รูปอื่น ของ ทฤษฎีบทพีทาโกรัส

ตามที่ได้กล่าวไปแล้วข้างต้น หาก c แทนความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก และ a และ b แทนความยาวของอีกสองด้านที่ประกบมุมฉาก ทฤษฎีบทพีทาโกรัสจะสามารถเขียนในรูปสมการพีทาโกรัสได้ดังนี้

a 2 + b 2 = c 2 {\displaystyle a^{2}+b^{2}=c^{2}\,}

หรือ

c = a 2 + b 2 {\displaystyle c={\sqrt {a^{2}+b^{2}}}\,}

ถ้าทราบความยาวด้านตรงข้ามมุมฉาก c และด้านประชิดมุมฉากด้านใดด้านหนึ่ง (a หรือ b) แล้ว ความยาวด้านที่เหลือสามารถคำนวณได้ดังนี้

a = c 2 − b 2 {\displaystyle a={\sqrt {c^{2}-b^{2}}}\,}

หรือ

b = c 2 − a 2 {\displaystyle b={\sqrt {c^{2}-a^{2}}}\,}

ทฤษฎีบทพีทาโกรัสกำหนดความสัมพันธ์ของด้านทั้งสามของสามเหลี่ยมมุมฉากอย่างง่าย เพื่อที่ว่าถ้าทราบความยาวของด้านสองด้าน ก็จะสามารถหาความยาวของด้านที่เหลือได้ อีกบทแทรกหนึ่งของทฤษฎีบทพีทาโกรัสคือ ในสามเหลี่ยมมุมฉากใด ๆ ด้านตรงข้ามมุมฉากจะยาวกว่าสองด้านที่เหลือ แต่สั้นกว่าผลรวมของทั้งสอง

ทฤษฎีบทดังกล่าวสามารถกล่าวโดยสรุปได้เป็นกฎของโคซายน์ ซึ่งเมื่อให้ความยาวของด้านทั้งสองและขนาดของมุมระหว่างด้านนั้นมา จะสามารถคำนวณหาความยาวด้านที่สามของสามเหลี่ยมใด ๆ ได้ ถ้ามุมระหว่างด้านเป็นมุมฉาก กฎของโคซายน์จะย่อลงเหลือทฤษฎีบทพีทาโกรัส

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทฤษฎีบทพีทาโกรัส http://books.google.com/?id=-gYCAAAAYAAJ&pg=PA26 http://books.google.com/?id=JVhTtVA2zr8C&pg=PA36 http://books.google.com/?id=bUARfgWRH14C&pg=PA25 http://books.google.com/?id=pheL_ubbXD0C&pg=PA52 http://books.google.com/books?id=nHxBw-WlECUC&pg=P... http://books.google.com/books?id=nHxBw-WlECUC&pg=P... http://aleph0.clarku.edu/~djoyce/java/elements/boo... http://aleph0.clarku.edu/~djoyce/java/elements/ele... http://www.dma.ulpgc.es/profesores/pacheco/Robson.... //doi.org/10.2307%2F2695324