ตัวหนังสือวาดาอัด
ตัวหนังสือวาดาอัด

ตัวหนังสือวาดาอัด

ตัวหนังสือวาดาอัด (อังกฤษ: Wadaad's writing) หรือ อักษรอาหรับวาดาอัด (wadaad's Arabic; โซมาลี: Far Wadaad, แปลตรงตัว 'ลายมือของหมอสอนศาสนา') เป็นภาษาอาหรับที่ดัดแปลงไว้เขียนภาษาโซมาลี[1][2] หรือการใช้อักษรอาหรับมาถอดความภาษาโซมาลีในอดีต[3] แต่เดิมนั้น หมายถึงภาษาอาหรับที่ไม่ถูกไวยากรณ์โดยมีคำจากภาษาโซมาลีปนอยู่ โดยสัดส่วนของคำศัพท์ภาษาโซมาเลียแตกต่างกันไปตามบริบท[4] นอกจากภาษาอาหรับมาตรฐานแล้ว ตัวหนังสือวาดาอัดใช้โดยบรรดาผู้รู้ศาสนาชาวโซมาลี (วาดาอาโด) เพื่อบันทึกคำร้อง xeer (กฎหมายจารีตประเพณี) และเขียนเกาะศีดะฮ์[2][5] บรรดาวาณิชใช้ตัวหนังสือนี้ในการค้าและเขียนจดหมาย[5] ต่อมามีนักวิชาการชาวโซมาลีหลานคนพัฒนาและปรับอักษรอาหรับสำหรับใช้กับภาษาโซมาลี โดยราวคริสต์ทศวรรษ 1930 ผลงานของ Mahammad 'Abdi Makaahiil ทำให้เครื่องหมายเสริมสัทอักษรสระและรูปอักขรเป็นมาตรฐาน และในคริสต์ทศวรรษ 1950 Musa Haji Ismail Galal ให้ข้อเสนอที่มีข้อโต้แย้งด้วยการดัดแปลงรูปอักษรและสร้างอักษรสำหรับเสียงสระ[6][3]เมื่อมีการใช้อักษรละตินเป็นอักษรราชการใน ค.ศ. 1972 กระบวนการทำให้อักขรวิธีอาหรับโซมาลีเป็นมาตรฐานจึงหยุดลง รูปแบบอักขรวิธีของ Makaahiil ยังคงเป็นรูปแบบสุดท้ายที่โดดเด่นที่สุดในปัจจุบัน

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวหนังสือวาดาอัด https://doi.org/10.1017%2FS0041977X00063278 https://gupea.ub.gu.se/bitstream/handle/2077/63249... https://web.archive.org/web/20230601144624/https:/... https://archive.org/details/culturecustomsof00diri https://books.google.com/books?id=LR8A4tEYZUAC https://books.google.com/books?id=yoMBQCr4LysC https://books.google.com/books?id=o0XhcUWa1_4C https://books.google.com/books?id=FKD39Cbmdh0C https://www.scribd.com/doc/15957443/The-Gadabursi-... https://www.jstor.org/stable/610496