วรรณยุกต์ ของ อักษรธรรมล้านนา

เนื่องจากล้านนาได้นำเอาระบบอักขรวิธีของมอญมาใช้โดยแทบจะไม่มีการปรับเปลี่ยนเลย และภาษามอญเองก็เป็นภาษาที่ไม่มีวรรณยุกต์ ดังนั้นในอดีตจึงไม่ปรากฏว่ามีการใช้เครื่องหมายวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนาเลย (เคยมีการถกเถียงกันเรื่องชื่อของล้านนาว่าจริงๆแล้วชื่อ "ล้านนา" หรือ "ลานนา" กันแน่ แต่ในที่สุดก็ได้ข้อสรุปว่า "ล้านนา") จนกระทั่งในระยะหลังเมื่ออิทธิพลของสยามแผ่เข้าไปในล้านนาจึงปรากฏการใช้รูปวรรณยุกต์ในการเขียนอักษรธรรมล้านนา

รูป
ชื่อไม้เยาะไม้ขอจ๊าง
ถอดอักษรชื่อไม้เหยาะไม้ขอช้าง
ถอดอักษรรูป
สัทอักษร/máj.jɔ́ʔ//máj.xɔ̌ː.t͡ɕáːŋ/

ภาษาไทยถิ่นเหนือสามารถผันได้ 6 เสียง (จริงๆแล้วมีทั้งหมด 7 หรือ 8 เสียง แต่ในแต่ละท้องถิ่นจะใช้เพียง 6 เสียงเท่านั้น) การผันจะใช้การจับคู่กันระหว่างอักษรสูงกับอักษรต่ำจึงทำให้ต้องใช้วรรณยุกต์เพียง 2 รูปเท่านั้น คือ เอก กับ โท (เทียบภาษาไทยกลาง) เช่น

การที่มีรูปวรรณยุกต์เพียง 2 รูปนี้ทำให้เกิดปัญหากับอักษรกลาง คือ ไม่สามารถแทนเสียงได้ครบทั้ง 6 เสียง ดังนั้นจึงอาจอนุโลมให้แต่ละรูปศัพท์แทนการออกเสียงได้ 2 เสียง

เสียงวรรณยุกต์สำเนียงเชียงใหม่มี 6 เสียง คือ เสียงจัตวา, เสียงเอก, เสียงโทพิเศษ, เสียงสามัญ, เสียงโท, และเสียงตรี[3]

เสียงวรรณยุกต์ตัวอย่างการถอดรหัสเสียงการออกเสียงความหมายในภาษาไทย
เสียงจัตวาขา/xǎː/[xaː˩˦]ขา
เสียงเอกข่า/xàː/[xaː˨˨]ข่า
เสียงโทพิเศษข้า/xa᷇ː/[xaː˥˧]ฆ่า
เสียงสามัญคา/xaː/[xaː˦˦]หญ้าคา
เสียงโทไฮ่/hâjː/[hajː˦˩]ไร่
เสียงตรีฟ้า/fáː/[faː˦˥˦]ฟ้า

การแสดงเสียงวรรณยุกต์

การแสดงเสียงวรรณยุกต์ของคำเมืองสำเนียงเชียงใหม่

เสียงวรรณยุกต์คำเป็น สระยาวคำเป็น สระยาว ไม้เอกคำเป็น สระยาว ไม้โทคำตาย สระสั้นคำตาย สระยาว
อักษรสูงเสียงจัตวาเสียงเอกเสียงโทพิเศษเสียงจัตวาเสียงเอก
อักษรกลางเสียงสามัญเสียงเอกเสียงโทพิเศษเสียงจัตวาเสียงเอก
อักษรต่ำเสียงสามัญเสียงโทเสียงตรีเสียงตรีเสียงโท