การรักษา ของ ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง

ดูสารนิเทศเพิ่มเติมที่: การบำบัดด้วยการทดแทนแอนโดรเจน

ผลกระทบของระดับเทสโทสเตอโรนที่ลดลง เป็นเรื่องที่ยังถกเถียงกันอยู่ ดังนั้น การรักษาด้วยการให้ฮอร์โมนแทนก็จึงเป็นเรื่องโต้แย้งองค์การอาหารและยาสหรัฐ (FDA) กล่าวในปี 2015 ว่า ทั้งผลดีและความปลอดภัยของเทสโทสเตอโรนเพื่อรักษาชายสูงอายุที่มีระดับเทสโทสเตอโรนต่ำยังไม่ชัดเจน[11]การรักษาด้วยการให้เทสโทสเตอโรนแทน ควรเริ่มต่อเมื่อได้ยืนยันระดับที่ต่ำแล้ว[7]แต่แม้ในสหรัฐอเมริกา การยืนยันก่อนให้ยาก็ไม่ได้ทำในกรณีคนไข้ 25% โดยปี 2015[8]ในระหว่างการรักษา แพทย์ควรสอดส่องระดับเทสโทสเตอโรน[7]

ผลไม่พึงประสงค์

ผลไม่พึงประสงค์ของการให้เทสโทสเตอโรน รวมปัญหาทางหัวใจหลอดเลือด (รวมทั้งโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจล้มเหลว) และแม้ถึงความตาย โดยเฉพาะสำหรับชายอายุเกิน 65 ปี และชายที่มีปัญหาหัวใจมาก่อน[1]ปัญหาหัวใจหลอดเลือดเนื่องกับการรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนทำให้ FDA ในปี 2015 เริ่มบังคับให้มีป้ายแสดงคำเตือนของความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นต่อโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจล้มเหลว[1][11]อย่างไรก็ดี ข้อมูลที่มีก็ยังผสมผเส ดังนั้น องค์กรยายุโรป (EMA) สมาคมแพทย์วิทยาต่อมไร้ท่ออเมริกัน และวิทยาลัยวิทยาต่อมไร้ท่ออเมริกัน ล้วนกล่าวว่า ไม่มีหลักฐานชัดเจนที่แสดงว่า การรักษาด้วยเทสโทสเตอโรนเพิ่มหรือลดความเสี่ยงโรคหลอดเลือดหัวใจ[1]

ผลไม่พึงประสงค์ที่สำคัญอื่น ๆ รวมทั้งเร่งการเติบโตของมะเร็งต่อมลูกหมากที่มีมาก่อนฮีมาโทคริตสูงขึ้น ซึ่งอาจต้องเจาะหลอดเลือดดำเพื่อรักษาและอาการหยุดหายใจเมื่อนอน (sleep apnea) ที่แย่ลง[1]

ผลไม่พึงประสงค์ที่ไม่ค่อยรุนแรงอาจรวมการเกิดสิว ผิวมัน ผมร่วงผมบาง ซึ่งอาจป้องกันด้วยยากลุ่ม 5-alpha reductase inhibitor ซึ่งปกติใช้รักษาการเจริญเกินของต่อมลูกหมาก รวมยาเช่น finasteride และ dutasteride[12]

เทสโทสเตอโรนที่ให้อาจเป็นเหตุยับยั้งการสร้างสเปิร์ม ทำให้เป็นหมันที่ฟื้นคืนได้ในบางกรณี[1]

ใกล้เคียง

ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง ต่อมบ่งเพศ ต่อมบาร์โทลิน ต่อมบัลโบยูรีทรัล ต่อม บุนนาค ต่อมลูกหมาก ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์อักเสบฮาชิโมโตะ ต่อมไพเนียล

แหล่งที่มา

WikiPedia: ต่อมบ่งเพศทำงานน้อยเกินแบบเริ่มต้นทีหลัง http://www.nytimes.com/2015/03/04/health/drugs-usi... http://onlinelibrary.wiley.com/doi/10.1111/jgs.133... http://www.fda.gov/Safety/MedWatch/SafetyInformati... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/19011295 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20525905 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/20554979 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24119423 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/24407185 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25092967 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/25360240