สรีรวิทยา ของ ตัวรับรู้สารเคมี

  • ต่อมแครอทิด (carotid body) และ Aortic body สามารถตรวจจับการเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนได้เป็นหลัก และยังตรวจจับระดับที่สูงขึ้นของคาร์บอนไดออกไซด์และการเพิ่มความเป็นกรดในเลือดได้ด้วย แม้จะในระดับที่ต่ำกว่าออกซิเจน
  • chemoreceptor trigger zone เป็นบริเวณของก้านสมองส่วนท้าย (medulla) ที่ได้ข้อมูลเกี่ยวกับยาและฮอร์โมนจากเลือด และสื่อสารกับศูนย์ควบคุมการอาเจียน เพื่อให้อาเจียนในสถานการณ์บางอย่าง

อัตราการหายใจ

ตัวรับเคมีสามารถตรวจจับระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดโดยเฝ้าตรวจความเข้มข้นของไอออนไฮโดรเจนซึ่งเพิ่มความเป็นกรดอันเป็นผลโดยตรงของคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้มข้นขึ้น เพราะมันมีปฏิกิริยากับเอนไซม์คาร์โบนิกแอนไฮเดรส (carbonic anhydrase) แล้วสร้างโปรตอนและไอออนไบคาร์บอเนตต่อจากนั้น ศูนย์การหายใจในก้านสมองส่วนท้าย (medulla)ก็จะส่งอิมพัลส์ประสาทไปยังกล้ามเนื้อซี่โครง (intercostal muscles) และกล้ามเนื้อกะบังลม ผ่านเส้นประสาท intercostal nerve และ phrenic nerve ตามลำดับเพื่อเพิ่มอัตราการหายใจและปริมาตรของปอดเมื่อหายใจเข้า

ตัวรับเคมีที่มีอิทธิพลต่ออัตราการหายใจแบ่งหมวดได้เป็น 2 หมู่[ต้องการอ้างอิง]

  • ตัวรับเคมีในระบบประสาทกลาง (central chemoreceptor) อยู่บนผิวข้างด้านล่าง (ventrolateral) ของก้านสมองส่วนท้าย ตรวจจับความเป็นกรดของน้ำหล่อสมองไขสันหลัง และยังพบโดยการทดลองว่า ตอบสนองต่อภาวะ hypercapnic hypoxia (คาร์บอนไดออกไซด์สูง ออกซิเจนต่ำ) แม้ในที่สุดจะตอบสนองน้อยลง (desensitized) ดังนั้นจึงไวต่อทั้งคาร์บอนไดออกไซด์และความเป็นกรด
  • ตัวรับเคมีนอกระบบประสาทกลาง (peripheral chemoreceptor) ประกอบด้วย aortic bodies และต่อมแครอทิด aortic bodies จะตรวจจับความเปลี่ยนแปลงของออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือด แต่ไม่ตรวจความเป็นกรด แต่ต่อมแครอทิดจะตรวจจับทั้ง 3 อย่าง และทั้งสองจะไม่ตอบสนองน้อยลง แม้ผลของพวกมันต่ออัตราการหายใจจะน้อยกว่าตัวรับเคมีในระบบประสาทกลาง

อัตราหัวใจเต้น

ผลของการเร้าตัวรับเคมีต่ออัตราการเต้นหัวใจค่อนข้างจะซับซ้อนการกระตุ้นตัวรับเคมีนอกประสาทกลางทำให้ส่วน medullary vagal center ในก้านสมองส่วนท้ายทำงานแล้วลดอัตราการเต้นหัวใจแต่ก็มีปัจจัยอื่น ๆ ที่เปลี่ยนการตอบสนองทำให้ไม่ชัดเจนรวมทั้งการทำงานของตัวรับความยืด (stretch receptor) เนื่องจากการหายใจเพิ่มขึ้น และการปล่อยโมโนอะมีน คือ catecholamine ในเลือดดังนั้น แม้การกระตุ้นตัวรับสารเคมีนอกประสาทกลางอย่างเดียวจะมีผลเป็นหัวใจเต้นช้า (bradycardia) แต่ผลโดยรวมอาจไม่เป็นเช่นนี้[4]

ใกล้เคียง

ตัวรับความรู้สึกเจ็บปวด ตัวรับแรงกล ตัวรับรู้สารเคมี ตัวรับรู้ ตัวรับความรู้สึก ตัวรับอะดีโนซีน ตัวรับความรู้สึกที่หนัง ตัวรับรู้สิ่งใกล้เคียง ตัวรับโดปามีน ตัวรับการยืด