ทะเลสาบโตบา
ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา

ทะเลสาบโตบา (อินโดนีเซีย: Danau Toba) เป็นทะเลสาบและซูเปอร์วอลเคโน มีความยาว 100 กิโลเมตร กว้าง 33 กิโลเมตร จุดที่ลึกที่สุดลึก 505 เมตร ตั้งอยู่ที่ทางเหนือของเกาะสุมาตราในอินโดนีเซีย ที่ระดับความสูง 900 เมตร พิกัดตั้งแต่ 2°53′N 98°31′E / 2.88°N 98.52°E / 2.88; 98.52 ถึง 2°21′N 99°06′E / 2.35°N 99.1°E / 2.35; 99.1 เป็นทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดในอินโดนีเซีย และเป็นทะเลสาบปล่องภูเขาไฟที่ใหญ่ที่สุดในโลก[1]ทะเลสาบโตบาเคยเป็นสถานที่เกิดเหตุซูเปอร์วอลเคโนปะทุเมื่อประมาณ 69,000-77,000 ปีก่อน[2][3][4] ซึ่งเป็นการปะทุครั้งใหญ่ที่ทำให้ภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง โดยถูกประมาณให้อยู่ที่ระดับ 8 ของดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ และเป็นเหตุระเบิดครั้งใหญ่ที่สุดเท่าที่ค้นพบในรอบ 25 ล้านปีที่ผ่านมา ตามทฤษฎีมหันตภัยโตบาแล้ว การปะทุครั้งนั้นส่งผลกระทบไปทั่วโลก มนุษย์ส่วนใหญ่ในขณะนั้นเสียชีวิต และเกิดภาวะคอขวดทางประชากรในแอฟริกาตะวันออกตอนกลางและอินเดีย ซึ่งส่งผลต่อการสืบทอดทางพันธุกรรมของมนุษย์ทุกคนในปัจจุบัน[5] อย่างไรก็ตาม สมมุติฐานนี้ไม่เป็นที่ยอมรับอย่างแพร่หลายเนื่องจากขาดหลักฐานที่แสดงถึงการเสียชีวิตหมู่หรือสูญพันธุ์ของสัตว์ชนิดอื่น แม้แต่สัตว์ที่อ่อนไหวต่อสภาพแวดล้อม[6] กระนั้นก็เป็นที่ยอมรับกันว่า การปะทุของโตบาได้ทำให้เกิด ฤดูหนาวภูเขาไฟ โดยอุณหภูมิทั่วโลกลดลง 3-5 °C แต่ในละติจูดที่สูงนั้นลดลงถึง 15 °C

ทะเลสาบโตบา

พื้นน้ำ 1,130 กม² (440 ไมล์²)
ลึกสุด 505 เมตร (1,660 ฟุต)[1]
แหล่งน้ำไหลออก แม่น้ำอาซาฮัน
อ้างอิง [1]
เกาะ ซาโมซีร์
พิกัด 2°41′04″N 98°52′32″E / 2.6845°N 98.8756°E / 2.6845; 98.8756พิกัดภูมิศาสตร์: 2°41′04″N 98°52′32″E / 2.6845°N 98.8756°E / 2.6845; 98.8756
สูงจากระดับน้ำทะเล 905 เมตร (2,970 ฟุต)
ที่ตั้ง สุมาตราเหนือ อินโดนีเซีย
ชนิด Volcanic/ tectonic
ช่วงกว้างสุด 30 กิโลเมตร (19 ไมล์)
ปริมาณน้ำ 240 ลูกบาศก์กิโลเมตร
ช่วงยาวสุด 100 กิโลเมตร (62 ไมล์)
ประเทศในลุ่มน้ำ อินโดนีเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทะเลสาบโตบา http://ice2.uab.cat/argo/Argo_actualitzacio/argo_b... http://www.bradshawfoundation.com/evolution/ http://www.indonesianmusic.com/batak.htm http://magma.nationalgeographic.com/ngm/0503/resou... http://www.volcanodiscovery.com/volcano-tours/volc... http://adsabs.harvard.edu/abs/1978Natur.276..574N http://adsabs.harvard.edu/abs/1991Geo....19..200C http://adsabs.harvard.edu/abs/1993QuRes..40...10A http://adsabs.harvard.edu/abs/1993QuRes..40..269R http://adsabs.harvard.edu/abs/1996GeoRL..23..837Z