งานด้านการเมือง ของ ธวัชวงศ์_ณ_เชียงใหม่

เจ้าธวัชวงศ์ ลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก ในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2529 แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง [3] ต่อมาได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดเชียงใหม่ ครั้งแรกในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 สังกัดพรรคกิจสังคม จากนั้นจึงย้ายมาร่วมงานกับพรรคความหวังใหม่ และได้รับเลือกต่อมาในการเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/1 การเลือกตั้ง พ.ศ. 2535/2 การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2538 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2539 ซึ่งเป็น ส.ส.ที่ได้รับคะแนนสูงที่สุด [4]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2547 ได้มีการเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดโดยตรงเป็นครั้งแรก และ เจ้าธวัชวงศ์ ได้รับการเลือกตั้งให้เป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ในครั้งนั้น โดยการสนับสนุนของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร และ พรรคไทยรักไทย แต่ในการเลือกตั้งครั้งต่อมาในปี พ.ศ. 2551 ได้ลาออกจากการเป็นสมาชิกพรรคไทยรักไทย และลงสมัครรับเลือกตั้งอีกสมัย แต่ไม่ได้รับการเลือกตั้ง จึงได้วางมือทางการเมืองชั่วคราว

เจ้าธวัชวงศ์ เข้ามามีบทบาททางการเมืองอีกครั้งเมื่อสนับสนุนภรรยา กิ่งกาญจน์ ณ เชียงใหม่ ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดเชียงใหม่ ในปี พ.ศ. 2555 และการเลือกตั้งซ่อมสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 3 เชียงใหม่ พ.ศ. 2556 ของภรรยา ในนามพรรคประชาธิปัตย์ [5]

การดำรงตำแหน่งทางการเมือง

เจ้าธวัชวงศ์ เคยดำรงตำแหน่งทางการเมือง ได้แก่ ประจำสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในปี พ.ศ. 2532 และเป็นเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ในปี พ.ศ. 2535 [6]

ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข ในรัฐบาลนายบรรหาร ศิลปอาชา [7] โดยมีผลงานในการริเริ่มให้มีการจัดตั้งองค์กรสนับสนุนและพัฒนาการส่งเสริมสุขภาพ เมื่อปี พ.ศ. 2539 [8] จนเป็นที่มาของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ ในปัจจุบัน และได้รับแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลพลเอกชวลิต ยงใจยุทธ [9] มีผลงานที่โดดเด่นคือ การมอบนโยบายให้ธนาคารออมสินจัดทำโครงการนำร่องที่เรียกว่า โครงการ"บัญชีเงินฝากออมทรัพย์ โดยยึดหลักศาสนาอิสลามหรือบัญชีเงินฝากที่ไม่ให้ผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย"[10] ก่อนจะเป็นที่มาของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในปัจจุบัน ต่อมาเขาไปรับตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ[11] ในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2540 ก่อนจะสิ้นสุดความเป็นรัฐมนตรีเนื่องจากนายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง ในเดือนพฤศจิกายนของปีเดียวกัน

การดำรงตำแหน่งในพรรคการเมือง

เจ้าธวัชวงศ์ ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเลขาธิการพรรคความหวังใหม่ ในการประชุมสามัญ ประจำปี 2534 เมื่อวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2534 และได้รับแต่งตั้งเป็นรองหัวหน้าพรรคความหวังใหม่ ในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2541 เมื่อวันที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2542

ใกล้เคียง

ธวัชวงศ์ ณ เชียงใหม่ ธวัช วิชัยดิษฐ ธวัช พรรัตนประเสริฐ ธวัชชัย สมุทรสาคร ธวัชชัย ดำรงค์อ่องตระกูล ธวัชชัย ไทยเขียว ธัชวิทยา ธวัช สุกปลั่ง ธวัชชัย อนามพงษ์ ธวัช บุญเฟื่อง

แหล่งที่มา

WikiPedia: ธวัชวงศ์_ณ_เชียงใหม่ http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1... http://www.thainhf.org/document/research/research_... http://www.council.cmru.ac.th/oldweb/board_v1.php http://www.mpec.cmru.ac.th/mpec2012/option/files/0... http://www.mcp.ac.th/readPDF/Jfile/FCyjZQXXi4FBk.p... http://www.montfort.ac.th/applications/address/vie... http://www.dopa.go.th/area/changmai.htm http://www.mof.go.th/home/Press_release/mofnews/26... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2535/D/...