นิยามโดยสหสัมพันธ์ ของ ตัวแปรกวน

แม้ว่านิยามโดยเฉพาะอาจจะต่าง ๆ กัน แต่โดยสาระแล้ว ตัวแปรกวนจะมีองค์ประกอบ 4 อย่าง ตัวอย่างที่ให้ดังต่อไปนี้มีตัวแปร 3 ตัวคือ "V" เป็นตัวแปรที่เป็นประเด็นการศึกษา "C" เป็นตัวแปรกวน และ "O" เป็นตัวแปรที่เป็นผลที่เป็นประเด็นการศึกษา

  1. C สัมพันธ์โดยตรงหรือโดยผกผันกับ O
  2. C สัมพันธ์กับ O โดยไม่เกี่ยวกับ V
  3. C สัมพันธ์โดยตรงหรือโดยผกผันกับ V
  4. C ไม่ได้อยู่ในลำดับเหตุผลจาก V ไปยัง O คือ C ไม่ได้เป็นผลของ V ไม่ใช่เป็นทางผ่านที่ V เป็นเหตุให้เกิด O

แต่นิยามโดยสหสัมพันธ์เช่นที่พึ่งกล่าวมายังไม่สมบูรณ์ นักวิเคราะห์จำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ มีมติร่วมกันว่า ตัวแปรกวนเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุและผล ดังนั้น จึงไม่สามารถกำหนดได้ด้วยแนวคิดทางความสัมพันธ์หรือสหสัมพันธ์[4][5][6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตัวแปรกวน http://www.une.edu.au/WebStat/unit_materials/c1_be... http://www.math.sfu.ca/~cschwarz/Stat-301/Handouts... http://ftp.cs.ucla.edu/pub/stat_ser/R256.pdf http://www.stat.yale.edu/Courses/1997-98/101/linre... //doi.org/10.1056%2Fnejm200109203451211 //doi.org/10.1093%2Faje%2F154.3.276 //doi.org/10.1136%2Foem.46.8.505 http://th.md.chula.ac.th/download/book/research/ch... http://www.tm.mahidol.ac.th/th/tropical-medicine-k... http://old.kmddc.go.th:8080/kmcms/pdf/5/training2_...