สิ่งสืบเนื่อง ของ ท้าวทองกีบม้า_(มารี_กีมาร์)

ปกนิยายเรื่อง "ท้าวทองกีบม้า" โดยคึกเดช กันตามระ สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าทำขึ้น

เมื่อครั้งที่ท้าวทองกีบม้า เข้ารับราชการในห้องเครื่องต้น กำกับเครื่องชาวพนักงานหวานในพระราชวัง ก็ได้สร้างสรรค์ขนมหวานหลายชนิด โดยดัดแปลงมาจากตำรับอาหารโปรตุเกสให้เป็นขนมหวานของไทย โดยผสมผสานความรู้ด้านการทำอาหารที่มีมาแต่เดิมมารวมเข้ากับวัตถุดิบที่มีในท้องถิ่น ทั้งยังสอนความรู้ดังกล่าวแก่เหล่าสตรีในบัญชา จนตำรับเป็นที่เผยแพร่โดยทั่วไปและตกทอดสู่อนุชนรุ่นหลัง[29] ถือเป็นหนึ่งในวัฒนธรรมโปรตุเกสที่แพร่เข้าสู่สังคมไทย[30] ด้วยเหตุนี้ท้าวทองกีบม้าจึงได้การยกย่องให้เป็น "ราชินีแห่งขนมไทย"[3][31] โดยขนมที่เชื่อว่าท้าวทองกีบม้าได้ดัดแปลงเป็นขนมหวานของไทยนั้น มีดังต่อไปนี้[32][33]

  1. ทองม้วน
  2. ทองหยิบ
  3. ทองหยอด
  4. ทองพลุ
  5. ทองโปร่ง
  6. ฝอยทอง[34]
  7. กะหรี่ปั๊บ
  1. ขนมหม้อแกง
  2. สังขยา
  3. ขนมผิง
  4. สัมปันนี
  5. ขนมขิง
  6. ขนมไข่เต่า
  7. ลูกชุบ

ขณะที่เรโกะ ฮาดะ สตรีชาวญี่ปุ่นเชื้อสายโปรตุเกส ได้เขียนบทความชื่อ Madame Marie Guimard Under the Ayudhya Dynasty of the Seventeenth Century ลงในวารสารสยามสมาคม เสนอว่า ท้าวทองกีบม้าได้สูตรทำขนมดังกล่าวมาจากมารดาซึ่งเป็นชาวญี่ปุ่น เพราะก่อนหน้านี้ชาวโปรตุเกสได้เข้าไปในประเทศญี่ปุ่นและเผยแพร่การทำขนมโปรตุเกสแก่ชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันขนมญี่ปุ่นชนิดหนึ่งที่มาจากตำหรับโปรตุเกสมีลักษณะเหมือนฝอยทอง ยังคงทำอยู่ที่เคียวโตะและคีวชูในปัจจุบัน[35]

แต่ในทางตรงกันข้าม ปรีดิ พิศภูมิวิถี อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้คัดค้านเรื่องท้าวทองกีบม้าดัดแปลงให้เป็นขนมหวานของไทย โดยให้เหตุผลว่า ขนมโปรตุเกสเหล่านี้แพร่หลายมาพร้อม ๆ กับกลุ่มชนเชื้อสายโปรตุเกสที่เข้ามาพำนักในกรุงศรีอยุธยามากว่า 150 ปีก่อนที่ท้าวทองกีบม้าจะเกิดเสียอีก ทั้งยังไม่มีหลักฐานเพียงพอว่านางได้ผลิตขนมดังกล่าวจริง ดังนั้นความคิดที่ว่าท้าวทองกีบม้าเป็นผู้ผลิตขนมหวานที่รับอิทธิพลโปรตุเกสได้เป็นคนแรกจึงเป็นเรื่องที่ผิด[4]

สัญลักษณ์ของขนมหวานไทย

จากการที่ท้าวทองกีบม้า เป็นชาวไทยที่เกิดจากชุมชนลูกครึ่งในกรุงศรีอยุธยาที่มีเชื้อสายทั้งญี่ปุ่นและโปรตุเกส ทั้งยังมีชื่อเสียงด้านขนมหวานของไทยจนเป็นสัญลักษณ์ของขนมหวานไทย[36] เรื่องราวของนางได้ถูกหยิบยกมาเป็นหนึ่งของการจัดนิทรรศการระหว่างประเทศ เช่น

ในปี พ.ศ. 2550 มีการจัดเทศกาลไทย ครั้งที่ 8 ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น มีการจัดซุ้มสาธิตหัตถกรรมการทำขนมไทย ได้นำเรื่องราวของท้าวทองกีบม้าซึ่งมีเชื้อสายญี่ปุ่นที่มาเผยแพร่วัฒนธรรมด้านการประดิษฐ์ขนมหวานของไทย[37] และในปี พ.ศ. 2555 มิวเซียมสยามได้จัดนิทรรศการพิเศษชุด "Olá Sião 500 ปี ไทย-โปรตุเกส" อันเป็นนิทรรศการเกี่ยวกับความสัมพันธ์และการเข้ามาของชาวโปรตุเกสตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งนี้มีการจัดห้องของท้าวทองกีบม้าโดยเฉพาะ ซึ่งมีนักแสดงรับบทเป็นท้าวทองกีบม้า คอยบอกเล่าเรื่องราวของขนมหวานที่เกิดจากการผสมผสานของวัฒนธรรมไทยและโปรตุเกส ที่ดัดแปลงและใช้วัตถุดิบภายในประเทศคือ แป้ง, น้ำตาล และไข่[38][39]

ใกล้เคียง

ท้าวทองกีบม้า (มารี กีมาร์) ท้าวทรงกันดาล (หุ่น) ท้าวทศรถ ท้าวทรุปัท ท้าวสุรนารี ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ท้าวเวสวัณ ท้าวนาง ท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) ท้าวกุเวร

แหล่งที่มา

WikiPedia: ท้าวทองกีบม้า_(มารี_กีมาร์) http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-sty... http://books.google.com/books?id=QKgraWbb7yoC&pg=P... http://books.google.com/books?id=X9LXYwu7G50C&pg=P... http://books.google.com/books?id=cf4EAAAAMAAJ&q=%2... http://www.guideatbangkok.com/%E0%B9%80%E0%B8%8A%E... http://jat-languagecafe.com/newsite/music/display.... http://www.meechaithailand.com/ver1/?module=2&acti... http://www.lib.ru.ac.th/journal/kanom.html http://utcc2.utcc.ac.th/faculties/comarts/webjrsho... http://www.dailynews.co.th/Content/Article/61510/%...