การวินิจฉัยแยกโรค ของ ตะคริว

เหตุให้เป็นตะคริวรวมทั้ง[1]การคู้เกิน/การงอเกิน อวัยวะขาดออกซิเจน (hypoxia) อุณหภูมิเปลี่ยนเร็วเกิน ขาดน้ำ หรือภาวะโซเดียมในเลือดต่ำอาจเป็นอาการหรือภาวะแทรกซ้อนของการตั้งครรภ์, โรคไต, โรคไทรอยด์, ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ, ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ, restless legs syndrome, หลอดเลือดดำขอด[2]และโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง[3]

ตั้งแต่ปี 1965 หรือก่อนหน้านั้น นักวิจัยได้สังเกตว่า ตะคริวที่ขาและ restless legs syndrome อาจมีเหตุจากมีอิซูลินมากเกิน ซึ่งบางครั้งเรียกว่า ภาวะอินซูลินในเลือดเกิน[4]

ตะคริวกล้ามเนื้อโครงร่าง

ปกติกล้ามเนื้อโครงร่างจะอยู่ในอำนาจจิตใจกล้ามเนื้อโครงร่างที่เป็นตะคริวบ่อยที่สุดก็คือน่อง ต้นขา และอุ้งเท้า ซึ่งมักเกิดเมื่อออกแรงมากและอาจเจ็บมากแต่ก็สามารถเกิดเมื่ออยู่เฉย ๆ สบาย ๆคนที่มีประมาณ 40% จะรู้สึกเจ็บกล้ามเนื้อมาก อาจใช้การอวัยวะนั้นไม่ได้และอาจเจ็บหลายวันกว่าจะหาย

ตระคริวขาตอนกลางคืน

ตระคริวขาตอนกลางคืนที่ไม่ได้อยู่ในอำนาจจิตใจจะเกิดที่น่อง ฝ่าเท้า หรือกล้ามเนื้ออื่น ๆ ตอนกลางคืน หรือเมื่อกำลังพักผ่อนอยู่แม้จะเกิดน้อยกว่าอาจเป็นชั่วครู่จนถึงหลายนาทีแต่อาจยังเจ็บแม้หลังตะคริวหยุดหรือกล้ามเนื้อคลายตัวแล้วคนสูงอายุมีบ่อยกว่า[5]แต่ก็เกิดค่อนข้างบ่อยกับเด็กวัยรุ่นและบางคนเมื่อกำลังออกกำลังกายตอนกลางคืนนอกจากจะเจ็บแล้ว ตะคริวขาตอนกลางคืนอาจทำให้เป็นทุกข์และวิตกกังวล[6]

เหตุยังไม่ชัดเจนอาจเป็นเพราะขาดน้ำ ขาดเกลือแร่บางอย่าง (คือแมกนีเซียม โพแทสเซียม แคลเซียม และโซเดียม แม้หลักฐานจะไม่ชัดเจน)[7][8][9]และกล้ามเนื้อขาดเลือดเพราะนั่งนอนในท่าเดียวนานตะคริวตอนกลางคืน (เป็นที่น่องเกือบทั้งหมด) ในระยะตั้งครรภ์หลัง ๆ เป็นเรื่อง "ปกติ"[10]แต่จะเจ็บต่าง ๆ กันเริ่มตั้งแต่เบา ๆ จนถึงหนัก

การสะสมกรดแล็กติกอาจจุดชนวนแต่ก็มักเกิดเมื่อกำลังออกกำลังกายหรือออกแรงที่ทำให้หัวใจเต้นเร็วขึ้นปัจจัยทางการแพทย์ที่สัมพันธ์กับตะคริวขารวมทั้งโรคหัวใจร่วมหลอดเลือด การล้างไต โรคตับแข็ง การตั้งครรภ์ และคลองไขกระดูกสันหลังที่เอวตีบ (lumbar canal stenosis)โรคที่ต้องวินิจฉัยแยกรวมทั้ง restless legs syndrome, ขากะเผลก (claudication), กล้ามเนื้ออักเสบ และโรคเส้นประสาทส่วนปลาย (peripheral neuropathy)โดยแยกอาศัยการสอบประวัติคนไข้และตรวจร่างกายอย่างละเอียด[9]

