ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง
ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง

ตะพาบยักษ์แยงซีเกียง[2] หรือ ตะพาบเซี่ยงไฮ้ (จีน: 斑鳖, พินอิน: Bān Bīe; ตรึงเวียด: Rùa mai mềm Thượng Hải) ตะพาบขนาดใหญ่ชนิดหนึ่งที่ใกล้จะสูญพันธุ์มากชนิดหนึ่งของโลก มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rafetus swinhoei (มีชื่อวิทยาศาสตร์อีกชื่อหนึ่งเป็นชื่อพ้อง โดยนักวิทยาศาสตร์ชาวเวียดนามตั้งให้ว่า Rafetus leloii เพื่อเป็นเกียรติแด่จักรพรรดิเลเลย) พบในแม่น้ำแยงซีเกียงและมณฑลยูนนานในประเทศจีน นอกจากนี้ยังพบได้ที่แม่น้ำแดงในประเทศเวียดนามด้วยเป็นตะพาบที่มีขนาดใหญ่มาก และเป็นหนึ่งในเต่าน้ำจืดที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนหัว ที่มีจมูกและปากคล้ายหมู ขนาดโตเต็มที่สามารถมีน้ำหนักมากถึง 136 กิโลกรัม ถึง 200 กิโลกรัม ยาวถึง 0.9144 เมตร และมีชีวิตอยู่ได้นานกว่า 100 ปี สถานะในธรรมชาติใกล้สูญพันธุ์มาก ๆ แล้ว ในสถานที่เลี้ยงปัจจุบันมีเพียง 5 ตัวใน 2 ที่เท่านั้น คือที่สวนสัตว์ในประเทศจีน 4 ตัว และที่ทะเลสาบคืนดาบที่เมืองฮานอย 1 ตัวปัจจุบันตะพาบน้ำแยงซีเกียงในทะเลสาบคืนดาบยังมีชีวิตอยู่ แต่น้ำในทะเลสาบกลับมีสภาพที่ย่ำแย่ ทั้งยังมีการปล่อยสิ่งปฏิกูลรวมไปถึงเต่าชนิดอื่นเข้าไปทำลายระบบนิเวศของทะเลสาบ ทำให้ตะพาบเกิดบาดแผลที่หัวและขาของมัน[3]คู่ผสมพันธุ์ตัวเมียตัวสุดท้ายที่สวนสัตว์ซูโจวตายลงในเดือนเมษายน 2019 ส่งผลให้มีแนวโน้มที่ตะพาบยักษ์แยงซีเกียงจะสูญพันธุ์ในอีกไม่ช้า[4]

ใกล้เคียง