สัตว์อื่นนอกจากมนุษย์ ของ ทฤษฎีจิต

คำถามที่ยังไม่มีคำตอบอย่างหนึ่งก็คือว่า มีสัตว์อื่นหรือไม่นอกจากมนุษย์ที่มีความสามารถตามกรรมพันธุ์และสิ่งแวดล้อมทางสังคม ที่ทำให้มีทฤษฎีจิตแบบเดียวกับเด็กมนุษย์[1] นี่เป็นเรื่องที่ยากที่จะหาข้อยุติเพราะเหตุปัญหาการอนุมานจากพฤติกรรมสัตว์ว่ามีความคิดบางอย่าง มีความคิดว่าตน (self concept) หรือมีความสำนึกตน (self-awareness) บ้างหรือไม่ความยากลำบากเกี่ยวกับการศึกษา ToM ในสัตว์ก็คือไม่มีข้อมูลจากการสังเกตการณ์ตามธรรมชาติเพียงพอที่จะให้ความเข้าใจว่า ความกดดันทางวิวัฒนาการอะไรเป็นเหตุให้เกิดการพัฒนาทฤษฎีจิตในสปีชีส์นั้น ๆ

แต่งานวิจัยในสัตว์ก็ยังมีความสำคัญต่อสาขาวิชานี้เพราะว่า อาจจะช่วยแสดงว่าพฤติกรรมที่ไม่ใช้วาจาอะไรที่สามารถชี้องค์ประกอบของทฤษฎีจิตและช่วยชี้ขั้นตอนในกระบวนการวิวัฒนาการของทฤษฎีจิต ที่นักวิชาการเป็นจำนวนมากอ้างว่าเป็นประชานทางสังคมที่มีเฉพาะในมนุษย์แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะศึกษาทฤษฎีจิตที่มีในมนุษย์ในสัตว์ และที่จะศึกษาสภาพจิตใจของสัตว์ที่เราไม่มีความเข้าใจเรื่องสภาพจิตที่ดีนักวิจัยก็ยังสามารถเล็งความสนใจไปที่องค์ประกอบง่าย ๆ ของความสามารถซับซ้อนที่มีในมนุษย์ยกตัวอย่างเช่น นักวิจัยหลายท่านได้ตรวจสอบความเข้าใจของสัตว์เกี่ยวกับความตั้งใจ การมอง มุมมอง หรือความรู้ (คือความเข้าใจว่าสัตว์อื่นได้เห็นอะไร)

มีงานวิจัยที่ตรวจสอบความเข้าใจเกี่ยวกับความตั้งใจในลิงอุรังอุตัง ลิงชิมแปนซี และเด็กมนุษย์ที่พบว่า สัตว์ทั้งสามสปีชีส์ล้วนแต่เข้าใจความแตกต่างกันระหว่างเหตุการณ์ที่ทำโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจแต่ความยากลำบากอย่างหนึ่งในงานวิจัยประเภทนี้ก็คือว่า ปรากฏการณ์ที่สังเกตได้สามารถอธิบายได้ว่าเป็นเพียงการเรียนรู้แบบสิ่งเร้า-ปฏิกิริยา (stimulus-response learning) แบบง่าย ๆ ซึ่งเป็นความยากลำบากที่เหมือนกับสถานการณ์ตามธรรมชาติจริง ๆ ของสัตว์ที่มีทฤษฎีจิต (เช่นมนุษย์) ที่จะต้องอนุมานว่าสัตว์อื่น (เช่นคนอื่น) มีสภาพจิตอะไรบางอย่างภายในจริง ๆ หรือไม่ โดยเพียงอาศัยการสังเกตพฤติกรรมภายนอกเพียงเท่านั้น (คือไม่ใช่เป็นเพียงพฤติกรรมที่เป็นการเรียนรู้แบบสิ่งเร้า-ปฏิกิริยา)ในเร็ว ๆ นี้ งานวิจัยเกี่ยวกับทฤษฎีจิตในสัตว์มักจะเป็นไปในลิงและลิงใหญ่ เพราะว่าเป็นประเด็นที่น่าสนใจในการศึกษาวิวัฒนาการของประชานทางสังคม (social cognition) ในมนุษย์แต่ก็มีงานวิจัยอื่น ๆ ที่ใช้นกหัวโตวงศ์ย่อย Charadriinae[19]และสุนัข[20]เป็นสัตว์ทดลองและได้แสดงหลักฐานเบื้องต้นของความเข้าใจการใส่ใจของสัตว์อื่น ซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของทฤษฎีจิตอย่างหนึ่ง

แต่ว่าก็มีการถกเถียงกันเกี่ยวกับการตีความหลักฐานต่าง ๆ ว่า เป็นการสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน ว่าสัตว์อื่นมีทฤษฎีจิต[21] มีตัวอย่างที่เห็นได้คือ ในปี ค.ศ. 1990 มีงานวิจัย[22] ที่แสดงผู้ทำการทดลองสองคนให้ลิงชิมแปนซีเห็นเพื่อที่จะขออาหารคนหนึ่งจะเห็นว่าอาหารซ่อนอยู่ที่ไหน อีกคนหนึ่งจะไม่เห็นเพราะเหตุต่าง ๆ (เช่นมีถังหรือถุงครอบศีรษะ มีอะไรปิดตาอยู่ หรือว่าหันไปทางอื่น) ดังนั้นจะไม่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนและจะได้แต่เดาเท่านั้นนักวิจัยพบว่า ลิงไม่สามารถแยกแยะผู้ที่รู้ว่าอาหารอยู่ที่ไหนเพื่อที่จะขอให้ถูกคนแต่อีกงานวิจัยหนึ่งในปี ค.ศ. 2001[23] พบว่า ลิงชิมแปนซีที่เป็นรองสามารถใช้ความรู้ของลิงชิมแปนซีคู่แข่งที่เป็นใหญ่ในการกำหนดว่า ที่เก็บอาหารไหนที่ลิงที่เป็นใหญ่ได้เข้าไปตรวจสอบและก็มีนักวิจัยอื่น ๆ ที่ไม่สงสัยเลยว่า ลิงโบโนโบ (ลิงชิมแปนซีประเภทหนึ่ง) มี ToM โดยอ้างการสื่อสารกับลิงโบโนโบที่มีชื่อเสียงตัวหนึ่งชื่อว่า Kanzi เป็นหลักฐาน[24]

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีจิต http://www.hindawi.com/journals/aurt/2012/505393/ http://www.livescience.com/220-scientists-read-min... http://www.sciencedirect.com.huaryu.kl.oakland.edu... http://plato.stanford.edu/entries/computational-mi... http://plato.stanford.edu/entries/mind-identity/ //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/15454505 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/16327784 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18412750 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/21289541 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2225758