ตัวรับอะดีโนซีน
ตัวรับอะดีโนซีน

ตัวรับอะดีโนซีน

ตัวรับอะดีโนซีน (อังกฤษ: adenosine receptor) หรือ ตัวรับพี1 (P1 receptor)[1] เป็นชั้นของหน่วยรับที่จับคู่กับจีโปรตีนและพิวรีนที่มีลิแกนด์เป็นอะดีโนซีน ในร่างกายมนุษย์มีตัวรับอะดีโนซีนที่รู้จักอยู่ 4 ชนิดได้แก่ A1, A2A, A2B และ A3 โดยแต่ละชนิดเข้ารหัสด้วยยีนต่างกัน ตัวรับอะดีโนซีนมักเป็นที่รู้จักจากกลไกการออกฤทธิ์ของกาเฟอีนและธีโอฟิลลีน ซึ่งเป็นแอนตาโกนิสต์กับอะดีโนซีน[2]ตัวรับอะดีโนซีนแต่ละชนิดมีหน้าที่ต่างกันและบางครั้งก็คาบเกี่ยวกัน เช่นตัวรับทั้ง A1 และ A2A ควบคุมการใช้ออกซิเจนและการไหลเวียนโลหิตของหัวใจ และตัวรับ A2A ก็ทำหน้าที่ต้านการอักเสบทั่วร่างกายด้วย[3] นอกจากนี้ตัวรับทั้งสองยังมีส่วนในการควบคุมการหลั่งสารสื่อประสาทอย่างโดพามีนและกลูตาเมต[4] ส่วนตัวรับ A2B และ A3 จะอยู่ส่วนปลายและทำหน้าที่ด้านระบบภูมิคุ้มกันและต้านการอักเสบเป็นหลัก ด้วยหน้าที่ที่ต่างกันนี้จึงมีการพัฒนายาสมัยใหม่ให้ออกฤทธิ์ตรงกับตัวรับมากขึ้น จากเดิมที่สารออกฤทธิ์ไม่เฉพาะเจาะจงที่ตัวใดตัวหนึ่ง ยกตัวอย่างเช่น อะดีโนซีนใช้ในการรักษาหัวใจเต้นเร็วผ่านการออกฤทธิ์ต่อตัวรับทั้ง 4 ชนิด และเป็นยาระงับประสาทผ่านการออกฤทธิ์ต่อตัวรับ A1 และ A2A ในสมอง[5] ขณะที่สารกลุ่มแซนทีนอย่างกาเฟอีนและธีโอฟิลลินใช้กระตุ้นอัตราการเต้นของหัวใจผ่านการออกฤทธิ์ต่อตัวรับ A1 และ A2A เช่นกัน และเป็นตัวยับยั้งฟอสโฟไดเอสเทอเรส ทำให้กล้ามเนื้อหดตัวและหลอดเลือดขยาย[6][7]การทำงานของตัวรับอะดีโนซีนสามารถแยกย่อยได้เป็นตัวรับ A1 เป็นตัวรับที่พบได้ทั่วไปในร่างกาย ทำหน้าที่ยับยั้งการทำงานหลายส่วนและลดการส่งสารสื่อประสาทในถุงไซแนปส์[8] นอกจากนี้ยังหน้าที่ควบคุมการใช้ออกซิเจนและการไหลเวียนโลหิตในหัวใจร่วมกับ A2A ที่พบมากในปมประสาทฐาน[9] ขณะที่ A2B มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการสร้างกระดูกเช่นเดียวกับ A2A[10] ส่วน A3 ยังมีการศึกษาไม่มาก แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับออสติโอคลาสต์ เซลล์ที่มีหน้าที่สลายเนื้อกระดูก[11]

ใกล้เคียง

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวรับแรงกล ตัวรับรู้สารเคมี ตัวรับความรู้สึก ตัวรับรู้ ตัวรับอะดีโนซีน ตัวรับความรู้สึกที่หนัง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง ตัวรับโดปามีน ตัวรับรู้อากัปกิริยา