ประวัติ ของ ตราแห่งความอัปยศ

การถอนขน

การลงโทษโดยการถอนขน (depilation) ของชายโดยเฉพาะโดยการเผาขนหัวหน่าวเป็นการพยายามสร้างความละอายในวัฒนธรรมโบราณที่ถือว่าการมีขนบนร่างกายเป็นสิ่งมีค่า[9] สตรีที่มีชู้ก็อาจจะถูกบังคับให้สวมสัญลักษณ์หรือป้ายประกาศ หรือถูกโกนผมเพื่อให้เป็นที่ละอายแก่ปวงชนตลอดมาในประวัติศาสตร์[10] สตรีเป็นจำนวนมากในประเทศที่ถูกยึดครองโดยเยอรมนีที่ไปมีความสัมพันธ์กับทหารเยอรมันก็ถูกจับโกนหัวโดยหมู่ชนที่เต็มไปด้วยโทสะหลังจากที่ประเทศได้รับการปลดปล่อยโดยฝ่ายพันธมิตรระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง[11] ระหว่างสงคราม นาซีก็ใช้การโกนหัวในการลงโทษผู้ที่ต่อต้านหรือไม่ยอมร่วมมือเช่นในกรณีของผู้ต่อต้านที่เรียกว่าขบวนการยุวชนต่อต้านเอเดลไวส (Edelweißpiraten) [12]

เครื่องแต่งกาย

ระหว่าง ค.ศ. 1814-ค.ศ. 1823 โกยาร่างภาพแปดภาพที่เป็นภาพของผู้ถูกลงโทษโดยคณะผู้ไต่สวนศรัทธา ผู้ที่ถูกลงโทษต้องสวมหมวกที่เป็นกรวยสูงและเสื้อทูนิคที่บนหน้าอกมีคำจารึกถึงเหตุผลที่ถูกลงโทษ

ในสมัยโรมันโบราณทั้งชายและหญิงเดิมแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าที่เรียกว่าโทกา (toga) แต่ต่อมาสตรีสูงศักดิ์ก็หันมานิยมแต่งตัวแบบสโตลา (stola) แต่สตรีที่มีอาชีพเป็นโสเภณียังคงแต่งตัวแบบโทกากันอยู่ ต่อมาตามกฎหมายจูเลีย (Lex Julia) สตรีที่ถูกกล่าวหาว่าเป็นโสเภณีก็ถูกบังคับให้สวม “toga muliebris” เพื่อเป็นการแสดงความอัปยศ[13]

เมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 13 สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ที่ 3 ก็ทรงประกาศห้ามคริสเตียนจากการทำร้ายชาวยิว แต่ทรงสนับสนุนการแยกสังคมออกเป็นกลุ่ม ในโอกาสหนึ่งถึงกับทรงเปรียบชาวยิวกับชะตาของคาอินที่บรรยายในพระธรรมปฐมกาลเมื่อทรงสาส์นถึงเคานท์แห่งนาแวร์สว่า:

“พระเป็นเจ้าทรงทำให้เคนเป็นผู้มีความผิดและต้องเที่ยวเร่ร่อนไปทั่วแผ่นดิน และทรงทำเครื่องหมายแก่เคน… ในฐานะที่[ชาวยิว]ยังคงเป็นผู้เร่ร่อนต่อไปในโลก ก็ต้องรับสถานะที่เต็มไปด้วยความอับยศตลอดไป…”[14]

หลังจากที่สมเด็จพระสันตะปาปาอินโนเซนต์ทรงเป็นประธานในการประชุมสภาสงฆ์แห่งแลตเตอรันครั้งที่ 4 ในปี ค.ศ. 1215[15] สภาก็อนุมัติตามมาตรา 68 ที่ระบุให้ชาวยิว และ มุสลิมแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่แสดงความแตกต่างกลุ่มชนอื่น เพื่อป้องกันความสัมพันธ์ระหว่างผู้นับถือศาสนาที่ต่างกัน[16] แต่มาตรานี้ก็ไม่มีรัฐบาลฆราวาสปฏิบัติตามมาจนกระทั่งปี ค.ศ. 1269 เมื่อพระเจ้าหลุยส์ที่ 9 แห่งฝรั่งเศส (ผู้ต่อมาได้รับการสถาปนาให้เป็นนักบุญ) ทรงได้รับการหว่านล้อมให้ออกพระราชประกาศบังคับให้ชาวยิวในฝรั่งเศสติดตราเหลืองกลมบนหน้าอกและหลัง[17][18]หลังจากสงครามครูเสดอัลบิเจ็นเซียนยุติลงในปี ค.ศ. 1229 และการไต่สวนศรัทธา (Papal inquisition) ของสมเด็จพระสันตะปาปาเกรกอรีที่ 9 ก็ได้มีการออกกฎลงโทษคาธาร์ผู้ถูกกล่าวหาว่านอกรีตให้สวมตราเหลืองคาธาร์[19]

