สถานะการอนุรักษ์ ของ นกกางเขน

สปีชีส์นี้มีความเสี่ยงต่ำ (little concern) โดยทั่ว ๆ ไป แต่ในบางภูมิภาคจะเริ่มลดจำนวนลง และบางที่รวดเร็วจนกระทั่งว่า นักวิชาการสนับสนุนมาตรการเพื่อช่วยให้นกสามารถอยู่รอดได้ โดยอ้างว่า[2]

นกกางเขนกำลังหมดไปรวดเร็วอย่างไม่น่าเชื่อ เป็นนกที่รู้จักกันดีเพราะเพลงที่มีเสน่ห์และขนที่สวยงาม เป็นนกที่ช่วยรักษาความสมดุลในระบบนิเวศและมีประโยชน์ต่อเกษตรกรรมเพราะโดยทั่วไปกินแมลงที่ทำอันตรายและหนอนก่อโรค ควรทำทุกอย่างเพื่อสนับสนุนให้มีสำนึกเกี่ยวกับ C. saularis และเพื่อรักษามรดกธรรมชาตินี้[2]

การจับไปเป็นสัตว์เลี้ยงและการเปลี่ยนแปลงทางนิเวศน์ก็มีส่วนทำให้ลดจำนวนลง ดังนั้น จึงเป็นนกที่มีกฎหมายป้องกันในบางพื้นที่[33]ในประเทศสิงคโปร์และฮ่องกง นกชนิดนี้ค่อนข้างจะสามัญในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1920 แต่เริ่มลดจำนวนลงในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1970 เชื่อกันว่าเพราะเหตุการแข่งขันจากนกเอี้ยงสาริกาที่นำมาจากถิ่นอื่น[34] ปัจจุบันยังจัดอยู่ในประเภท "สิ่งมีชีวิตที่ใกล้การสูญพันธุ์" (endangered) ในประเทศสิงคโปร์[35]ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[5]

นกกางเขนมีนกล่าเหยื่อที่เป็นศัตรูน้อยแต่ว่ามีการรายงานถึงเชื้อโรคและปรสิตหลายอย่าง

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกกางเขน http://www.environment.gov.au/biodiversity/trade-u... http://banglapedia.search.com.bd/HT/M_0038.htm http://docsdrive.com/pdfs/academicjournals/ijzr/20... http://ibc.lynxeds.com/species/oriental-magpie-rob... http://pantip.com/topic/31882671 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/13918345 http://www.afcd.gov.hk/english/quarantine/qua_vetl... http://www.iisc.ernet.in/currsci/jan102001/77.pdf http://www.nepjol.info/index.php/ON/article/viewFi... http://www.oknation.net/blog/plains-wanderer/2013/...