ตารางธรณีกาล ของ ธรณีกาล

ตารางด้านล่างแสดงถึงมาตรธรณีกาลเริ่มตั้งแต่ปัจจุบัน ย้อนไปจนถึงการก่อตัวของดาวเคราะห์โลกเมื่อ 4.6 พันล้านปีก่อน แบ่งเป็นมหายุค (Era) ยุค (Period) สมัย (Epoch) และอายุ (Age) ตามหลักมาตรธรณีกาล (GTS) ของคณะทำงานการลำดับชั้นหินสากล (International Commission on Stratigraphy: ICS) มีการแบ่งสีตามหลักของ ICS เริ่มตั้งแต่การกำเนิดโลกในบรมยุคเฮเดียนจนถึงช่วงอายุเมฆาลายันในปัจจุบัน

อภิมหาบรมยุค (Supereon)บรมยุค (Eon)มหายุค (Era)ยุค (Period)สมัย (Epoch)ช่วงอายุ (Age)เหตุการณ์สำคัญเริ่มต้น, ล้านปีที่แล้ว
n/a[lower-alpha 1]ฟาเนอโรโซอิก (Phanerozoic)ซีโนโซอิก (Cenozoic)ควอเทอร์นารี (Quaternary)โฮโลซีน

(Holocene)

เมฆาลายัน (Meghalayan)ยุคน้ำแข็งเล็ก (Little Ice Age)ในยุคนี้มีแผ่นน้ำแข็งอยู่แถบขั้วโลกกเหนือและขั้วโลกใต้ มีการเพิ่มขึ้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรจากาศจากกิจกรรมทางอุตสาหกรรมของมนุษย์0.0042
นอร์ธกริปเปียน

(Northgrippian)

8,200 ก่อน มีช่วงเวลาที่อากาศอบอุ่นมากที่สุดในยุคโฮโลซีน เรียกว่า Holocene Climatic Optimum0.0082
กรีนแลนด์เดียน

(Greenlandian)

เริ่มต้นช่วงอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งที่เริ่มขึ้นเมื่อ 11,700 ปีก่อน น้ำทะเลเข้าท่วมดอกเกอร์แลนด์ (Doggerland) แถบทะเลยุโรปเหนือ และซุนดาแลนด์ (Sundaland) ในคาบสมุทรอินโดจีน ทะเลทรายซาฮาร่าเริ่มก่อตัว เริ่มต้นการกสิกรรมยุคหินใหม่ (Neolithic) จุดกำเนิดของอารยธรรมมนุษย์0.0117
ไพลสโตซีน (Pleistocene)ไพลสโตซีนตอนปลาย

(Late Pleistocene)

ช่วงเวลาอบอุ่นระหว่างยุคน้ำแข็งอีเมียน (Eemian Interglacial) เป็นยุคน้ำแข็งยุคสุดท้าย มีการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟทะเลสาบโทบาบนเกาะสุมาตรา ทำให้เกิดการสูญพันธ์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ และประชากรมนุษย์ลดลงเหลือหลักพัน0.126
ชิบาเนียน

(Chibanian)[2]

เป็นช่วงเวลาอุณภูมิลดลงมากที่สุดในช่วงยุคน้ำแข็ง และมนุษย์โฮโมเซเปียน (Homo Sapiens) ถือกำเนิดในทวีปแอฟริกา0.781
คาลาเบรียน

(Calabrian)

อุณหภูมิโลกลดลงอย่างต่อเนื่อง โฮโมอีเร็กตัส (Homo erectus) ขยายดินแดนไปทั่วแอฟริกา เอเชีย และยุโรป1.8*
เจลาเซียน

(Gelasian)

เริ่มต้นยุคน้ำแข็งในสมัยควอเทอร์นารี สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดยักษ์เริ่มมีการปรากฏบนโลก และมนุษย์โฮโมฮาบิลิส (Homo habilis) ถือกำเนิดในแอฟริกา2.58*
นีโอจีน (Neogene)พลิโอซีน (Pliocene)ปีอาเซนเซียน

(Piacenzian)

แผ่นน้ำแข็งกรีนแลนด์เริ่มก่อตัว มนุษย์วานรออสตราโลพิเทคัส (Australopithecus) มีการกระจายตัวทั่วทวีปแอฟริกา3.6*
แซนเคลียน

(Zanclean)

น้ำท่วมครั้งใหญ่ (Zanclean flooding) ในที่ราบเมดิเตอร์เรเนียน อุณหภูมิเริ่มลดต่ำลง วานรอาร์ดิพิเธคัส (Ardipithecus) อาศัยในทวีปแอฟริกา5.333*
ไมโอซีน (Miocene)แมซซิเนียน

