นิยาม ของ ดาวเทียมพ้องคาบโลก

ตาม "กฎของเคปเลอร์" ข้อที่สาม คาบการโคจรของดาวเทียมที่เป็นวงกลมจะเพิ่มตามระยะความสูงที่เพิ่ม

สถานีอวกาศและกระสวยอวกาศ ชนิดวงโคจรต่ำระหว่าง 320 - 640 กิโลเมตรเหนือผิวโลกจะโคจรรอบโลกวันละ 15 - 16 รอบต่อวัน ดวงจันทร์ที่อยู่ห่างจากผิวโลก 385,000 กิโลเมตรจะใช้เวลาโคจรรอบโลก 30 วันต่อรอบ และในระหว่างความสูงของวงโคจรดังกล่าวนี้เอง จะมีความสูง "พิศวง" ณ ระดับ 35,786 กิโลเมตร ที่วงโคจรรอบโลกของดาวเทียมจะเท่าการหมุนของโลกพอดี เท่ากับวันดาราคติ (sidereal day) คือ 23 ชั่วโมง 56 นาที เรียกว่า วงโคจรพ้องคาบโลก

แต่ถ้า วงโคจรของดาวเทียมพ้องคาบโลก ไม่เข้าแนบเส้นศูนย์สูตรพอดี เรียกว่า วงโคจรเอียง และถ้ามองจากพื้นดิน จะเห็นเหมือนว่า ดาวเทียมแกว่งกวัดที่จุดตายตัวจุดหนึ่งบนท้องฟ้าและถ้ามุมระหว่างวงจรและเส้นศูนย์สูตรแคบลง การแกว่งกวัดจะลดลงจนถ้าทับแนวเส้นศูนย์สูตรพอดี ดาวเทียมจะเข้าตำแหน่งสัมพันธ์ประจำที่กับจุดหนึ่งบนพื้นผิวโลก เรียกว่า ดาวเทียมประจำที่

ใกล้เคียง

ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียม ดาวเทียมสำรวจโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1 ดาวเทียมไทยโชต ดาวเทียมไกอา ดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมฮิปปาร์โคส ดาวเทียมพ้องคาบโลก