ตำนานมูลศาสนา

ตำนานมูลศาสนา หรือ มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์)เป็นวรรณกรรมพุทธศาสนาล้านนา แต่งโดยพระพุทธกามและพระพุทธญาณ ระหว่างปี พ.ศ. 1999–2053 ในช่วงรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985–2080) ถึงพระเมืองแก้ว (พ.ศ. 2038–2068) สถานที่รจนาคือวัดสวนดอกเนื้อหาประกอบด้วย 2 ส่วน ส่วนแรกเกี่ยวกับพุทธประวัติ ส่วนที่สองเกี่ยวกับพระพุทธศาสนาในล้านนา มีจุดประสงค์การแต่งเพื่อเชื่อมวงศ์กษัตริย์ล้านนาเข้ากับวงศ์พระพุทธเจ้า เพื่อสรรเสริญพระเจ้าติโลกราชทั้งทางโลกและทางธรรม แต่งในรูปแบบร้อยแก้ว เขียนด้วยภาษาไทยถิ่นเหนือ ใช้อักษรธรรมล้านนา จารบนใบลาน มีความยาว 10 ผูก มักขึ้นต้นเนื้อหาด้วยคำเช่นเดียวกับนิทาน มีการแทรก ทัศนะของนักปราชญ์ร่วมสมัย ยกธรรมะ นิทานพื้นบ้าน ชาดก สรุปเหตุการณ์ในภาพรวมก่อนอธิบายรายละเอียด และสรุปเหตุการณ์ไว้ท้ายเรื่อง ตัวอย่างเนื้อหา เช่น การประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุในเมืองเชียงใหม่ และการผูกสีมาของวัดสวนดอก จำนวน 6 ครั้ง[1]ต้นฉบับในใบลาน ใช้ชื่อว่า มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์) และมาใช้ชื่อ ตำนานมูลศาสนา เมื่อกรมศิลปากรปริวรรต ฉบับภาษาไทยกลาง พิมพ์ครั้งแรก พ.ศ. 2480 โดยกรมศิลปากรมอบหมายให้ นายสุด ศรีสมวงศ์ และนายพรหม ขมาลา มหาเปรียญสองคนที่เป็นพนักงานในกองวรรณคดี หอสมุดแห่งชาติ เป็นผู้แปล[2]

ตำนานมูลศาสนา

ประเภท พงศาวดาร, ประวัติศาสตร์
ชื่อเรื่องต้นฉบับ มูลสาสนาวังสะ (มูลศาสนาวงศ์)
ประเทศ อาณาจักรล้านนา
ผู้ประพันธ์ พระพุทธกามและพระพุทธญาณ
ชนิดสื่อ ใบลาน
ภาษา อักษรธรรมล้านนา
ผู้แปล
  • สุด ศรีสมวงศ์
  • พรหม ขมาลา

ใกล้เคียง

ตำนาน ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ตำนานเก็นจิ ตำนานวีรบุรุษกาแล็กซี ตำนานไซอิ๋วฉบับเกาหลี ตำนานนางพญางูขาว ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๕ ยุทธหัตถี ตำนานเจ้าหญิงไม้ไผ่จากดวงจันทร์ ตำนานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช ภาค ๓ ยุทธนาวี ตำนานแห่งซิลมาริล