อักษรธรรมล้านนา
อักษรธรรมล้านนา

อักษรธรรมล้านนา

อักษรธรรมล้านนา หรือ ตัวเมือง (คำเมือง: อักขรธัมม์ล้านนา รฤ ตัวเมือง; ไทลื้อ: ᦒᧄ, ธรรม, "คัมภีร์") หรือ อักษรยวน ภาษาไทยกลางในอดีตเรียกว่า ไทยเฉียง[1] ลาวเฉียงตามชื่อมณฑลลาวเฉียง เป็นอักษรที่ใช้ในสามภาษา ได้แก่ ภาษาไทยถิ่นเหนือ, ภาษาไทลื้อและภาษาเขิน นอกเหนือจากนี้ อักษรล้านนายังใช้กับลาวธรรม (หรือลาวเก่า) และภาษาถิ่นอื่นในคัมภีร์ใบลานพุทธและสมุดบันทึก อักษรนี้ยังเรียก อักษรธรรมหรืออักษรยวนภาษาไทยถิ่นเหนือเป็นภาษาใกล้ชิดกับภาษาไทยและเป็นสมาชิกของตระกูลภาษาเชียงแสน มีผู้พูดเกือบ 6,000,000 คนในภาคเหนือของประเทศไทย และหลายพันคนในประเทศลาว ซึ่งมีจำนวนน้อยที่รู้อักษรล้านนา อักษรนี้ยังใช้อยู่ในพระสงฆ์อายุมาก ภาษาไทยถิ่นเหนือมีหกวรรณยุกต์ ขณะที่ภาษาไทยมีห้าวรรณยุกต์ ทำให้การถอดเสียงเป็นอักษรไทยมีปัญหา มีความสนใจในอักษรล้านนาขึ้นมาอีกบ้างในหมู่คนหนุ่มสาว แต่ความยุ่งยากเพิ่มขึ้น คือ แบบภาษาพูดสมัยใหม่ ที่เรียก คำเมือง ออกเสียงต่างจากแบบเก่า[2]

อักษรธรรมล้านนา

ISO 15924 Lana
ช่วงยุค ประมาณ ค.ศ. 1300 – ปัจจุบัน
ระบบแม่
ช่วงยูนิโคด U+1A20-U+1AAF
ชนิด อักษรสระประกอบ
ภาษาพูด ไทยถิ่นเหนือ, ไทลื้อ, เขิน