สัญลักษณ์ประจำตำบล ของ ตำบลคุ้งตะเภา

สัญลักษณ์ประจำตำบลคุ้งตะเภา

สัญลักษณ์ประจำตำบลคุ้งตะเภาคือ รูปเรือสำเภาทอง โดยมีที่มาจากประวัติของชื่อคุ้งตะเภาที่กล่าวถึงเรือสำเภา และอนุโลมจากพระนามของหลวงพ่อสุวรรณเภตรา ที่แปลว่า หลวงพ่อสำเภาทอง พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ของชาวตำบลคุ้งตะเภา

สัญลักษณ์นี้ปรากฏในตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานสำคัญในตำบลคุ้งตะเภา เช่น ตราสัญลักษณ์ของวัดคุ้งตะเภา องค์การบริหารส่วนตำบลคุ้งตะเภา ที่แม้ต่อมาเปลี่ยนฐานะเป็นเทศบาลตำบลคุ้งตะเภา ก็ยังนำสัญลักษณ์นี้มาใช้ด้วย

คำขวัญประจำตำบลคุ้งตะเภาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในตำบลคุ้งตะเภา ใช้รูปเรือสำเภาทองเป็นตราสัญลักษณ์ประจำหน่วยงาน

ลูกหลานชาวท่าเหนือ
ลือเลื่องภูมิปัญญา
สองพระปฏิมาคู่บ้าน
หาดน้ำน่านงามตา
พิพิธภัณฑ์วัดคุ้งตะเภาล้ำค่า
เลิศล้ำประเพณีงาม ๙ เดือน

– คำขวัญประจำตำบลคุ้งตะเภา

คำขวัญดังกล่าว แสดงถึงจุดเด่นสำคัญของแหล่งท่องเที่ยวและสถานที่สำคัญที่เป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตำบลคุ้งตะเภา[16]

โดยคำว่า "ลูกหลานชาวท่าเหนือ" แสดงถึง การที่ตำบลคุ้งตะเภามีประวัติความเป็นมายาวนานนับ 300 ปี ในที่ตั้งทางผ่านสำคัญของย่านการค้าขายของหัวเมืองฝ่ายเหนือ ที่ทำให้มีผู้มาตั้งรกรากในแถบย่านตำบลนี้จนกลายมาเป็นชาวบ้านลูกหลานชาวตำบลคุ้งตะเภาในปัจจุบัน

คำว่า "ลือเลื่องภูมิปัญญา" หมายถึง ตำบลคุ้งตะเภาเป็นชุมชนที่มีทุนทางภูมิปัญญาที่เข้มแข็งในหลายด้าน เช่น ด้านบุคคล มีปราชญ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการอนุรักษ์ภูมิปัญญาโบราณ ด้านแพทย์แผนไทยโบราณ, ด้านดนตรีและการละเล่นไทย, และนักภูมิปัญญาประดิษฐ์ในพิธีสำคัญทางศาสนาในแต่ละหมู่บ้าน เป็นต้น ซึ่งรวมถึงในด้านสถานที่ด้วย เช่น มีศูนย์การเรียนรู้สมุนไพรไทยวัดคุ้งตะเภา ที่มีการอนุรักษ์สมุนไพรไทยหายากไว้กว่า 400 ชนิด แสดงให้เห็นถึงความเข้มแข็งทางภูมิปัญญาโบราณของตำบลคุ้งตะเภาเป็นอย่างดี

คำว่า "สองพระปฏิมาคู่บ้าน" สื่อความหมายถึง องค์หลวงพ่อสุวรรณเภตรา และ หลวงพ่อสุโขทัยสัมฤทธิ์ พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์โบราณอายุกว่า 800 ปี ที่เป็นพระพุทธรูปสำคัญศูนย์รวมจิตใจของชาวตำบลคุ้งตะเภา และชาวจังหวัดอุตรดิตถ์มาช้านาน