(Messinian)

เหตุการณ์ Messinian ที่มีทะเลสาบเกลือ (Hypersaline lake) ในลุ่มน้ำทะเลเมดิเตอร์เรเนียนอันว่างเปล่า สภาพภูมิอากาศเย็นยะเยือกในระดับปานกลาง คั่นด้วยยุคน้ำแข็งหลายครั้งและการขยายตัวของแผ่นน้ำแข็งทางตะวันออกของทวีปแอนตาร์กติกา มนุษย์วานร Sahelanthropus tchadensis อาศัยอยู่ในแอฟริกา และช่วงเวลานี้เป็นยุคที่บรรพบุรุษของมนุษย์แยกสายออกมาจากลิงซิมแปนซี7.246*
ตอร์โตเนียน

(Tortonian)

11.63*
เซอร์ร่าวาเลียน

(Serravallian)

ช่วงอายุนี้เป็นช่วงอายุที่มีอุณภูมิเฉลี่ยมากที่สุดในสมัยไมโอซีน เรียกว่า middle Miocene climate optimum.[3] และมีการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตในเหตุการณ์ที่เรียกว่า middle Miocene disruptionซึ่งเกิดจากสภาพอากาศที่ร้อนขึ้นและกระแสน้ำทะเลที่เปลี่ยนไป13.82*
ลางเกียน

(Langhian)

15.97
เบอร์ดิกาเลียน

(Burdigalian)

ผืนป่าที่กระจายตัวทั่วโลกดึงคาร์บอนไดออกไซด์จำนวนมาก จนปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์ค่อยๆลดระดับลง จาก 650 ppmv ลงเหลือประมาณ 100 ppmv ในช่วงยุคไมโอซีน สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและนกเริ่มจะเหมือนกับสายพันธุ์ในปัจจุบัน มีม้าและแมสโตดอนสายพันธุ์ใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก หญ้ากลายเป็นพืชที่แพร่หลาย บรรพบุรุษของร่วมของวานรทุกชนิดอาศัยอยู่ในยุคนี้ ณ ทวีปแอฟริกา20.44
อาคิเทเนียน

Aquitanian

23.03*
พาลีโอจีน (Paleogene)โอลิโกซีน (Oligocene)ชาเชียน

(Chattian)

ยุคนี้มีการสูญพันธุ์ในสัตว์ทะเลที่เรียกว่า Eocene–Oligocene extinction event แผ่นน้ำแข็งขั้วโลกใต้เริ่มขยายตัว มีการแตกสายพันธุ์ใหม่จำนวนมากของสัตว์เลี้ยวลูกด้วยนม พืชดอกมีการวิวัฒนาการเพิ่มเติมจนคล้ายกับพืชดอกในปัจจุบัน28.1
รูเพเลียน

(Rupelian)

33.9*
อีโอซีน (Eocene)ไพรอาโบเนียน

(Priabonian)

ภูมิอากาศอากาศเย็นปานกลาง สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมโบราณ (เช่น Creodonts, "Condylarths", Uintatheres ฯลฯ ) เจริญรุ่งเรืองในช่วงยุคนี้ รูปร่างของตระกูลสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีในปัจจุบันเริ่มปรากฏ สายพันธุ์วาฬโบราณเกิดความหลากหลายในยุคนี้ มีการก่อตัวของแผ่นน้ำแข็งถาวรในแอนตาร์กติกา เทือกเขาเฮเลนนิกก่อตัวขึ้นในกรีซและทะเลอีเจียน37.8
บาร์โทเนียน

(Bartonian)

41.2
ลูเทเลียน

(Lutetian)

47.8*
อิพรีเชียน

(Ypresian)

มีเหตุการณ์ภาวะโลกร้อนขึ้นสองครั้ง (PETM และ ETM-2) มีภูมิอากาศร้อน เรียกช่วงอายุนี้ว่า Eocene Climatic Optimum. เนื่องจากมีอุณภูมิเฉลี่ยสูงสุดในสมัยอีโอซีน เกิดเหตุการณ์ที่เรียกว่า Azolla event ที่เฟิร์น Azolla ดูดซับ CO2 ในอากาศทำให้เหลือปริมาณคาร์บอนไดออกไซด์จาก 3500 ppm เหลือเพียง 650 ppm เป็นจุดเริ่มต้นของการเย็นตัวลงของภูมิอากาศที่กินระยะเวลายาวนานตั้งแต่ปลายยุคอิพรีเชียน 49 ล้านปีก่อน อนุทวีปอินเดียชนเข้ากับทวีปเอเชียทำให้เกิดเทือกเขาหิมาลัยขึ้น56*
พาลีโอซีน (Paleocene)ธาเนเทียน

