ทฤษฎีหน้าต่างแตก
ทฤษฎีหน้าต่างแตก

ทฤษฎีหน้าต่างแตก

ทฤษฎีหน้าต่างแตก (อังกฤษ: Broken windows theory) คือ ทฤษฎีทางอาชญาวิทยาของการสร้างมาตรฐาน และที่ผลของการก่อกวนและความวุ่นวายในตัวเมืองส่งผลต่อการเพิ่มของอาชญากรรม และพฤติกรรมต่อต้านสังคม ทฤษฎีระบุว่าการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมเมืองโดยการป้องกันอาชญากรรมเบาๆ เช่น การก่อกวน การดื่มในที่สาธารณะ และการไม่จ่ายค่าโดยสาร มีส่วนช่วยในการสร้างบรรยากาศของความถูกต้องทางกฎหมาย ดังนั้นจึงมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเกิดขึ้นของอาชญากรรมที่ร้ายแรงทฤษฎีถูกริเริ่มในปี พ.ศ. 2525 ในบทความที่เขียนโดยนักสังคมศาสตร์  เจมส์ คิว วิลสัน และ จอร์จ แอล เคลลิ่ง[1] ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาทฤษฏีนี้ก็ได้เป็นที่ถกเถียงทั้งภายในสังคมศาสตร์เองและในพื้นที่สาธารณะ ทฤษฎีนี้ถูกใช้เป็นแรงบันดาลใจสำหรับการปฏิรูปในนโยบายทางอาชญากรรมมาแล้วหลายต่อหลายครั้ง รวมไปถึงการใช้อย่างกว้างขวางของ "หยุด ถาม ค้น" โดยกรมตำรวจนครนิวยอร์ก