คำว่า "หาดน้ำน่านงามตา" หมายถึง สถานที่ท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจสำคัญของตำบลคุ้งตะเภา คือสวนสาธารณะหาดริมน้ำน่านบ้านคุ้งตะเภา แหล่งท่องเที่ยวพักผ่อนสำคัญที่เป็นที่นิยมแห่งหนึ่งของอำเภอเมืองอุตรดิตถ์

คำว่า "พิพิธภัณฑ์วัดคุ้งตะเภาล้ำค่า" หมายถึง ตำบลคุ้งตะเภามีทุนทางประวัติศาสตร์วัฒนธรรมความเป็นมาที่ยาวนาน มีพิพิธภัณฑ์ชุมชนเป็นของตนเองในวัดคุ้งตะเภา เป็นแหล่งศูนย์กลางรูปธรรมที่แสดงออกซึ่งความเป็นมาและความเจริญทางวัตถุรวมถึงความเจริญทางจิตใจในอดีตของชาวตำบลคุ้งตะเภา

คำว่า "เลิศล้ำประเพณีงาม ๙ เดือน" หมายความถึง การอนุรักษ์ประเพณีวัฒนธรรมดังเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวหมู่บ้านคุ้งตะเภาที่มีประเพณีสำคัญในแต่ละเดือนถึง 9 เดือน ตั้งแต่เดือน 3 ถึงเดือน 12 แสดงออกถึงความเจริญทางจิตใจและความผูกพันกับพระพุทธศาสนาของชาวตำบลคุ้งตะเภา และยังเป็นสิ่งที่แสดงออกถึงทุนวัฒนธรรมที่เข้มแข็งของชาวตำบลคุ้งตะเภาอีกด้วย

เพลงประจำตำบล

เพลงประจำตำบลคือ "คุ้งตะเภารำลึก"

คุ้งตะเภารำลึก
ตัวอย่างบทเพลง คุ้งตะเภารำลึก
  • หากไม่ได้ยินเสียง โปรดดูเพิ่มที่ วิกิพีเดีย:วิธีใช้สื่อ
  • วิกิซอร์ซ มีงานต้นฉบับเกี่ยวกับ:

    ชาวคุ้งตะเภาได้มีการจัดทำเพลงประจำตำบลขึ้น โดยมี นายวิเชียร ครุฑทอง ปราชญ์ชุมชนของตำบลคุ้งตะเภา เป็นผู้แต่งบทเพลง - ทำนองเพลง รวมทั้งเป็นผู้ขับร้อง ซึ่งได้มีการบันทึกเสียงดนตรีที่ห้องบันทึกเสียงคณะดนตรีวง "ไทไท" ในปี พ.ศ. 2547

    เพลงที่นายวิเชียร ครุฑทอง แต่งขึ้นมี 2 บทเพลง ทั้งสองเพลงเป็นเพลงขับร้องแบบลูกทุ่ง โดยมีชื่อตามลำดับดังนี้

    1. "เพลงคุ้งตะเภารำลึก" มีเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของชื่อคุ้งตะเภา
    2. "เพลงอรุณรุ่งที่คุ้งตะเภา" มีเนื้อหาเกี่ยวกับการพัฒนาหมู่บ้านคุ้งตะเภาในปัจจุบัน

    ปัจจุบันทั้งสองเพลงได้มีการเปิดบรรเลงตาม "เสียงตามสาย" ของหมู่บ้านคุ้งตะเภา ก่อนการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของหมู่บ้าน เป็นเพลงที่คุ้นหู และเป็นเอกลักษณ์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของหมู่บ้านคุ้งตะเภามาจนปัจจุบัน[6]

    แหล่งที่มา

    WikiPedia: ตำบลคุ้งตะเภา http://watkungtaphao.6.forumer.com/index.php http://maps.google.com/maps?ll=17.65679,100.14849&... http://tevaprapas.googlepages.com/conservation_her... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=17.6567... http://www.tambol.com/tambol/search_show.asp?itemn... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaitambon.com/tambon/ttambon.asp?ID=53... http://www.globalguide.org?lat=17.65679&long=100.1... http://www.wikimapia.org/maps?ll=17.65679,100.1484... http://th.wikisource.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E...