นิยาม ของ ทฤษฎีจิต

ส่วนนี้รอเพิ่มเติมข้อมูล คุณสามารถช่วยเพิ่มข้อมูลส่วนนี้ได้

ทฤษฎีจิตเรียกว่าเป็น "ทฤษฎี" เพราะว่า จิตไม่สามารถสังเกตได้โดยตรง[1] การสมมุติว่าคนอื่นมีจิต เรียกว่า "ทฤษฎีจิต " ก็เพราะว่า แม้ว่าเราจะรู้โดยรู้เอง (intuition) ว่า ตัวเราเองมีจิต โดยผ่านกระบวนการพินิจภายใน (introspection)แต่ไม่มีใครที่สามารถเข้าถึงสภาพจิตใจของคนอื่นได้โดยตรงเราจึงต้องสมมุติว่าคนอื่นมีจิตเหมือนกับเรา โดยอาศัยเหตุต่าง ๆ คือ พฤติกรรมที่มีร่วมกันในสังคม[4] การใช้ภาษา[5]และความเข้าใจถึงอารมณ์และการกระทำของผู้อื่น[6]การมีทฤษฎีจิตทำให้เราสามารถยกความคิด ความต้องการ ความต้องใจ ว่าเป็นของผู้อื่น สามารถพยากรณ์และอธิบายการกระทำของผู้อื่น และสามารถเข้าใจถึงความตั้งใจของคนอื่นได้นิยามดั้งเดิมก็คือ ทฤษฎีจิตทำให้เราสามารถเข้าใจว่า สภาพจิตอาจเป็นเหตุพฤติกรรมของผู้อื่น และดังนั้น จึงทำให้เราสามารถพยากรณ์และอธิบายพฤติกรรมของผู้อื่นได้[1] ความสามารถในการยกสภาพจิตว่าเป็นของผู้อื่น และในการเข้าใจว่าสภาพจิตนั้นเป็นเหตุของพฤติกรรม เป็นตัวชี้บ่งโดยส่วนหนึ่งว่า เราต้องเข้าใจว่าจิตเป็น "ตัวสร้างตัวแทนทางใจ" (generator of representations)[7][8][9] การมีทฤษฎีจิตที่ไม่สมบูรณ์ อาจจะเป็นอาการของความเสียหายทางประชาน หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในช่วงพัฒนาการ

ทฤษฎีจิตดูเหมือนจะเป็นความสามารถตามธรรมชาติของมนุษย์ แต่เป็นความสามารถที่ต้องอาศัยประสบการณ์ทางสังคมและประสบการณ์อื่น ๆ ที่ต้องพัฒนาเป็นช่วงเวลาหลายปีก่อนที่จะสมบูรณ์แต่ละบุคคลอาจจะมีทฤษฎีจิตที่มีประสิทธิภาพไม่เท่ากันส่วนแนวคิดเรื่องการเห็นใจผู้อื่น (Empathy) เป็นเรื่องที่สัมพันธ์กัน เป็นการรู้จำและเข้าใจสภาพจิตของคนอื่น รวมทั้งความเชื่อ ความต้องการ และโดยเฉพาะอารมณ์ ซึ่งบางครั้งเรียกว่าเป็นความสามารถที่จะ "เอาใจเราไปใส่ใจเขา"งานทดลองทางพฤติกรรมวิทยาในสัตว์เมื่อปี ค.ศ. 2007 ดูเหมือนจะบอกว่า แม้แต่สัตว์ฟันแทะ (เช่นหนู) ก็อาจจะมีความเห็นใจผู้อื่นและความรู้สึกผิดชอบชั่วดี[10]ส่วนทฤษฎีทางประชานอย่างหนึ่งคือ "Neo-Piagetian theories of cognitive development" ซึ่งเป็นทฤษฎีเกี่ยวกับพัฒนาการทางประชานที่ต่อยอดแก้ไขทฤษฎีของฌ็อง ปียาแฌ กำหนดว่า ทฤษฎีจิตเป็นผลพลอยได้ของความสามารถทางประชาน ที่จะบันทึก ตรวจสอบ และแสดงการทำงานของตน[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีจิต http://www.hindawi.com/journals/aurt/2012/505393/ http://www.livescience.com/220-scientists-read-min... http://www.sciencedirect.com.huaryu.kl.oakland.edu... http://plato.stanford.edu/entries/computational-mi... http://plato.stanford.edu/entries/mind-identity/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15454505 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16327784 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18412750 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21289541 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2225758