การยืดกล้ามเนื้อที่เป็นตะคริว การนวดเบา ๆ การยืน การเดิน การอาบน้ำอุ่นอาจช่วยระงับตะคริว[11]ถ้าเป็นที่น่อง การดัดนิ้วโป้งขึ้นไปทางด้านหลัง (เช่น เหยียดเข่าและกระดกปลายเท้าขึ้น หรือยืนกดปลายเท้ากับพื้น หรืองอเข่าและโน้มตัวไปข้างหน้า) จะช่วยยืดกล้ามเนื้อ และในบางกรณีจะบรรเทาอาการได้ทันทีการประคบด้วยน้ำอุ่นอาจช่วยได้โดยเฉพาะที่กล้ามเนื้อท้อง มีหลักฐานจำกัดในการทานแมกนีเซียม แคลเซียมแชนแนลบล็อกเกอร์ carisoprodol (ยาคลายกล้ามเนื้อ) หรือวิตามินบี12 เพื่อบรรเทาอาการ[9]ไม่แนะนำให้ทานควินินเพื่อรักษาตะคริวขาตอนกลางคืนเพราะอาจแพ้จนถึงตายและเกิดภาวะเกล็ดเลือดน้อยอาการต่าง ๆ รวมทั้งภาวะหัวใจเสียจังหวะ, cinchonism[upper-alpha 1]และ hemolytic-uremic syndrome[upper-alpha 2]ยังอาจเกิดถ้าทานมาก[9]

ตะคริวกล้ามเนื้อเรียบ

ตะคริวกล้ามเนื้อเรียบอาจเป็นอาการของเยื่อบุมดลูกต่างที่ (endometriosis) หรือปัญหาทางสุขภาพอื่น ๆและก็อาจเกิดกับสตรีในช่วงมีประจำเดือน (Menstrual cramps หรือ Period cramps) ด้วย

ผลข้างเคียงจากการใช้ยา/รักษา

ยาหลายอย่างอาจเป็นเหตุให้เป็นตะคริวขาตอนกลางคืน รวมทั้ง[9][12]

ในบรรดาผลข้างเคียงต่าง ๆ statin อาจทำให้ปวดกล้ามเนื้อและเป็นตะคริวด้วยส่วน raloxifene เป็นยาที่ทำให้ขาเป็นตะคริวบ่อยมากปัจจัยอื่น ๆ ที่เพิ่มโอกาสผลข้างเคียงเหล่านี้รวมทั้งการออกกำลังกาย อายุ เป็นหญิง ประวัติว่าเป็นตะคริว และโรคไทรอยด์

นักกีฬาที่ใช้ statins เกือบถึง 80% มีปัญหาทางกล้ามเนื้อ รวมทั้งตะคริว[13]แต่กลุ่มประชากรปกติที่ใช้ยาในอัตราร้อยละ 10-25 จะมีปัญหา[14][15]ในบางกรณี ผลที่ไม่ต้องการจะหายไปถ้าใช้ยา statin แบบอื่น ๆแต่เป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจถ้าอาการยังคงยืนเพราะอาจแย่ลงเป็นปัญหาหนักขึ้นการทานโคเอนไซม์คิว10 อาจช่วยเลี่ยงผลที่ไม่ต้องการ แต่ปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานพอว่าช่วยแก้ปัญหาโรคกล้ามเนื้อหรือปวดกล้ามเนื้อ[16]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตะคริว http://www.diseasesdatabase.com/ddb3151.htm http://www.educatepark.com/story/cramp.php http://haamor.com/th/%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%84%E... http://www.icd9data.com/getICD9Code.ashx?icd9=729.... http://www.mayoclinic.com/health/night-leg-cramps/... http://www.medicinenet.com/muscle_cramps/article.h... http://www.medicinenet.com/muscle_cramps/page2.htm... http://well.blogs.nytimes.com/2010/06/09/phys-ed-c... http://www.webmd.com/hw-popup/Muscle-cramps //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC1724901