หมวด ของ ตัวรับรู้สารเคมี

มีหมวดหลัก ๆ ของตัวรับรู้สารเคมี 2 อย่างคือ ที่รู้ได้จากไกล ๆ และที่รู้แบบประชิดตัว[ต้องการอ้างอิง]

ที่รู้ได้จากไกล ๆ

ตัวอย่างของตัวรับรู้สารเคมีที่รู้ได้จากไกล ๆ ก็คือ เซลล์รับกลิ่น (olfactory receptor neuron) ในระบบการได้กลิ่น (olfactory system) การได้กลิ่นเป็นสมรรถภาพในการตรวจจับสารเคมีที่อยู่ในสภาวะแก๊ส ในสัตว์มีกระดูกสันหลัง ระบบจะตรวจจับกลิ่นและฟีโรโมนได้ในช่องจมูก โดยมีอวัยวะ 2 อย่างที่ต่างกันทางกายวิภาค คือ เยื่อการได้กลิ่น (olfactory epithelium, MOE) และ vomeronasal organ (VNO) ตัว MOE โดยหลักมีหน้าที่ตรวจจับกลิ่น และ VNO โดยหลักจะตรวจจับฟีโรโมน ส่วนการได้กลิ่นของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังจะต่างจากของสัตว์มีกระดูกสันหลัง ยกตัวอย่างเช่น ในแมลง อวัยวะการได้กลิ่นจะอยู่ที่หนวด[1]

ที่รู้แบบประชิดตัว

ตัวอย่างของตัวรับรู้สารเคมีที่ต้องมาประชิดกันรวมทั้ง

  • ตุ่มรับรสในระบบการลิ้มรส คือสารประกอบเคมีที่ประกอบด้วยน้ำจะมาถูกตัวรับรู้ในปาก เช่น ตุ่มรับรสบนลิ้น แล้วก่อปฏิกิริยา สารเคมีเช่นนี้สามารถจุดชนวนให้หิวอาหาร หรือให้มีปฏิกิริยาตอบสนองต่อพิษ โดยขึ้นอยู่กับว่าตัวรับรู้ชนิดไหนเป็นตัวส่งสัญญาณ ปลาและสัตว์พวกกุ้งกั้งปูซึ่งอยู่ในน้ำตลอดเวลา จะใช้ระบบการรับรสเพื่อทั้งระบุตำแหน่งอาหารและการกินอาหาร
  • แมลงใช้การรับรู้สารเคมีที่มาถูกต้องเพื่อระบุสารเคมีบางอย่าง เช่น ไฮโดรคาร์บอนและสารเคมีที่เป็นผิวเคลือบของพืชที่เป็นอาหาร การรับรู้สารเคมีที่มาถูกต้องเพื่อหาคู่จะมีมากกว่าในแมลง แต่ก็พบในสัตว์มีกระดูกสันหลังบางอย่างด้วย ตัวรับรู้สารเคมีที่มาถูกต้องแต่ละตัว จะเฉพาะเจาะจงกับสารเคมีชนิดหนึ่ง ๆ[1]

ใกล้เคียง

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวรับแรงกล ตัวรับรู้สารเคมี ตัวรับรู้ ตัวรับความรู้สึก ตัวรับอะดีโนซีน ตัวรับความรู้สึกที่หนัง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง ตัวรับโดปามีน ตัวรับการยืด