ในสมัยอาณานิคมทั้งสิบสามของนิวอิงแลนด์ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ศาลก็พิพากษาให้ผู้มีความผิดจริยธรรมทางเพศ (sexual immorality) ให้ติดอักษรบนเสื้อด้วยตัว “A” หรือ “AD” (adultery) สำหรับผู้มีชู้ และอักษร “I” (incest) สำหรับผู้ร่วมประเวณีระหว่างพี่น้อง[20]

เสื้อลายที่นิยมให้นักโทษสวมระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 และถูกยกเลิกไปแล้วในสหรัฐอเมริกาเมื่อต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 เพราะถือกันว่าเป็นเครื่องหมายของความอัปยศซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรทำ[21]

ผิวหนัง

เด็กใส่หมวกเพื่อให้เป็นที่ละอายในชั้นเรียนราวปี ค.ศ. 1906

สังคมบางสังคมอาจจะลงโทษให้อายโดยการทำเครื่องหมายบนร่างกายที่เรียกกันว่า “ตรีตรา” (branded a criminal) ทั้งนักโทษและทาสต่างก็ได้รับการตีตราตลอดมาในประวัติศาสตร์โดยการการสัก[22] ผู้ทำความผิดทางเพศในนิวอิงแลนด์ก็ถูกลงโทษโดยการ “ตรีตรา” ด้วยเหล็กร้อนให้เผาเป็นรอยบนผิวหนังบนหน้าหรือหน้าผากเพื่อให้เป็นที่เห็นกันโดยทั่วไป[20]การประทับตราให้เห็นบนใบหน้าเป็นวิธีลงโทษอย่างที่ได้รับการอนุมัติอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของสมเด็จพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 6 แห่งอังกฤษ ภายใต้ “พระราชบัญญัติคนจรจัด” ในปี ค.ศ. 1547 ที่ระบุการประทับอักษร “S” บนแก้มหรือหน้าผากสำหรับทาสที่หนีจากนาย และอักษร “F” (fraymaker) บนแก้มสำหรับผู้ที่ทะเลาะกันในวัด[23] เจมส์ เนย์เลอร์เควคเคอร์ชาวอังกฤษผู้ถูกกล่าวหาว่าดูหมิ่นศาสนาในปี ค.ศ. 1656 ถูกประทับตราด้วย และอักษร “B” (Blasphemy) บนหน้าผาก[23]การประทับตราเลิกทำกันในอังกฤษในปี ค.ศ. 1829[23] แต่ยังคงปฏิบัติกันในสหรัฐอเมริกามาอย่างน้อยก็จนถึงปี ค.ศ. 1864 ในระหว่างสงครามกลางเมืองอเมริกาเมื่อทหารฝ่ายเหนือถูกประจานด้วยการประทับด้วยอักษร “D” (Deserters) ถ้าหนีทหาร[24]

เครื่องสวมหัว

ในชั้นเรียนในฝรั่งเศสสมัยก่อนเด็กนักเรียนที่ประพฤติไม่ดีจะถูกส่งไปนั่งสวมหมวกที่มีป้าย “Âne” ที่แปลว่าลาอยู่มุมห้อง หรือสวมหมวกตัวตลกที่เป็นหูลา บางครั้งก็จะเป็นหมวกยอดแหลมที่เรียกว่า “หมวกลา” (cap d'âne) ในชั้นเรียนในอังกฤษและสหรัฐอเมริกาหมวกยอดแหลมเรียกว่า “หมวกคนโง่เง่า” (dunce cap) ที่มักจะมีอักษร “D” ซึ่งก็ใช้ในการทำให้เด็กนักเรียนที่ประพฤติไม่ดีมีความอาย[25][26] ในสมัยปัจจุบันหมวกเหล่านี้ก็เลิกใช้กันไปแล้วแต่ก็ยังมีวิธีการลงโทษอื่นๆ ที่ใช้ในการลงโทษนักเรียน[27]

ใกล้เคียง

ตราแห่งความอัปยศ ตำแหน่งผู้เล่นฟุตบอล ตราแผ่นดินของไทย ตราแผ่นดินของแคนาดา ตราแผ่นดินของลาว ตราแผ่นดินของสวีเดน ตราแผ่นดินของสหราชอาณาจักร ตราแผ่นดินของเยอรมนี ตราแผ่นดิน ตราแผ่นดินของสเปน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตราแห่งความอัปยศ http://gizmodo.com/341104/ces-separates-the-wheat-... http://www.questia.com/PM.qst?a=o&d=103380376 http://dictionary.reference.com/browse/stigma http://www.fordham.edu/halsall/source/lat4-c68.htm... http://muse.jhu.edu/journals/history_and_memory/v0... http://www.rochester.edu/College/REL/symbols/star.... http://www.jewishhistory.org.il/history.php?starty... http://web.archive.org/web/20040326142833/http://w... http://www.ccel.org/ccel/schaff/encyc06/Page_59.ht... //doi.org/10.1353%2Fham.2003.0012