(Thanetian)

ยุคนี้เริ่มต้นนับจากเหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน (Cretaceous–Paleogene extinction event: K-T extinction event) ยุคนี้มีภูมิอากาศร้อนชื้น พืชยุคใหม่ถือกำเนิด สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมมีความหลากหลาย แทนที่ไดโนเสาร์ นกคือไดโนเสาร์ชนิดเดียวที่หลงเหลือมาในยุคพาลีโอซีน สัตว์เลี้ยวลูกด้วยนมขนาดใหญ่เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกบนโลก เทือกเขาแอลป์เริ่มก่อตัวในยุโรป59.2*
เซอแลนเดียน (Selandian)61.6*
ดาเนียน (Danian)66*
มีโซโซอิก (Mesozoic)ครีเทเชียส (Cretaceous)ครีเทเชียสตอนปลาย

(Late Cretaceous)

มาสทริเชียน (Maastrichtian)พืชมีดอกขยายพันธุ์ไปทั่วโลก ส่งผลให้มีแมลงชนิดใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ปลาที่มีก้านครีบ (Teleost Fish) ซึ่งเป็นสปีชีส์ปลา 96% ในปัจจุบันปรากฏในมหายุคนี้ มีสัตว์กลุ่มแอมโมนอยด์, belemnites, rudist bivalves, เม่นทะเล และฟองน้ำอาศัยอยู่ในทะเลทั่วโลก มีไดโนเสาร์พันธุ์ใหม่อุบัติขึ้น (อาทิ Tyrannosaurs, Titanosaurs, Hadrosaurs, และ Ceratopsids) โมซาซอรัส (Mosasaurs) และฉลามยุคใหม่เริ่มปรากฏ นกมีฟัน, ไร้ฟัน และเทอร์โรซอร์ (Pterosaur) อาศัยอยู่ร่วมกันบนท้องฟ้า สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่ออกลูกเป็นไข่, เป็นตัว และในกระเป๋าหน้าท้องปรากฏในยุคนี้ ทวีปกอนวานาแตกตัวออก มีการก่อตัวของเทือกเขาร็อคกี้ ระดับคาร์บอนไดออกไซด์มีเท่ากับปัจจุบัน มหายุคนี้จบลงด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของไดโนเสาร์ทั้งหมดที่ไม่ใช่นก (Non-avian dinosaur) เรียกว่า เหตุการณ์การสูญพันธุ์ยุคครีเทเชียส–พาลีโอจีน (Cretaceous–Paleogene extinction event: K-T extinction event) กวาดล้างสิ่งมีชีวิตไปกว่า 70% ของสปีชีส์ทั้งหมด สันนิษฐานว่าเกิดจากการพุ่งชนของอุกกาบาตขนาดใหญ่ในคาบสมุทคยูกาตัน อ่าวเม็กซิโก72.1 ± 0.2*
คัมปาเนียน (Campanian)83.6 ± 0.2
ซานโตเนียน (Santonian)86.3 ± 0.5*
โคเนียเซียน (Coniacian)89.8 ± 0.3
ทูโรเนียน (Turonian)93.9*
ซีโนมาเนียน (Cenomanian)100.5*
ครีเตเชียสตอนต้น

(Early)

อัลเบียน

(Albian)

~113
อัปเทียน

(Aptian)

~125
บาร์เรมเมียน

(Barremian)

~129.4
เฮาเทริเวียน

(Hauterivian)

~132.9
เวลังจิเนียน

(Valanginian)

~139.8
เบอร์เรียเชียน

(Berriasian)

~145
จูแรสซิก (Jurassic)จูแรสซิกตอนปลาย

(Late Jurassic)

ทิโธเนียน

(Tithonian)

พืชเมล็ดเปลือย (gymnosperm) โดยเฉพาะต้นสน, Bennettitales, ปรง และเฟิร์นกระจายตัวอยู่ทั่วโลก  ไดโนเสาร์หลายชนิดเช่น Sauropods, Carnosaurs และ Stegosaurs มีจำนวนมากทั่วทุกมุมโลก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมพบได้ทั่วไป แต่มีขนาดเล็ก นกและกิ้งก่าถือกำเนิดขึ้น สัตว์เลื้อยคลานในทะเลจำพวก Ichthyosaurs และ plesiosaurs ถือกำเนิดขึ้น ในทะเลมีสัตว์จำพวก Bivalves, Ammonites, belemnites, เม่นทะเล, crinoids, ปลาดาว, ฟองน้ำ, terebratulid และ rhynchonellid brachiopods อยู่จำนวนมาก มหาทวีปแพนเจีย (Pangea supercontinent) แตกตัวออกเป็นทวีปกอนวาน่า (Gondwana) และลอเรเชีย (Laurasia) ระดับ CO2 ในบรรยากาศมีปริมาณเป็น 3-4 เท่า เทียบกับยุคปัจจุบัน152.1 ± 0.9
คิมเมอริดเจียน

