ตุลาการภิวัตน์

ตุลาการภิวัตน์[1] (อังกฤษ: judicial activism) ใช้เรียกกรณีที่อำนาจตุลาการต้องสงสัยว่าบังคับใช้กฎหมายตามความเชื่อส่วนบุคคลหรือการเมือง แทนที่จะอิงตามกฎหมายที่บัญญัติไว้ พจนานุกรมกฎหมายของแบล็ค ให้คำจำกัดความไว้ว่า "แนวคิดที่ตุลาการให้ความเชื่อส่วนบุคคลเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน นอกเหนือไปจากปัจจัยอื่น ๆ มาชี้นำการตัดสินของตน" ("philosophy of judicial decision-making whereby judges allow their personal views about public policy, among other factors, to guide their decisions.")[2]คำจำกัดความของตุลาการภิวัตน์นั้น สามารถสืบต้นกำเนิดไปได้ถึงทอมัส เจฟเฟอร์สันซึ่งวิจารณ์ตุลาการอย่างจอห์น มาร์แชลว่ามี "พฤติกรรมแบบเผด็จการ" (despotic behaviour)[3] ส่วนผู้ใช้คำนี้เป็นคนแรกคืออาเธอร์ เชลสซิงเจอร์ จูเนียร์ โดยใช้วิจารณ์ศาลผ่านบทความชื่อ The Supreme Court: 1947. ในวารสารฟอร์ชูนฉบับมกราคม พ.ศ. 2490[4] คำว่าตุลาการตุลาการภิวัตน์นั้น ทำให้เกิดการถกเถียงมาแต่แรก โดย เครก กรีน ได้วิจารณ์เชลสซิงเจอร์ไว้ในบทความชื่อ An Intellectual History of Judicial Activism ว่า "การนำคำตุลาการภิวัตน์มาใช้ของเชลสซิงเจอร์นั้นกำกวมอย่างน่ากังขา ไม่เพียงแต่เขาจะอธิบายสิ่งที่เรียกว่าตุลาการภิวัฒน์ไม่ได้ แต่เขายังไม่ยอมบอกด้วยว่าสิ่งนี้ดีหรือเลว"[5]กรณีที่ถูกกล่าวว่าเป็นตุลาการภิวัตน์อันมีชื่อเสียงก็คือในการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา พ.ศ. 2543 เมื่อศาลสูงสหรัฐอเมริกาให้ยุติการนับคะแนนใหม่ของรัฐฟลอริดา และทำให้จอร์จ ดับเบิลยู. บุชได้รับชัยชนะเหนืออัล กอร์ไปโดยปริยาย[6]ส่วนในประเทศไทย ธีรยุทธ บุญมีบัญญัติศัพท์นี้หลังพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสในโอกาสที่พระราชทานพระบรมราชวโรกาสให้ประธานศาลปกครองสูงสุด (อักขราทร จุฬารัตน) และประธานศาลฎีกา (ชาญชัย ลิขิตจิตถะ) นำตุลาการศาลปกครองสูงสุดและผู้พิพากษาประจำศาล สำนักงานศาลยุติธรรม เฝ้าฯ ถวายสัตย์ปฏิญาณก่อนเข้ารับตำแหน่งหน้าที่ ณ พระตำหนักเปี่ยมสุข วังไกลกังวล เมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2549 เพื่อหาทางออกวิกฤตการณ์การเมืองไทย[7]