ธุรกิจ ของ ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ

ธุรกิจของบริษัทคือการให้บริการทางพิเศษและระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า รวมถึงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ที่เกี่ยวเนื่องกับระบบทางพิเศษ และรถไฟฟ้า[1] แบ่งออกเป็น 4 ธุรกิจหลัก

  1. ธุรกิจทางพิเศษ บริษัทและบริษัทย่อย คือ บริษัท ทางด่วนกรุงเทพเหนือ จำกัด เป็นผู้รับสัมปทานในการก่อสร้างและ บริหารทางพิเศษประกอบด้วย ทางพิเศษศรีรัช, ทางพิเศษสายศรีรัช-วงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร และทางพิเศษอุดรรัถยา
  2. ธุรกิจระบบราง เป็นผู้รับสัมปทานการให้บริการเดินรถในโครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล (สถานีหลักสอง-สถานีศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-สถานีท่าพระ) จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และเป็นผู้รับจ้างเดินรถไฟฟ้าอีกสองโครงการ คือ โครงการรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม ช่วงบางใหญ่-เตาปูน (สถานีคลองบางไผ่-สถานีเตาปูน) จากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.), โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จาก บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด
  3. ธุรกิจพัฒนาเชิงพาณิชย์ บริษัทและบริษัทย่อย คือ บริษัท แบงคอก เมโทร เน็ทเวิร์คส์ จำกัด (BMN) เป็นผู้ดำเนินธุรกิจพัฒนาเชิง พาณิชย์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ดำเนินการจัดหาหรือทำสื่อโฆษณาบริเวณรถไฟฟ้า รวมถึงให้เช่าพื้นที่ร้านค้าและให้บริการและดูแลรักษาอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมภายในสถานีรถไฟฟ้า
  4. การลงทุนในบริษัทอื่น บริษัทลงทุนในธุรกิจสาธารณูปโภค ได้แก่ บริษัท ซีเค พาวเวอร์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ทีทีดับบลิว จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ไซยะบุรี พาวเวอร์ จำกัด และธุรกิจโครงสร้างพื้นฐานทางระบบราง ได้แก่ กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร

ใกล้เคียง

ทางด่วนในประเทศไทย ทางด่วน ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ ทางด่วนในประเทศอินเดีย ทางด่วนย่างกุ้ง–มัณฑะเลย์ ทางด่วนชูโอ ทางด่วนกรุงเทพ ทางด่วนในประเทศกัมพูชา ทางด่วนโทเม ทางด่วนเค็นโอ