(Kimmeridgian)

157.3 ± 1.0
อ็อกฟอร์เดียน

(Oxfordian)

163.5 ± 1.0
จูแรสซิกตอนกลาง

(Middle Jurassic)

คัลโลเวียน

Callovian)

166.1 ± 1.2
บาโธเนียน

(Bathonian)

168.3 ± 1.3*
บาจอเชียน

(Bajocian)

170.3 ± 1.4*
อาเลเนียน

(Aalenian)

174.1 ± 1.0*
จูแรสซิกตอนต้น

(Early Jurassic)

โทอาร์เชียน

(Toarcian)

182.7 ± 0.7*
ไพเลนส์เบเชียน

(Pliensbachian)

190.8 ± 1.0*
ไซเนมูเรียน

(Sinemurian)

199.3 ± 0.3*
เฮทเทนเจียน

(Hettangian)

201.3 ± 0.2*
ไทรแอสซิก (Triassic)ไทรแอสซิกตอนปลาย (Late Triassic)เรเทียน

(Rhaetian)

อาร์โคซอร์เป็นสัตว์จำพวกหลักที่โครงโลกในยุคไทรแอสสิก บนแผ่นดิน คือ ไดโนเสาร์ และบนอากาศคือ เทอโรซอร์ ส่วนในทะเล Ichthyosaurs และ Nothosaurs ครองผืนน้ำ พวกสัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม (ซีแนปซิด) มีขนาดเล็กลง และมีลักษณะทางกายภาพคล้ายสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมจำพวกหนู กลายเป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดแรกของโลก และจระเข้ปรากฏขึ้นในยุคนี้ ต้น Dicroidiumflora มีอยู่มากบนแผ่นดิน แอมโมไนต์เริ่มมีมากในทะเล ปลายุคใหม่และปะการังยุคใหม่เริ่มถือกำเนิดขึ้น ไดโนเสาร์กลายเป็นสัตว์ที่ครองโลก แทนที่ซีแนปซิด และในปลายยุคเกิดเหตุการณ์สูญพันธุ์ครั้งใหญ่ชื่อว่า Triassic–Jurassic (Tr-J) extinction event ที่ทำให้ Therapsids และสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดยักษ์สูญพันธ์~208.5
นอเรียน

(Norian)

~227
นอเรียน

(Norian)

~237*
ไทรแอสซิกตอนกลาง (Middle Triassic)เลเดียน

(Ladinian)

~242*
อานิเชียน

(Anisian)

247.2
ไทรแอสซิกตอนต้น (Early Triassic)โคเลเนเคียน

(Olenekian)

251.2
อินดูอัน

(Induan)

252.17 ± 0.06*
พาลีโอโซอิก (Paleozoic)เพอร์เมียน (Permian)โลพินเจียน (Lopingian)ชางซิงเจียน

(Changhsingian)

แผ่นดินรวมกันเป็นมหาทวีปชื่อว่า แพนเจีย (Pangia supercontinent) ทำให้เกิดเทือกเขาอัลปาเลเชียน ยุคน้ำแข็ง Permo-Carboniferous glaciation สิ้นสุดลง สัตว์เลื้อยคลานคล้ายสัตว์เลี้ยวลูกด้วยนม หรือเรียกว่า ซีแนปซิด (Synapsids) มีอยู่จำนวนมาก หลากหลายสายพันธุ์ ถือเป็นสัตว์ที่ครองโลกในยุคนี้ ในช่วงกลางของยุคเพอร์เมียน พืชแบบเดิมได้ถูกแทนที่โดยพืชจำพวกสน แบบเมล็ดเปลือย เป็นพืชแบบแรกที่มีเมล็ดสมบูรณ์ กำเนิดมอสที่สมบูรณ์จำพวกแรก ด้วงและแมลงวันกำเนิดในยุคนี้ ยุคนี้จบลงด้วยการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์โลก เรียกว่า Permian-Triassic extinction event ที่ล้างลางสิ่งมีชีวิตไปมากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์บนโลก อาทิ ไตรโลไบต์, graptolites และ blastoids สันนิษฐานว่าเกิดจากการปะทุครั้งใหญ่ของภูเขาไฟขนาดยักษ์ (Supervolcano) ในพื้นที่ไซบีเรียในปัจจุบัน ทำให้อากาศเป็นพิษ และเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้น254.14 ± 0.07*
วูเชียพิงเจียน

