ความแตกต่างในประวัติศาสตร์ระหว่างตะวันออกและตะวันตก ของ ทวิวิภาคตะวันออก–ตะวันตก

ระหว่างยุคกลาง อารยธรรมมากมายที่ปรากฏทั้งในโลกตะวันออกและตะวันตกมีความคล้ายคลึงกันในหลายแง่ แต่บางแง่ก็แตกต่างกันมากจนเข้ากันไม่ได้ ประเด็นสำคัญหนึ่งได้แก่ข้อแตกต่างในระบบชนชั้นทางสังคมซึ่งมีผลต่อชีวิตหลายด้านเมื่อสังคมทั้งสองมีอันตรกิริยา การแบ่งแยกระหว่างระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบสังคมแบบตะวันออก วิธีการค้าและเกษตรกรรมที่แข่งขันกัน และเสถียรภาพของรัฐบาลที่ต่างกันทำให้เกิดช่องว่างกว่าขึ้นเรื่อย ๆ ระหว่างวิถีชีวิตทั้งสองแบบ อารยธรรมตะวันตกและตะวันออกไม่เพียงแตกต่างกันเพราะที่ตั้งเท่านั้น แต่ยังเพราะระบบชนชั้นทางสังคม วิธีทำกินและลีลาความเป็นผู้นำ[3]

ชีวิตประจำวันของสามัญชนในอารยธรรมตะวันตกและตะวันออกนั้นแตกต่างกันอย่างมากตามวิธีดำเนินการสังคมของพวกตน และสิ่งที่สังคมมุ่งเน้น ข้อแตกต่างสำคัญหนึ่งระหว่างอารยธรรมตะวันตกและตะวันออกได้แก่ระบบเจ้าขุนมูลนายและระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัล (manorialism)[4] ทั้งสองก่อให้เกิดชนการจัดช่วงชั้นทางสังคม และชีวิตในภาพรวมของสามัญชนในโลกตะวันออก ระบบถือครองที่ดินสมัยฟิวดัลตั้งขึ้นโดยมีเจ้า (lord) อยู่บนสุดที่เป็นเจ้าของที่ดินผืนใหญ่ เขามีทาสติดที่ดิน (serf) และชาวนาที่เขาว่าจ้าง ชาวนาจ่ายค่าเช่าเป็นธัญพืชเพื่อเป็นการตอบแทนที่ดินที่พวกเขาได้ทำงาน สังคมระบบเจ้าขุนมูลนายนี้เป็นระบบแก่งแย่งกันและไม่ช่วยขยายอารยธรรม[5] [6]

ระบบสังคมของโลกตะวันตกและตะวันออกต่างกัน มองโกเลียเจริญขึ้นมาจากเผ่าเร่ร่อนที่เจงกีสข่านรวมเป็นหนึ่งเดียว เขาพิชิตดินแดนแวดล้อมกว้างใหญ่และตั้งจักรวรรดิไพศาล ชาวมองโกลให้ผู้ป้องกันมีทางเลือกระหว่างเข้าร่วมหรือตาย[7] ทัศนะที่โหดเหี้ยมนี้แสดงออกมาเมื่อพวกเขาพิชิตทวีปเอเชียส่วนใหญ่และทวีปยุโรปและตะวันออกกลางบางส่วน สิ่งหนึ่งที่ทำให้ราชวงศ์ถังของจีนต่างจากราชวงศ์อื่น ๆ ได้แก่ การเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมที่เพิ่มขึ้น มีชุดการทดสอบซึ่งสามารถเข้ารับเพื่อให้ยกสถานภาพทางสังคม แทนที่จะสงวนตำแหน่งระดับสูงไว้สำหรับชนชั้นผู้ดีโดยเฉพาะ คนยากจนสามารถเข้าถึงตำแหน่งดังกล่าวได้ง่ายขึ้น ในมองโกเลีย บุคคลสามารถได้ยศในกองทัพได้ผ่านทักษะทางทหารเพราะสังคมตั้งอยู่บนทักษะทางทหาร ในอารยธรรมตะวันตก การเปลี่ยนสถานภาพทางสังคมเป็นไปได้ยากกว่า

อารยธรรมตะวันตกและตะวันออกมีความแตกต่างทางการเมืองเพราะสามัญชนในอารยธรรมตะวันออกไม่พอใจกับผู้นำของตนเสมอไป แม้อารยธรรมตะวันตกมีผู้ปกครองมากมายในช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ไม่มีความไม่สงบในหมู่ประชาชน อารยธรรมตะวันออกมีกบฎและช่องว่างยาวระหว่างผู้ปกครองที่ทำให้เกิดความไม่สงบ ระหว่างสงครามใหญ่ในคริสต์ศตวรรษที่ 14 และ 15 ประเทศอังกฤษมีการแย่งชิงบัลลังก์ซึ่งทำให้เกิดการนองเลือดหลายครั้ง ประเทศฝรั่งเศสก็มีปัญหาในการปกครองของตนเช่นกัน ตลอดเวลาดังกล่าว ประเทศอังกฤษยังสามารถต่อสู้ชาวฝรั่งเศสและเกือบชนะสงครามร้อยปี ในอารยธรรมตะวันออก รัฐบาลไม่มั่นคงเสมอไป[8] ในประเทศจีน เหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดเหตุการณ์หนึ่งเกิดระหว่างราชวงศ์ถัง กบฏอันลูซันแสดงถึงความไร้เสถียรภาพของรัฐบาลจีน[9]

ด้านเศรษฐกิจ อารยธรรมตะวันตกและตะวันออกแตกต่างกันมากเพราะวิธีทำกินต่างกัน ในประเทศจีน ปัจจัยทางเศรษฐกิจสำคัญหนึ่งคือการค้า ประเทศจีนเชื่อมโยงกับทวีปยุโรปผ่านเส้นทางสายไหม ซึ่งเป็นชุดเส้นทางการค้าจากเอเชียตะวันออกสู่ทวีปยุโรป เส้นทางสายไหมไม่ได้ใช้ค้าขายสินค้าเท่านั้น แต่ยังเป็นทางแลกเปลี่ยนสำหรับความคิดหรือศาสนาด้วย ชาวอังกฤษใช้ระบบเจ้าขุนมูลนายแบบพิเศษเรียก ระบบเจ้าขุนมูลนายปลอม (bastard feudalism)[10] ระบบนี้ซึ่งโดดเด่นในสงครามดอกกุหลาบ แตกต่างจากระบบเจ้าขุนมูลนายปกติเพราะระบบริเริ่มเงินเข้าสู่ลำดับชั้นทางสังคม[11] [12] ขุนนางสามารถจ่ายเงินอัศวินสำหรับการรับใช้แทนการมอบที่ดิน การนี้ทำให้ระบบเจ้าขุนมูลนายเข้มแข็งขึ้นเพราะหากมีผู้ปกครองอ่อนแอ รัฐบาลขุนนางใหม่ที่เข้มแข็งจะสนับสนุนประชาชน ขุนนางบริติชยังสร้างมหากฎบัตรเพื่อลดพระราชอำนาจอีก การนำเงินเข้าสู่ระบบชนชั้นเปลี่ยนแปลงวิธีการปกครองของอังกฤษและทำให้มันต่างจากอารยธรรมตะวันออกมาก[13]