ประวัติ ของ ทฤษฎีบีซีเอส

กลางปี ค.ศ. 1950 ได้เห็นความก้าวหน้าอย่างรวดเร็วในความเข้าใจเกี่ยวกับสภาพนำยวดยิ่ง มันเริ่มต้นในรายงานการวิจัยปี 1948, เกี่ยวกับปัญหาของทฤษฎีโมเลกุลของสภาพนำยวดยิ่ง [2] ซึ่ง ฟริตซ์ ลอนดอน (Fritz London) เสนอว่าสมการปรากฏการณ์ลอนดอน (phenomenological London equations) อาจจะเกิดผลกระทบที่ตามมาของการเชื่อมโยงของสถานะควอนตัม ในปี 1953 ไบรอัน พิพเพิร์ด (Brian Pippard), ได้รับแรงบันดาลใจจากการทดลองการเจาะผ่าน, ได้เสนอว่านี่จะเป็นการปรับเปลี่ยนสมการลอนดอนผ่านพารามิเตอร์มาตราส่วนใหม่ที่เรียกว่าระยะการเชื่อมโยง (coherence length) จอห์น บาร์ดีน (John Bardeen) นั้นได้โต้แย้งในงานวิจัยในปี 1955 , "ทฤษฎีแห่งผลเมสเนอร์ (Meissner Effect) ในตัวนำยวดยิ่ง" [3] ว่าการปรับเปลี่ยนดังกล่าวเกิดขึ้นตามธรรมชาติในทฤษฎีที่ว่าด้วยช่องว่างพลังงาน ส่วนประกอบที่สำคัญคือการคำนวณลีออนนีลคูเปอร์ (Leon Neil Cooper)ของสถานะยึดเหนี่ยวของอิเล็กตรอนในหัวข้อเกี่ยวกับแรงดึงดูดในรายงานการวิจัยของเขา ในปี 1956, "คู่อิเล็กตรอนที่ถูกยึดเหนี่ยวไว้ในก๊าซของเฟอร์มิ" (Degenerate Fermi Gas) [4]

ในปี 1957 บาร์ดีนและคูเปอร์ ได้รวบรวมส่วนประกอบเหล่านี้และสร้างทฤษฎีดังกล่าว, ชื่อว่าทฤษฎี BCS ร่วมกับรอเบิร์ต ชริฟเฟอร์ (Robert Schrieffer) ทฤษฎีได้ถูกเผยแพร่ครั้งแรกในเดือนเมษายนปี 1957 ในจดหมายที่มีชื่อว่า "ทฤษฎีจุลภาคของสภาพนำยวดยิ่ง" [5] โดยสาธิตให้เห็นว่าการเปลี่ยนเฟสเป็นลำดับที่สอง, ซึ่งมันสามารถก่อให้เกิดผลเมสเนอร์ (Meissner effect) การคำนวณค่าความร้อนจำเพาะ และระยะเจาะลึกปรากฏอยู่ในบทความในเดือนธันวาคมปี 1957, ที่มีชื่อว่า "ทฤษฎีสภาพนำไฟฟ้ายวดยิ่ง" (superconductivity) พวกเขาได้รับรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ในปี 1972 สำหรับทฤษฎีนี้ ในปี 1950 ทฤษฎีแลนเดา-จินซ์เบิร์ก (Landau-Ginzburg theory) ทฤษฎีสภาพนำไฟฟ้ายวดยิ่ง ไม่ได้ถูกอ้างถึงแต่อย่างใดในรายงานวิจัย BCS

ในปี 1986, สภาพนำยวดยิ่งอุณหภูมิสูงได้ถูกค้นพบ (เช่น สภาพนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิเหนือขีดจำกัดก่อนหน้านั้นประมาณ 30 K เป็นอย่างมาก; ขึ้นไปเป็นประมาณ 130 K) เป็นที่เชื่อกันว่าทฤษฎี BCS เพียงอย่างเดียวไม่สามารถอธิบายปรากฏการณ์นี้และผลลัพธ์อื่น ๆ ที่เกิดขึ้นอยู่ในขณะนี้ได้ ผลลัพธ์เหล่านี้ยังคงมีความไม่ค่อยเข้าใจกันนัก; แต่มันยังพอมีความเป็นไปได้ว่าพวกเขาอาจสามารถควบคุมตัวนำยวดยิ่งที่อุณหภูมิต่ำสำหรับวัสดุบางอย่างได้