(Wuchiapingian)

259.8 ± 0.4*
กัวเดลูเปียน

(Guadalupian)

คาฟิเทเนียน

(Capitanian)

265.1 ± 0.4*
วอร์เดียน

(Wordian)

268.8 ± 0.5*
โรเดียน

(Roadian)

272.3 ± 0.5*
ซิซูราเลียน (Cisuralian)คุนกูเรียน

(Kungurian)

283.5 ± 0.6
อาร์ทินส์เคียน

(Artinskian)

290.1 ± 0.26
ซัคมาเรียน

(Sakmarian)

295 ± 0.18
อัสเซเลียน

(Asselian)

298.9 ± 0.15*
คาร์บอนิเฟอรัส (Carboniferous)เพนซิลเวเนียน

(Pennsylvanian)

เจเลียน

(Gzhelian)

แมลงมีปีกมีการปรากฏขึ้นและขยายพันธุ์ทั่วโลกอย่างฉับพลันในยุคบาชคิเรียน แมลงมีขนาดใหญ่เนื่องจากปริมาณของออกซิเจนที่เพิ่มสูงอย่างมาก สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำมีความหลากหลายทางสปีชีส์ สัตว์เลี้ยวคลานถือกำเนิดขึ้น มีป่าต้นCordaites และเฟิร์นจำนวนมาก ที่กลายสภาพทับถมเป็นถ่านหินในปัจจุบัน เนื่องจากไม่มีราที่ย่อยซากพืชในสมัยนี้ ปริมาณออกซิเจนมีมากที่สุดในยุคนี้ ปะการังกระจายตัวทั่วชายฝั่งเขตร้อนทั่วโลก303.7 ± 0.1
แคสซิโมเวียน

(Kasimovian)

307 ± 0.1
มอสโกเวียน

(Moscovian)

315.2 ± 0.2
บาชคิเรียน

(Bashkirian)

323.2 ± 0.4*
มิซซิสซิปเปียน

(Mississippian)

เซอร์ปูโคเวียน

(Serpukhovian)

ต้นไม้ดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ สัตว์มีกระดูกสันหลังตัวแรกบนแผ่นดิน แมงป่องครึ่งบกครึ่งน้ำอาศัยอยู่แถบชายฝั่งแนวปะการัง ฉลามโบราณมีจำนวนเยอะในมหาสมุทร เม่นทะเลมีปริมาณมาก ไทรโลไบต์เริ่มเหลืออยู่ไม่มากในทะเล330.9 ± 0.2
ไวชอน

(Viséan)

346.7 ± 0.4*
ทัวร์เนเซียน

(Tournaisian)

358.9 ± 0.4*
ดีโวเนียน (Devonian)ดีโวเนียนตอนปลาย (Late Devonian)ฟาเมนเนียน

(Famennian)

ต้นสามร้อยยอด (Clubmosses) และเฟิร์นปรากฏบนแผ่นดิน รวมถึงพืชเมล็ดเปลือยดึกดำบรรพ์ ต้นไม้ต้นแรก แมลงไร้ปีกชนิดแรก ในทะเลมี Strophomenid, atrypid brachiopods, rugose, tabulate corals, crinoids อย่างอุดมสมบูรณ์ ไทรโลไบต์เริ่มหายไป จากการเพิ่มขึ้นของปลามีกราม ปลาฉลามชนิดแรกถือกำเนิด372.2 ± 1.6*
ฟราสเนียน

(Frasnian)

382.7 ± 1.6*
ดีโวเนียนตอนกลาง (Middel Devonian)จิเวเทียน

(Givetian)

387.7 ± 0.8*
ไอเฟเลียน

(Eifelian)

393.3 ± 1.2*
ดีโวเนียนตอนต้น (Early Devonian)เอมเชียน

(Emsian)

407.6 ± 2.6*
ปราเกียน

(Pragian)

410.8 ± 2.8*
ลอชโคเวียน

(Lochkovian)

419.2 ± 3.2*
ไซลูเรียน (Silurian)พริโดลี

(Pridoli)

พืชมีท่อลำเลียงชนิดแรก (Rhyniophytes) เกิดขึ้นบนบก กิ้งกือชนิดแรกและ arthropleurids บนบก ปลามีกรามชนิดแรก ในทะเลมีปลากรามหุ้มเกราะจำนวนมาก แมงป่องในทะเลมีขนาดใหญ่ Tabulate และปะการังพรม, brachiopods (Pentamerida, Rhynchonellida, ฯลฯ ) และ crinoids อุดมสมบูรณ์ทั่วมหาสมุทร Trilobites และหมึกกระดอง (Mollusk) มีความหลากหลาย423 ± 2.3*
ลัดโลว

