ทฤษฎีคาดหวัง
ทฤษฎีคาดหวัง

ทฤษฎีคาดหวัง

ทฤษฎีคาดหวัง[1](อังกฤษ: Prospect theory) เป็นทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม (Behavioral economics) ที่แสดงวิธีที่มนุษย์เลือกระหว่างทางเลือกที่เป็นไปได้ ในสถานการณ์ที่มีความเสี่ยงแต่รู้ค่าความน่าจะเป็นของทางเลือกทฤษฎีกำหนดว่า มนุษย์ตัดสินใจขึ้นอยู่กับค่าความขาดทุน (ผลลบ) หรือผลกำไร (ผลบวก) ที่อาจจะมี ไม่ได้ขึ้นอยู่กับค่าผลที่ได้โดยที่สุด และมนุษย์ประเมินค่าความขาดทุนและผลกำไรโดยใช้ฮิวริสติกบางอย่างแบบจำลองนี้เป็นแบบพรรณนา (descriptive) เป็นแบบจำลองของการเลือกการตัดสินใจที่มีในชีวิตจริง ๆ ไม่ใช่เป็นการตัดสินใจที่อาจจะเหมาะสำหรับสถานการณ์มากที่สุด (optimal decision)ทฤษฎีนี้สร้างขึ้นในปี ค.ศ. 1979 และมีการพัฒนาขึ้นอีกในปี ค.ศ 1992 โดยแดเนียล คาฮ์นะมัน และอะมอส ทเวอร์สกี้ เป็นแบบจำลองที่มีความแม่นยำทางจิตวิทยามากกว่า expected utility hypothesis (สมมุติฐานอรรถประโยชน์ที่คาดหวัง)ในคำอธิบายดั้งเดิม คำว่า prospect หมายถึง ลอตเตอร์รี่บทความ "Prospect Theory: An Analysis of Decision under Risk (ทฤษฎีคาดหวัง: การวิเคราะห์การตัดสินใจภายใต้ความเสี่ยง)" (ค.ศ. 1979) ของคาฮ์นะมันและทเวอร์สกี้ เป็น "บทความตั้งต้นของสาขาเศรษฐศาสตร์พฤติกรรม"[2]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีคาดหวัง http://books.google.com/books?id=J0F11Q5H7doC http://books.google.com/books?id=JW06AAAAMAAJ http://books.google.com/books?id=ZuKTvERuPG8C http://books.google.com/books?id=yy9mAgAAQBAJ http://graphics8.nytimes.com/images/2008/04/16/bus... http://link.springer.com/article/10.1007%2FBF00122... http://www.ssrn.com/abstract=1008034 http://www.ssrn.com/abstract=636508 http://www.cog.brown.edu/courses/cg195/pdf_files/f... http://www.princeton.edu/~kahneman/docs/Publicatio...