อนุกรมวิธาน ของ นกกระจอกบ้าน

เนื้อความที่บรรยายถึงนกกระจอกใหญ่และนกกระจอกบ้านจาก Systema naturae[10]

นกกระจอกโลกเก่าสกุล Passer เป็นนกจับคอนขนาดเล็กที่เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดจากทวีปแอฟริกา มีอยู่ประมาณ 15–25 ชนิดขึ้นอยู่กับผู้แต่ง[11] โดยทั่วไปแล้ว สมาชิกในสกุลจะมีถิ่นอาศัยในพื้นที่เปิดโล่ง ป่าละเมาะ แม้ว่า หลายชนิดโดยเฉพาะนกกระจอกใหญ่ (P. domesticus) สามารถปรับตัวเข้ากับที่อยู่อาศัยของมนุษย์ได้ โดยมากนกในสกุลจะยาว 10–20 ซม. (4–8 นิ้ว) มีสีน้ำตาลหรือเทา หางเหลี่ยมสั้น ปากสั้นกลม กินเมล็ดพืชตามพื้นดิน บางครั้งกินสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังเป็นอาหาร โดยเฉพาะช่วงผสมพันธุ์วางไข่[12] จากการศึกษาทางพันธุกรรมแสดงว่านกกระจอกบ้านแยกตัวจากสมาชิกในสกุลอื่นแต่แรก ก่อนชนิดใหม่อย่างนกกระจอกใหญ่ นกกระจอกตาล และนกกระจอกสเปน[13] นกกระจอกบ้านไม่ได้เป็นญาติใกล้ชิดกับนกกระจอกต้นไม้อเมริกา (Spizella arborea) ซึ่งอยู่ในวงศ์นกกระจอกอเมริกา[14]

ชื่อวิทยาศาสตร์ของนกกระจอกบ้านมาจากคำสองคำในภาษาละติน: passer ที่แปลว่า "นกกระจอก" และ montanus แปลว่า "แห่งภูเขา" (จากคำ mons ที่แปลว่า "ภูเขา")[4] นกกระจอกบ้านได้รับการจำแนกครั้งแรกโดยคาโรลัส ลินเนียสในงาน Systema Naturae ของเขาเมื่อปี ค.ศ. 1758 ในชื่อ Fringilla montana,[15] แต่ถูกย้ายจากวงศ์นกฟินซ์ (Fringillidae) พร้อมกับนกกระจอกใหญ่สู่สกุลใหม่ Passer ที่สร้างโดยนักสัตววิทยาชาวฝรั่งเศส มาทูริน จ็คซ์ บริซซัน (Mathurin Jacques Brisson) ใน ค.ศ. 1760[16] ชื่อ Eurasian Tree Sparrow นั้นมาจากมันชอบทำรังในโพรงต้นไม้เป็นพิเศษ ชื่อนี้และชื่อวิทยาศาสตร์ montanus กลับไม่แสดงถึงถิ่นอาศัยของนกอย่างเหมาะสม รวมถึงชื่อในภาษาเยอรมัน Feldsperling ("นกกระจอกทุ่ง") ก็เช่นกัน[17]

ชนิดย่อย

ชนิดย่อย P. m. montanus

นกชนิดนี้มีความแตกต่างกันเพียงเล็กน้อยจากจากการกระจายพันธุ์ที่กว้างขวาง มีเพียง 8 ชนิดย่อยที่ถูกจำแนกโดยคลีเมนต์ซึ่งน้อยมาก และยังมีชนิดย่อยอื่นอีก 15 ชนิดที่ถูกเสนอ แต่ได้รับการพิจารณาเป็นผลผลิตของเผ่าพันธุ์[6][18]

