ศัพทมูลวิทยา ของ ตำบลยะลา

ทางหนึ่งเชื่อว่ายาลอ มาจากคำว่า "ยาโลร์" มีความหมายว่า "ลาย (พาดกลอนของเสือ)"[1][2] มุขปาฐะเล่าลือกันว่ามีบุรุษผู้หนึ่งมือทั้งสองมีลายเสือพาดกลอน พร้อมกับคนกลุ่มหนึ่ง เดินทางจากบ้านปาโจทางทิศตะวันออกเฉียงใต้มาสร้างเมืองใหม่ จึงได้มีการตรวจชั่งน้ำแล้วพบว่าบริเวณแห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ "ในหน้าน้ำน้ำไม่ท่วม ในหน้าแล้งน้ำไม่ขาด" ด้วยเหตุนี้บุรุษผู้มีมือลายเสือพาดกลอนและสมัครพรรคพวกจึงตั้งถิ่นฐานที่นี่ ชาวบ้านจึงขนานนามบ้านแห่งนี้ว่า "บ้านยาลอ" แปลว่า "บ้านของเจ้าลาย"[1][2]

อีกทางหนึ่งก็ว่าเป็นคำยืมในภาษาบาลี-สันสกฤตว่า "ชาละ" (Jāla)[3] มีความหมายว่า "แห" เล่ากันว่ามีชาวบ้านครอบครัวหนึ่งนำแหเข้ามาในหมู่บ้าน ซึ่งแปลกตาชาวบ้านที่พบเห็น เพราะแหเป็นอุปกรณ์จับปลาในทะเล จึงเล่าจึงลือแล้วกลายเป็นชื่อหมู่บ้านไป[1] บ้างก็ว่าภูเขายาลอ (บูเกะยาลอ) ที่ตั้งอยู่ในตำบลนี้มีลักษณะเหมือนแหจับปลา โดยผูกจอมแหแล้วถ่างตีนแหไปโดยรอบ ผู้คนจึงเรียกแล้วนำมาตั้งนามเมือง[3]

ใกล้เคียง