(Ludlow)

ลุดฟอร์เดียน

(Ludfordian)

425.6 ± 0.9*
กอร์สเทียน

(Gorstian)

427.4 ± 0.5*
เวนล็อก

(Wenlock)

โฮเมอเรียน

(Homerian)

430.5 ± 0.7*
เชียนวูดเดียน

(Sheinwoodian)

433.4 ± 0.8*
ลานโดเวอรี

(Llandovery)

เทลีเฮียน

(Telychian)

438.5 ± 1.1*
แอโรเนียน

(Aeronian)

440.8 ± 1.2*
รุดดาเนียน

(Rhuddanian)

443.8 ± 1.5*
ออร์โดวิเชียน (Ordovician)ออร์โดวิเชียนตอนปลาย (Ordovician)ไฮแมนเทียน

(Himantian)

สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังแตกสายพันธุ์ออกเป็นประเภทใหม่ ๆ (เช่นเซฟาโลพอดแบบเปลือกยาว) มีการปรากฏขึ้นของต้นปะการัง, brachiopods (Orthida Strophomenida ฯลฯ ), bivalves, nautiloids, trilobites, ostracods, bryozoa echinoderms หลายชนิด (อาทิ crinoids, cystoids, ปลาดาวและอื่น ๆ ) Conodonts (แพลงก์ตอนสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังสายพันธุ์แรก) บนแผ่นดินปรากฏพืชสีเขียวและเชื้อราขึ้นเป็นครั้งแรก ปลายสมัยเกิดยุคน้ำแข็ง445.2 ± 1.4*
เคเทียน

(Katian)

453 ± 0.7*
แซนด์เบียน

(Sandbian)

458.4 ± 0.9*
ออร์โดวิเชียนตอนกลาง (Middle Ordovician)แดริวิเลียน

(Darriwilian)

467.3 ± 1.1*
ตาพิงเจียน

(Dapingian)

470 ± 1.4*
ออร์โดวิเชียนตอนต้น (Early Ordovician)โฟลเอียน

(Floian)

477.7 ± 1.4*
เทรมาโดเชียน

(Tremadocian)

485.4 ± 1.9*
แคมเบรียน (Cambrian)ฟูโรงเจียน(Furongian)Stage 10เกิดความหลายหลายของสิ่งมีชีวิตครั้งใหญ่บนโลกฉับพลันอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน เรียกว่า การทวีชนิดพันธุ์สัตว์ยุคแคมเบรียน (Cambrian explosion) ค้นพบฟอสซิลจำนวนมากในยุคนี้ ไฟลัมของสัตว์ในยุคปัจจุบันหลายชนิดมีต้นกำเนิดจากบรรพบุรุษในยุคนี้ พบสัตว์มีกระดูกสันหลังตัวแรกของโลก (chordates) รวมไปถึงไฟลัมของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีสิ่งมีชีวิตชื่อ Archaeocyatha ที่มีลักษณะคล้ายปะการังจำนวนมากและสูญพันธุ์ในเวลาต่อมา มีสิ่งมีชีวิตจำพวกไทรโลไบต์ หนอนปล้อง ฟองน้ำ หอย และAnomalocarids ที่เป็นสัตว์กินเนื้อที่ขนาดใหญ่ที่สุดในยุคนี้ อีดีแอคารันสูญพันธุ์ทั้งหมด สิ่งมีชีวิตทั้งยูคาริโอตและโปรคาริโอตอยู่ร่วมกันเป็นจำนวนมาก และสืบสายพันธุ์มาจวบจนปัจจุบัน~489.5
เจียงชานเนียน (Jiangshanian)~494*
Paibian

(ไพเบียน)

~497*
เมียวลิงเจียน

(Miaolingian)

กูจางเจียน

(Guzhangian)

~500.5*
ดรูเมียน

(Drumian)

~504.5*
วูลิวเวียน (Wuliuan)~509
แคมเบรียนซีรีส์ 2

(Cambrian Series 2)

Stage 4~514
Stage 3~521
เทอร์เรนูเวียน

(Terreneuvian)

Stage 2~529
ฟอร์จูเนียน

(Fortunian)

