIALS/2002/emmys/print.ballo... http://www.comicbookdb.com/character.php?ID=190 http://www.comicbookdb.com/character.php?ID=296