  • P. m. montanus เป็นชนิดย่อยที่เป็นตัวอย่างในการจำแนกเป็นชนิด กระจายพันธุ์ทั่วทวีปยุโรป ยกเว้น ทางตะวันตกเฉียงใต้ของไอบีเรีย, ตอนใต้ของประเทศกรีซ, และยูโกสลาเวีย นอกจากนี้ยังมีการแพร่พันธุ์ในเอเชียไปทางตะวันออกถึงแม่น้ำลีนาและทางใต้ถึงพื้นที่ตอนเหนือของประเทศตุรกี, คอเคซัส, ประเทศคาซัคสถาน, ประเทศมองโกเลีย และประเทศเกาหลี
  • P. m. transcaucasicus จำแนกโดย เซอร์ไก อเล็กซานโดรวิช บูทราลิน (Sergei Aleksandrovich Buturlin) ในปี ค.ศ. 1906 แพร่พันธุ์จากตอนใต้ของคอเคซัสไปทางตะวันออกถึงตอนเหนือของประเทศอิหร่าน มันมีสีทึมกว่าและสีออกเทากว่าชนิดย่อย P. m. montanus[6]
  • P. m. dilutus จำแนกโดย ชาร์ลีซ์ วอร์เวซ ริดมอน (Charles Wallace Richmond) ในปี ค.ศ. 1856 เป็นนกประจำถิ่นในทางตะวันออกเฉียงเหนือสุดของประเทศอิหร่าน, ภาคเหนือของประเทศปากีสถาน และบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย และยังพบว่ามีจำนวนมากขึ้นในตอนเหนือจากประเทศอุซเบกิสถานและประเทศทาจิกิสถานไปทางตะวันออกถึงประเทศจีน เมื่อเทียบกับชนิดย่อย P. m. montanus มันมีสีจืดกว่าและมีส่วนบนสีน้ำตาลทราย[6]
  • P. m. tibetanus เป็นชนิดย่อยที่มีขนาดใหญ่ที่สุด จำแนกโดย สจ๊วต บาเคอร์ (Stuart Baker) ในปี ค.ศ. 1925 พบในตอนเหนือของเทือกเขาหิมาลัย จากประเทศเนปาลไปทางตะวันออก ผ่านทิเบตถึงบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศจีน มันคล้ายกับชนิดย่อย P. m. dilutus แต่มีสีเข้มกว่า[6]
  • P. m. saturatus จำแนกโดย ลีออนฮาร์ด เฮสซ์ สเทตเนเจอร์ (Leonhard Hess Stejneger) ในปี ค.ศ. 1885 แพร่พันธุ์ในเกาะซาฮาลิน, หมู่เกาะคูริล (Kuril Islands), ประเทศญี่ปุ่น, ไต้หวัน และประเทศเกาหลีใต้ มันมีสีน้ำตาลเข้มกว่าชนิดย่อย P. m. montanus และมีปากใหญ่กว่า[6]
  • P. m. malaccensis จำแนกโดย อัลฟงส์ ดูโบอิส (Alphonse Dubois) ในปี ค.ศ. 1885 พบจากทางตอนใต้ของเทือกเขาหิมาลัยไปทางตะวันออกถึงมณฑลไหหลำและประเทศอินโดนีเซีย มันมีสีเข้มคล้ายชนิดย่อย P. m. saturatus แต่มีขนาดเล็กกว่าและมีลายขีดหนามากกว่าบนส่วนบน[6]
  • P. m. hepaticus จำแนกโดย ซิดนีย์ ดิลลอน ริปพลีย์ (Sidney Dillon Ripley) ในปี ค.ศ. 1948 แพร่พันธุ์จากทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐอัสสัมถึงบริเวณตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศพม่า มันคล้ายกับชนิดย่อย P. m. saturatus แต่มีสีออกแดงมากกว่าที่หัวและส่วนบน[6]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกกระจอกบ้าน http://www.agric.wa.gov.au/content/pw/vp/bird/f117... http://ibc.lynxeds.com/species/eurasian-tree-sparr... http://www.skullsite.com/completelist/speciesinfo.... http://bna.birds.cornell.edu/bna/species/560/artic... http://elibrary.unm.edu/sora/Condor/files/issues/v... http://www.ccma.csic.es/index.php/es/def/pdf1330?m... http://chopo.pntic.mec.es/~biolmol/publicaciones/P... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11479685 http://kornel.zool.klte.hu/pub/ornis/articles/Orni... http://hdl.handle.net/2246%2F2345