การอพยพมาจามแนวชายฝั่งของกลุ่มที่พูดภาษามอญ-เขมร ของ ที่มาของประชากรลาว

เช่นเดียวกับชาวขมุ กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร เป็นชนกลุ่มแรก ๆ ที่เข้ามาตั้งหลักแหล่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชนกลุ่มนี้คาดว่าแพร่กระจายเข้ามาในลาวในยุคโลหะ โดยมีเอกลักษณ์คือปลูกข้าว ตีโลหะ เลี้ยงสัตว์และพูดภาษากลุ่มมอญ-เขมร โดยเริ่มแพร่กระจายจากชายฝั่งตะวันออกไปตะวันตก แล้วจึงอพยพเข้าไปในแผ่นดิน คาดว่าขนกลุ่มนี้เข้าสู่ลาวทางตะวันตก โดยผ่านไทยและกัมพูชาเข้าไป

กลุ่มชาติพันธุ์ที่พูดภาษากลุ่มมอญ-เขมรในลาวได้แก่

  • ชาวอะเฮว 1,770 คนในแขวงจำปาศักดิ์
  • ชาวอาลัก 4,000 คนทางภาคใต้ของลาว
  • ชาวอะเรมประมาณ 500 คน
  • ชาวบอ 2,950 คน
  • ชาวบรู 69,000 คน
  • ชาวชัต 450 คนในแขวงคำม่วน
  • ชาวฮลังดวนในแขวงอัตตะปือ และบนที่ราบสูงกัสเซง
  • ชาวฮุง 2,000 คนในแขวงบอลิคำไซและแขวงคำม่วน
  • ชาวอิร 4,420 คนในแขวงสาละวัน
  • ชาวเจ๊ะห์ 8,013 คนในภาคใต้ของลาว
  • ชาวเจ็ง 7,320 คนในแขวงอัตตะปือ
  • ชาวกัสเซง 6,000 คนในภาคใต้ของลาว
  • ชาวกาตัง 107,350 คนในลาว
  • ชาวกะตู 14,700 คน
  • ชาวคลอร์ 6,000 คน
  • ชาวเขมร 10,400 คน
  • ชาวคัว 2,000 คน
  • ชาวกรี ชาวกุย 51,180 คน
  • ชาวลาแวหรือชาวเบรา
  • ชาวลาเว 12,750 คน
  • ชาวลาเว็น 40,519 คน
  • ชาวลาวี
  • ชาวมาเล็ง 800 คน
  • ชาวมอญ
  • ชาวแง 12,189 คน
  • ชาวเงือน
  • ชาวญาเฮือน
  • ชาวโอง
  • ชาวโอย
  • ชาวปาโกะห์
  • ชาวพอง
  • ชาวซาดัง
  • ชาวซาลัง
  • ชาวซาปวน
  • ชาวซิงมุน
  • ชาวมากอง
  • ชาวโสก
  • ชาวซู
  • ชาวซูเอย
  • ชาวตาเลียง
  • ชาวตะโอย
  • ชาวแท
  • ชาวตุม
  • ชาวเวียดนาม 76,000 คน
  • ชาวแยะ