~541 ± 1.0*
พรีแคมเบรียน (Precambrian)โพรเทอโรโซอิก (Proterozoic)นีโอโพรเทอโรโซอิก (Neoproterozoic)อีดีแอคารัน (Ediacaran)พบฟอสซิลชิ้นสมบูรณ์ของสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวเป็นครั้งแรก สิ่งมีชีวิตชื่อ Ediacaran biota เจริญเติบโตมากในทะเลทั่วโลก จึงเรียกมหายุคนี้ว่า อีดีแอคารัน จากชื่อของสิ่งมีชีวิตนึ้ พบฟอสซิลสิ่งมีชีวิตคล้ายหนอนชื่อ Trichophycus มีสิ่งมีชีวิตตัวอ่อนคล้ายแมงกระพรุนเกิดขึ้นในยุคนี้ อาทิ Dickinsonia~635*
ไครโอเจเนียน (Cryogenian)สันนิษฐานว่าโลกเข้าสู่ยุคน้ำแข็งครั้งใหญ่ (Cryogenian glaciation) เรียกว่า ทฤษฎีโลกลูกบอลหิมะ (Snowball Earth) มหาทวีปโรดีเนียแตกออกจากกัน~720[lower-alpha 2]
โทเนียน (Tonian)ทวีปกลับมารวมกันเป็นชิ้นเดียวชื่อ มหาทวีปโรดีเนีย (Rodinia supercontinent) มีการตรวจพบฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตยูคาริโอต (Eukaryotes) หลายชนิด ในรูปแบบของโปรโตซัว1000[lower-alpha 2]
มีโซโพรเทอโรโซอิก (Mesoproterozoic)สเทเนียน (Stenian)ในยุคนี้มีแบคทีเรียยูแคริโอตมากมาย และได้มีสัตว์หลายเซลล์ยุคแรกเกิดขึ้น ยังไมสามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ทวีปกลับมาเริ่มรวมกันเป็นผืนเดียวอีกครั้งเรียกว่า มหาทวีปโรดีเนีย (Rodinia supercontinent)1200[lower-alpha 2]
เอกเทเซียน (Ectasian)ลานทวีป (Platform covers) ขยายตัวออก สาหร่ายสีเขียวเริ่มโตในทะเล1400[lower-alpha 2]
คาลิมเมียน (Calymmian)ในยุคนี้มีสัตว์หลายเซลล์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก ในยุคนี้ยังไม่พบสิ่งมีชีวิตที่มองเห็นด้วยตาเปล่า และยังไม่พบสิ่งมีชีวิตใดๆ บนพื้นดิน สัตว์ในยุคนี้ส่วนใหญ่เป็นโพรทิสตา,โครมาลวีโอตาและจุลชีพอื่น ๆ มหาทวีปโคลัมเบียแตกออกจากกัน1600[lower-alpha 2]
แพลีโอโพรเทอโรโซอิก (Paleoproterozoic)สตาทีเรียน (Statherian)สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวซับซ้อน (Eukaryote) เกิดขึ้นครั้งแรกบนโลกโดยเป็นสิ่งมีชีวิตในอาณาจักรโปรติสต์ที่มีนิวเคลียส บนโลกมีทวีปเดียวชื่อว่า มหาทวีปโคลัมเบีย1800[lower-alpha 2]
ออโรซีเรียน (Orosirian)ชั้นบรรยากาศอุดมไปด้วยก๊าซออกซิเจน หลังยุคน้ำแข็งฮูโรเนียน2050[lower-alpha 2]
ไรเอเซียน (Rhyacian)ยุคน้ำแข็งฮูโรเนียน (Huronian glaciation) ทั่วโลกปกคลุมไปด้วยน้ำแข็งตั้งแต่ขั้วโลกจนถึงเส้นศูนย์สูตร2300[lower-alpha 2]
ไซดีเรียน (Siderian)วิกฤตการณ์ออกซิเจน (Oxygen catastrophe) เกิดจากการที่ไซยาโนแบคทีเรียที่สังเคราะห์แสง ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์และปล่อยก๊าซออกซิเจนมากเกินไปทำให้อุณหภูมิลดลงอย่างมาก และออกซิเจนที่เป็นพิษได้ล้างบางสิ่งมีชีวิตที่ไม่ใช้ออกซิเจนในการหายใจ (Anaerobic Bacteria) เกือบทั้งหมด เป็นการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตบนโลก เรียกว่า การเพิ่มของออกซิจนครั้งใหญ่ (Great Oxygenation Event: GOE) และเป็นจุดเริ่มต้นของยุคน้ำแข็งที่ปกคลุมทั้งโลก ที่เรียกว่ายุคน้ำแข็งฮูโรเนียน (Huronian glaciation)2500[lower-alpha 2]
อาร์เคียน (Archean)นีโออาร์เคียน (Neoarchean)ในยุคนี้มีโพรแคริโอตชนิดที่เป็นจุดเด่นคือ สโตรมาโตไลต์ ซึ่งเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ เป็น ออกซิเจน ทำให้มีออกซิเจนมากขึ้น แต่ยังไม่มาก เพียง 0.2%2800[lower-alpha 2]
มีโซอาร์เคียน (Mesoarchean)พบเจอฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่ (Macrofossil) เป็นครั้งแรก เป็นสิ่งมีชีวิตในกลุ่มสาหร่ายสีเขียวแกมน้ำเงินที่อยู่กันเป็นก้อน เรียกว่า สโตรมาโตไลต์ พบเป็นครั้งแรกในยุคนี้ สโตรมาโตไลต์ดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ แล้วเปลี่ยนให้เป็น ออกซิเจน ในทะเลมีสิ่งมีชีวิตประเภทอาร์เคีย และแบคทีเรียมากที่สุด3200[lower-alpha 2]
พาลีโออาร์เคียน (Paleoarchean)แบคทีเรียชนิดแรกที่ผลิตก๊าซออกซิเจน ฟอสซิลสิ่งมีชีวิตชิ้นแรกที่ได้รับการยืนยันอย่างแน่ชัด หลุมอุกกาบาตที่เก่าแก่ที่สุดบนโลก (อาทิ Canadian Sheild และ Pilbara)3600[lower-alpha 2]
อีโออาร์เคียน (Eoarchean)ค้นพบซอสซิลของสิ่งมีชีวิตเป็นครั้งแรก เรียกว่า Microfossil เป็นสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวที่มีโครงสร้างแบบโปรคาริโอต อาทิ แบคทีเรีย และอาร์เคีย จากการค้นพบในฟอสซิล สิ่งมีชีวิตเริ่มแรกเพิ่มจำนวนตัวเองด้วยโมเลกุล RNA นับเป็นจุดเริ่มต้นของบรมยุคอาร์เคียน ยุคที่มีสิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นบนดาวเคราะห์โลก~4000
เฮเดียน (Hadean)นีโอเฮเดียน

