การมองใกล้ ของ ตามนุษย์

ตาทั้งสองเบนคนละทิศเพื่อเห็นวัตถุเดียวกัน

การปรับตาให้เห็นใกล้ ๆ เป็นกระบวนการ 3 ขั้นตอนที่โฟกัสภาพลงที่จอตา

การเบนคนละทิศ (Vergence movement)

ดูบทความหลักที่: การเบนคนละทิศ

เมื่อสัตว์ที่เห็นเป็นภาพเดียวด้วยสองตามองที่วัตถุหนึ่ง ๆ ตาจะต้องหมุนรอบแกนแนวตั้งเพื่อให้ภาพตกลงที่กลางจอตาทั้งสองข้างเพื่อดูวัตถุใกล้ ๆ ตาจะเบนเข้าหากัน แต่สำหรับวัตถุไกล ๆ ตาจะเบนออกจากกัน

การหดรูม่านตา

เลนส์ไม่สามารถเบนแสงที่ขอบ ๆ ได้ดีเท่ากับส่วนตรงกลางดังนั้น ภาพที่เกิดจากเลนส์ทุกอันจะค่อนข้างมัว ๆ ที่ใกล้ ๆ ขอบ (เป็นความพร่าเหตุขอบเลนส์)ซึ่งลดได้ถ้ากันไม่มองแสงที่ขอบ ๆ โดยมองแต่ที่ตรงกลางซึ่งมีโฟกัสดีกว่าในตา รูม่านตาทำหน้าที่นี้โดยหดลงเมื่อตามองที่วัตถุใกล้ ๆช่องรับแสงที่เล็กยังเพิ่มช่วงความชัด (depth of field) คือทำให้เห็นได้ชัดในช่วงใกล้ไกลที่มากกว่าอีกด้วยด้วยเหตุนี้ รูม่านตาจึงมีหน้าที่สองอย่างสำหรับการมองใกล้ คือลดความพร่าเหตุขอบเลนส์และเพิ่มช่วงความชัด[28]

การปรับเลนส์ดูใกล้ไกล

การเปลี่ยนความโค้งนูนของเลนส์เป็นหน้าที่ของกล้ามเนื้อซิลิอารีซึ่งอยู่รอบ ๆ เลนส์เป็นกระบวนการที่เรียกว่า การปรับตาดูใกล้ไกล (accommodation)ซึ่งลดเส้นผ่านศูนย์กลางส่วนในของกล้ามเนื้อซิลิอารี คลายใยเอ็นแขวน (suspensory ligament) ที่ยึดอยู่กับส่วนรอบ ๆ ของเลนส์ และคลายเลนส์ให้มีรูปนูนหรือกลมขึ้นเลนส์ที่นูนกว่าจะเบนแสงได้มากกว่าและโฟกัสแสงแบบลู่ออกของวัตถุใกล้ ๆ ลงที่จอตา ทำให้วัตถุใกล้ ๆ มีโฟกัสที่ดีกว่า[28][29]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ตามนุษย์ http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://www.unifr.ch/ifaa/Public/EntryPage/TA98%20T... http://accessmedicine.com/resourceTOC.aspx?resourc... http://oem.bmj.com/content/58/4/267.long http://www.britannica.com/EBchecked/topic/1688997/... http://discovermagazine.com/2012/jan-feb/12-the-br... http://www.everyspec.com/MIL-STD/MIL-STD-1400-1499... http://www.healthline.com/human-body-maps/eye#1/15 http://hilzbook.com/organs/head/eye/ http://hilzbook.com/organs/head/eye/retina/