การประยุกต์ ของ ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตก

ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกมีใช้ในการศึกษาหัวข้อต่าง ๆ รวมถึงการจัดการ เศรษฐศาสตร์และภาษาศาสตร์ การสร้างสรรค์ละการจัดการ (ค.ศ. 2007) พิจารณาทวิวิภาคดังกล่าวว่าเป็นความแตกต่างในการเรียนรู้เชิงองค์การระหว่างวัฒนธรมตะวันตกและตะวันออก[23] มีการใช้อย่างกว้างขวางในการสำรวจช่วงการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วที่เรียก "ปาฏิหารย์เอเชียตะวันออก" ในบางส่วนของเอเชียตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสือเอเชีย หลัง สงครามโลกครั้งที่สอง[24] นักสังคมวิทยาบางคนรับรู้การขยายตัวทางเศรษฐกิจว่าเป็นสัญญาณว่าภูมิภาคนั้น "กลายเป็นตะวันตก" ตามแนวกับโลกตะวันตกเป็นแบบจำลองความทันสมัยที่วางโดย อาร์โนลด์ เจ. ทอยน์บี แต่คนอื่นมองหาคำอธิบายในคุณลักษณะทางวัฒนธรรมหรือเชื้อชาติในโลกตะวันออก โดยรับมโนทัศน์อัตลักษณ์วัฒนธรรมตะวันออกที่คงที่ในปรากฏการณ์ที่อธิบายว่าเป็น "คตินิยมแบบตะวันออกใหม่" (New Orientalism) แนวทางการเข้าสู่ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกทั้งสองแนวได้รับคำวิจารณ์ว่าไม่ได้นำความเป็นลูกผสมทางประวัติศาสตร์ของภูมิภาคดังกล่าวมาคิดด้วย[25]

มโนทัศน์ดังกล่าวยังหยิบยกขึ้นมาเพื่อให้สัมพันธ์กับการพิจารณาการสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม มีการอธิบายอย่างกว้างขวางว่าชาวเอเชียรับ "รูปแบบคำพูดอุปนัย" ซึ่งจะเลี่ยงการพูดประเด็นหลักตรง ๆ แต่กล่าวกันว่าสังคมตะวันตกใช้ "คำพูดนิรนัย" ซึ่งผู้พูดสร้างประเด็นของพวกตนในทันที[26] สิ่งนี้มีการยกว่ามีความสำคัญสูงกว่าในหมู่ชาวเอเชียในความสัมพันธ์แบบสมานฉันท์ แต่ชาวตะวันตกกล่าวกันว่าให้ความสำคัญกับการสื่อสารโดยตรง[27] หนังสือ Intercultural Communication: A Discourse Approach ในปี 2001 อธิบายทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตกทางภาษาศาสตร์ว่าเป็น "ทวิวิภาคเท็จ" โดยสังเกตว่าผู้พูดชาวเอเชียและตะวันตกใช้การสื่อสารทั้งสองแบบ[28]