พฤติกรรม ของ นกกางเขน

ไข่นกกางเขนลูกนกในประเทศศรีลังกา สีน้ำตาลเป็นลายเกล็ดที่ด้านบนและหัว ต่างจากนกที่โตเต็มที่แล้ว

นกกางเขนผสมพันธุ์กันในระหว่างเดือนมีนาคมจนถึงเดือนกรกฎาคมในอินเดีย และในระหว่างเดือนมกราคมจนถึงเดือนมิถุนายนในเอเชียอาคเนย์ตัวผู้ร้องเสียงไพเราะจากที่สูงในช่วงจีบตัวเมียลีลาแสดงตัวของตัวผู้รวมทั้งทำขนให้ฟูขึ้น ยกปาก คลี่หาง และเดินวางมาด[7] นกทำรังในโพรงไม้ หรือที่เวิ้งกำแพงหรืออาคาร และบางครั้งจะเข้าไปอยู่ในกล่องที่ทำไว้ให้นกอยู่นกจะเอาหญ้าและฟางมาปูรังตัวเมียจะทำการสร้างรังมากกว่า และจะทำก่อนการวางไข่ประมาณอาทิตย์หนึ่งนกจะวางไข่ 4-5 ฟองภายใน 24 ชม. ไข่มีรูปร่างกลมรี มีสีเขียวอ่อน ๆ มีจุดสีน้ำตาล ดูเข้ากับสีของหญ้าและฟางที่ปูในรังตัวเมียเท่านั้นจะกกไข่เป็นเวลา 8-14 วัน[2][4][16] รังนกจะมีกลิ่นแบบเฉพาะตัว[2]

ตัวเมียเลี้ยงลูกมากกว่าตัวผู้ส่วนตัวผู้จะค่อนข้างดุในฤดูผสมพันธุ์ จะป้องกันอาณาเขตของตน[17] และจะมีปฏิกิริยาต่อเสียงนกอื่นในอาณาเขต หรือแม้แต่เงาในกระจกของตนเอง[18] ตัวผู้จะทำการป้องกันอาณาเขตมากกว่าตัวเมีย[19]งานศึกษาต่าง ๆ พบว่า เสียงร้องของนกจะต่างไปตามถิ่น แม้แต่นกที่อยู่ใกล้ ๆ กัน[20] นกอาจจะเลียนแบบเสียงร้องของนกสปีชีส์อื่น ๆ[21][22] ซึ่งอาจจะแสดงว่า นกที่โตแล้วจะย้ายกระจายไปที่อื่น ไม่กลับมาที่กำเนิด (philopatric)[23] ตัวเมียอาจจะส่งเสียงร้องระยะสั้น ๆ เมื่อเจอตัวผู้[24]

นอกจากเพลงที่ร้องแล้ว นกยังส่งเสียงร้องประเภทหลัก ๆ รวมทั้งการประกาศอาณาเขต (territorial call) การออกและการกลับรัง (emergence and roosting call) การแสดงภัย (threat call) การยอมแพ้ (submissive call) การขออาหาร (begging call) และการร้องทุกข์ (distress call) ส่วนเสียงร้องประเภทอื่น ๆ ที่ใช้เป็นบางครั้งคือ เสียงร้องหนี (escape call) และเสียงร้องฉุน (anger call)[25] นอกจากนั้นแล้ว ยังมีเสียงร้องให้รุมตี (mobbing call) อีกด้วย[7][8][26] อาหารโดยมากเป็นแมลงและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังอื่น ๆแต่บางครั้งก็จะกินน้ำหวานดอกไม้ ตุ๊กแก (และจิ้งจก)[27][28] ปลิง[29] ตะขาบ[30] และแม้แต่ปลาด้วย[31]

นกจะออกมาหากินบ่อยครั้งในยามสายัณห์[8] บางครั้งจะเล่นน้ำฝนที่รวมอยู่ที่ใบไม้[32]

นกกางเขนเป็นนกขยันทำมาหากิน เมื่ออิ่มก็จะบินขึ้นไปเกาะที่โล่ง ๆ สูง ๆ เช่นสายไฟ เสาอากาศ แล้วร้องเสียงไพเราะ และเมื่อหิวก็จะลงมาหากินใหม่ มักจะได้ยินเสียงทั้งในเวลาอรุณและในยามสายัณห์[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกกางเขน http://www.environment.gov.au/biodiversity/trade-u... http://banglapedia.search.com.bd/HT/M_0038.htm http://docsdrive.com/pdfs/academicjournals/ijzr/20... http://ibc.lynxeds.com/species/oriental-magpie-rob... http://pantip.com/topic/31882671 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13918345 http://www.afcd.gov.hk/english/quarantine/qua_vetl... http://www.iisc.ernet.in/currsci/jan102001/77.pdf http://www.nepjol.info/index.php/ON/article/viewFi... http://www.oknation.net/blog/plains-wanderer/2013/...