ศัพทวิทยาการแบ่งเวลาตามมาตรธรณีกาล ของ ธรณีกาล

การแบ่งเวลาตามมาตรธรณีกาล ตั้งแต่บรมยุคฮาเดียนจนถึงสมัยโฮโลซีน

หน่วยการแบ่งธรณีกาลที่ใหญ่ที่สุดคือ บรมยุค (Eons) เริ่มจากบรมยุคเฮเดียน (Hadean), อาร์เคียน (Archean), โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic) และพาเนอโรโซอิก (Phanerozoic) บรมยุคสามบรมยุคแรกสามารถจัดเป็นกลุ่มใหญ่เรียกว่า อภิมหาบรมยุคพรีแคมเบรียน (Precambrian) บรมยุคสามารถย่อยลงมาเป็น มหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และอายุ (Age) อาทิเช่น ปัจจุบัน อยู่ในบรมยุคพาเนอโนโซอิก (Phanerozoic Eons) มหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Era) ยุคควอเทอร์นารี (Quaternary Period) สมัยโฮโลซีน (Holocene Epoch) และช่วงอายุเมฆาลายัน (Meghalayan Age)

เส้นเวลาสี่เส้นด้านล่างแสดงถึงมาตรเวลาธรณีกาล เส้นแรกแสดงถึงเวลาทั้งหมดในประวัติศาสตร์โลกตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน แต่การแสดงเส้นเวลาแบบนี้จะทำให้มหายุคพาเนอโรโซอิกที่ใกล้เคียงกับปัจจุบันมีขนาดเล็กจนไม่สามารถแยกมหายุคได้ ดังนั้นเส้นเวลาที่สองแสดงให้เห็นมหายุคปัจจุบันในมุมมองที่ใหญ่ขึ้น ในเส้นเวลาที่สามแสดงยุคต่าง ๆ ในมหายุคซีโนโซอิกหลังการสูญพันธ์ของไดโนเสาร์ และเส้นเวลาที่สี่แสดงสมัยต่าง ๆ ในยุคควอเทอร์นารีที่เป็นยุคสมัยของเผ่าพันธุ์มนุษย์

นักธรณีวิทยาใช้หน่วย "ตอนต้น (Early)", "ตอนกลาง(Mid)", "ตอนปลาย(Late)" เมื่อกล่าวถึงช่วงเวลาในประวัติศาสตร์โลก และคำว่า "ล่าง(Lower)", "กลาง(Middle)", "บน(Upper)" เมื่อกล่าวถึงหินและชั้นหิน ยกตัวอย่างเช่น จูราสสิล่าง (Lower Jurassic Epoch) หมายถึง ยุคจูราสสิกตอนต้น (Early Jurassic Epoch)