ลักษณะและความเอื้อต่อการอยู่อาศัย ของ ดาวเคราะห์น้ำแข็ง

ดาวเคราะห์น้ำแข็งส่วนมากจะมีสีขาวและมีอัตราส่วนสะท้อนทางเรขาคณิตมากกว่า 0.9 พื้นผิวของดาวเคราะห์น้ำแข็งอาจประกอบไปด้วยน้ำ มีเทน แอมโมเนีย คาร์บอนไดออกไซด์ (ในรูปของน้ำแข็งแห้ง) หรือสารระเหยอื่น ๆ โดยขึ้นอยู่กับอุณหภูมิพื้นผิวของดาวเคราะห์ ดาวเคราะห์น้ำแข็งจะมีอุณหภูมิพื้นผิวต่ำกว่า 260 เคลวินหากประกอบด้วยน้ำเป็นส่วนใหญ่ ต่ำกว่า 180 เคลวิน หากประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์และแอมโมเนีย หรือต่ำกว่า 80 เคลวินหากมีมีเทนเป็นส่วนประกอบหลัก

ดาวเคราะห์น้ำแข็งโดยมากมีคุณสมบัติที่ไม่เอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต เนื่องจากมีอุณหภูมิที่เย็นจัด ดาวเคราะห์น้ำแข็งอาจมีมหาสมุทรภายในที่อยู่ใต้เปลือกของมัน ซึ่งอาจถูกทำให้อุ่นโดยแกนของมันเองหรือแรงไทดัลจากวัตถุที่อยู่ใกล้เคียง โดยเฉพาะดาวแก๊สยักษ์ น้ำใต้เปลือกดาวเคราะห์อาจสามารถเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต รวมไปถึงปลา แพลงก์ตอน และจุลินทรีย์ แพลงก์ตอนและจุลินทรีย์ที่อยู่ใต้เปลือกของดาวเคราะห์จะไม่ทำการสังเคราะห์ด้วยแสงเนื่องจากแสงดาวฤกษ์ถูกบดบังโดยเปลือกน้ำแข็งที่อยู่เหนือน้ำ แต่จะสร้างสารอาหารจากโดยใช้สารเคมีจำเพาะ โดยผ่านกระบวนการสังเคราะห์ทางเคมี หากมีปัจจัยที่เหมาะสม ดาวเคราะห์บางดวงอาจมีชั้นบรรยกาศที่เห็นได้ชัดคล้ายกับไททัน ดาวบริวารของดาวเสาร์ ซึ่งอาจเอื้อต่อการอยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตต่างดาว

ใกล้เคียง

ดาวเคราะห์นอกระบบ ดาวเคราะห์ ดาวเคียงเดือน (ละครโทรทัศน์) ดาวเคราะห์รอบดาวคู่ ดาวเคราะห์ก๊าซยักษ์ ดาวเคราะห์พ้นดาวเนปจูน ดาวเคราะห์น้อย ดาวเคราะห์พเนจร ดาวเคราะห์แคระ ดาวเคราะห์คล้ายโลก