(Neohadean)

(ไม่เป็นทางการ)

มีหลักฐานของสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์จากสารที่พบในยุคนี้ เช่น สารเคโรเจน (Kerogen) ยุคนี้เป็นยุคการพุ่งชนจำนวนมากจากอุกกาบาตยุคหลัง (Late Heavy Bombardment) ในระบบสุริยะชั้นใน  อาจเกิดจากการย้ายวงโคจรของดาวเนปจูนไปสู่แถบไคเปอร์ (Kuiper Belt) จากการรีโซแนนซ์กันของดาวพฤหัสบดีและดาวเสาร์ มีการค้นพบหินที่อายุเก่าแก่ที่สุดในยุคนี้ (4,031 ถึง 3,580 ล้านปีก่อน)4130[4]
มีโซเฮเดียน

(Mesohadean)

(ไม่เป็นทางการ)

แผ่นเปลือกโลกเริ่มมีการแบ่งที่ชัดเจน หลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์จำนวนมากเกิดขึ้นในยุคนี้ มีการค้นพบสัญญานแรกของสิ่งมีชีวิตบนโลกจากไอโซโทปเบาของธาตุคาร์บอนซึ่งเป็นสัญญานที่บ่งบอกถึงการมีอยู่ของสิ่งมีชีวิต4280[4]
พาลีโอเฮเดียน

(Paleohadean)

(ไม่เป็นทางการ)

จุดจบของการพุ่งชนจำนวนมากของอุกกาบาตจากอวกาศ (Early Bombardment Phase) แร่ที่เก่าแก่ที่สุดก่อตัวในยุคนี้ (Zircon, 4,404 ± 8 ล้านปีก่อน)  ดาวหางเป็นสื่อกลางนำน้ำมายังโลก4533[4]
อีโอเฮเดียน

(Eohadean)

(ไม่เป็นทางการ)

ก่อนบรมยุคเฮเดียน 4,533 ถึง 4,527 ล้านปีก่อน มีการก่อตัวของดวงจันทร์ สมมุติฐานว่าเกิดจากการชนกันครั้งใหญ่ของโลกและดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวอังคารชื่อว่า เทีย (Thea) 4,570 ถึง 4,567 มีการก่อตัวของดาวเคราะห์โลกจากเศษหิน มีการพุ่งขนโดยอุกกาบาตและดาวหางจำนวนมากในยุคนี้ และ 4,680 ถึง 4,630 ล้านปีก่อน ดวงอาทิตย์ได้ก่อตัวขึ้นจากกลุ่มก๊าซ4567