ความหมายอื่น ของ ตราแห่งความอัปยศ

ค่ายกักกันนาซีใช้เครื่องหมายสามเหลี่ยมสีต่างๆ ในการจัดกลุ่มตามความผิดของนักโทษ[28] แต่ชาวยิวต้องติดเครื่องหมายสามเหลี่ยมซ้อนกันเป็นดาวหกมุมเป็นดาวแห่งเดวิด สัญลักษณ์เหล่านี้มีจุดประสงค์เพื่อที่แสดงความอัปยศให้แก่ผู้สวม แต่มามีผลตรงข้ามหลังสงครามโลกครั้งที่สองเมื่อได้รับการนำมาใช้สำหรับผู้ถูกสังหารในค่ายกักกันระหว่างสงคราม[28] สามเหลี่ยมชมพูสำหรับนักโทษโฮโมเซ็กชวลกลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งความภูมิใจในความเป็นเกย์ (gay pride) [29]ดาวแห่งเดวิดของไซออนนิสม์ที่แปลงมาจากดาวเหลืองของนาซิก็กลายมาเป็นสัญลักษณ์เด่นบนธงชาติอิสราเอล[30][31][32][33]

ในทางกลับกันสัญลักษณ์ที่จงใจสร้างความรู้สึกทางบวกก็อาจจะมีผลในทางตรงกันข้ามกับที่ต้องการ หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกระทรวงการสงครามแห่งสหรัฐอเมริกามอบสามเหลี่ยมคว่ำ (Chevron) ทองให้แก่ทหารผู้ต่อสู้ในสงครามในยุโรป สามเหลี่ยมคว่ำเงินให้แก่ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่ในประเทศในการสนับสนุนการสงครามแต่ไม่ได้ออกรบในสงคราม แต่ผู้ได้รับหลายคนกลับถือว่าการได้รับสามเหลี่ยมคว่ำเงินเป็น “ตราแห่งความอัปยศ”[34][35]

ในเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 รัฐบาลเชโกสโลวะเกียสั่งให้มีการยึดทรัพย์สิน ยึดสัญชาติ และขับชาวเช็กผู้มีเชื้อสายมาจยาร์หรือผู้พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ และในเดือนต่อมาชาวเชโกสโลวะเกียผู้พูดภาษาเยอรมันเป็นภาษาแม่ก็ถูกบังคับให้สวมปลอกแขนขาวหรือเหลืองที่มีอักษร “N” (Němec - เยอรมัน) ปลอกแขนสวมมาจนกระทั่งเมื่อเชโกสโลวะเกียขับชาวเยอรมันออกจากประเทศได้ทั้งหมดในปี ค.ศ. 1947

ใกล้เคียง

ตราแห่งความอัปยศ ตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอล ตราแผ่นดินของไทย ตราแผ่นดินของแคนาดา ตราแผ่นดินของลาว ตราแผ่นดินของสวีเดน ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตราแผ่นดินของเยอรมนี ตราแผ่นดิน ตราแผ่นดินของสเปน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตราแห่งความอัปยศ http://gizmodo.com/341104/ces-separates-the-wheat-... http://www.questia.com/PM.qst?a=o&d=103380376 http://dictionary.reference.com/browse/stigma http://www.fordham.edu/halsall/source/lat4-c68.htm... http://muse.jhu.edu/journals/history_and_memory/v0... http://www.rochester.edu/College/REL/symbols/star.... http://www.jewishhistory.org.il/history.php?starty... http://web.archive.org/web/20040326142833/http://w... http://www.ccel.org/ccel/schaff/encyc06/Page_59.ht... //doi.org/10.1353%2Fham.2003.0012