ดาวเทียมสปุตนิก_1
ดาวเทียมสปุตนิก_1

ดาวเทียมสปุตนิก_1

สปุตนิก 1 (รัสเซีย: Спутник-1 ; IPA: [ˈsputnʲɪk] ; อังกฤษ: Sputnik 1) เป็นดาวเทียมดวงแรกของโลก[1] สหภาพโซเวียต ได้ส่งดาวเทียมสปุตนิกขึ้นสู่วงโคจรโลกในรูปวงรีในวันที่ 4 ตุลาคม ค.ศ.1957 ซึ่งโคจรสามสัปดาห์ก่อนที่แบตเตอรีจะเสียอย่างเงียบ ๆ ก่อนที่จะตกลงสู่ชั้นบรรยากาศในอีกสองเดือนต่อมา สปุตนิก 1 มีเส้นผ่านศูนย์กลาง 58 ซม. (23 นิ้ว) มีเสาอากาศวิทยุภายนอก 4 เสาเพื่อกระจายคลื่นวิทยุ สัญญาณวิทยุสามารถตรวจจับได้โดยนักวิทยุสมัครเล่น[2] และระยะเอียง 65 องศาและระยะเวลาของวงโคจรของมันทำให้เส้นทางการบินครอบคลุมพื้นที่ทั้งโลก ความสำเร็จที่น่าแปลกใจนี้ได้ทำให้เกิดวิกฤติการณ์สปุตนิกในหมู่ชาวอเมริกัน และทำให้การแข่งขันด้านอวกาศเป็นส่วนหนึ่งของสงครามเย็น การเปิดตัวนี้นำมาซึ่งการพัฒนาด้านการเมือง, การทหาร, เทคโนโลยี และวิทยาศาสตร์ใหม่ ๆ[3][4]การติดตามและการศึกษาดาวเทียมสปุตนิก 1 จากโลกได้ให้ข้อมูลแก่นักวิทยาศาสตร์ ถึงความหนาแน่นของบรรยากาศชั้นบนซึ่งถูกอนุมานได้จากแรงลากของการเคลื่อนที่ในวงโคจร และการแพร่กระจายของสัญญาณวิทยุจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ดาวเทียมสปุตนิก 1 ถูกปล่อยในระหว่างปีสากลแห่งธรณีฟิสิกส์ จากไซต์ №1/5 ที่ the 5th Tyuratam range ในสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคาซัค (ปัจจุบันคือ ไบโคนูร์คอสโมโดรม) ดาวเทียมเดินทางประมาณ 29,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง (18,000 ไมล์ต่อชั่วโมง 8,100 เมตร / วินาที) โดยใช้เวลา 96.2 นาทีในการทำให้ครบรอบวงโคจรเสร็จสมบูรณ์ สปุกนิกส่งคลิ่นที่ 20.005 และ 40.002 เมกะเฮิรตซ์[5] ซึ่งได้รับการตรวจสอบโดยผู้ให้บริการวิทยุทั่วโลก สัญญาณของสปุกนิกยังคงปรากฏเป็นเวลา 21 วันจนกว่าแบตเตอรีของเครื่องส่งสัญญาณจะหมดลงในวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1957[6] ดาวเทียมสปุตนิกถูกเผาไหม้ในวันที่ 4 มกราคม ค.ศ. 1958 ขณะที่กลับเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก หลังจากได้โคจรรอบโลกสามเดือนเสร็จสิ้นพร้อมกับโคจรครบรอบวงโคจรทั้งหมด 1440 รอบ[7] และระยะทางเดินทางประมาณ 70 ล้านกิโลเมตร (43 ล้านไมล์)[8]

ดาวเทียมสปุตนิก_1

ผู้ผลิต OKB-1, Soviet Ministry of Radiotechnical Industry
มวลขณะส่งยาน 83.6 กิโลกรัม
Harvard designation 1957 Alpha 2
COSPAR ID 1957-001B
ติดต่อครั้งสุดท้าย 25 ตุลาคม ค.ศ. 1957
ประเภทภารกิจ การสาธิตเทคโนโลยี
จรวดนำส่ง R-7 Semyorka
ระยะภารกิจ 21 วัน
การกำจัด วงโคจรสลาย
ระบบอ้างอิง โลกเป็นศูนย์กลาง
ระบบวงโคจร วงโคจรต่ำของโลก
ฐานส่ง ไบโคนูร์ 1/5
เข้าสู่ชั้นบรรยากาศ 3 มกราคม ค.ศ. 1958
ระยะใกล้สุด 6586 กม. จากศูนย์กลาง, 215 กม. (134 ไมล์) จากพื้นผิว
อินคลิเนชั่น 65.1°
กึ่งแกนเอก 6,955.2 กิโลเมตร (4,321.8 ไมล์)
กำลังไฟฟ้า 1 วัตต์
ขนาด 58 เซนติเมตร
คาบการโคจร 96.2 นาที
SATCAT no. 00002
วันที่ส่งขึ้น 4 ตุลาคม ค.ศ. 1957, 19:28:34 UTC (22:28:34 MSK)
ความเยื้อง 0.05201
ผู้ดำเนินการ สหภาพโซเวียต
วงโคจรรอบโลก 1,440
ระยะไกลสุด 7310 กม. จากศูนย์กลาง, 939 กม. (583 ไมล์) จากพื้นผิว

ใกล้เคียง

ดาวเทียมไทยคม ดาวเทียม ดาวเทียมสำรวจโลก ดาวเทียมสปุตนิก 1 ดาวเทียมไทยโชต ดาวเทียมไกอา ดาวเทียมสื่อสาร ดาวเทียมสำรวจคลื่นไมโครเวฟวิลกินสัน ดาวเทียมฮิปปาร์โคส ดาวเทียมธีออส-2

แหล่งที่มา

WikiPedia: ดาวเทียมสปุตนิก_1 http://mentallandscape.com/S_Sputnik1.htm http://timesmachine.nytimes.com/timesmachine/1957/... http://www.russianspaceweb.com/sputnik_mission.htm... http://sputnik.tass.com/ http://www.vibrationdata.com/Sputnik.htm http://eisenhower.archives.gov/research/online_doc... http://nssdc.gsfc.nasa.gov/nmc/spacecraftDisplay.d... http://solarsystem.nasa.gov http://www.arrl.org/news/features/2007/09/28/03/?n... //www.worldcat.org/issn/0002-8738