อนุกรมวิธาน ของ นกตะขาบอินเดีย

นกตะขาบอินเดียเป็นหนึ่งในนกหลายสายพันธุ์ที่กาโรลุส ลินเนียส ระบุชนิดไว้ในระบบธรรมชาติ (Systema Naturae) ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 10 ค.ศ. 1758 ในชื่อทวินาม Corvus benghalensis[3] ซึ่งตั้งตามคำอธิบายและภาพวาดแสดงลักษณะของนกเจย์ชนิดหนึ่งจากเบงกอล ในปี ค.ศ. 1731 โดยเอเลียซาร์ อัลบิน (Eleazar Albin) นักธรรมชาติวิทยาชาวอังกฤษ ซึ่งได้คัดลอกมาจากภาพวาดโดยโจเซฟ แดนดริดจ์ (Joseph Dandridge) นักวาดภาพประกอบ[4]

ในปี ค.ศ. 1766 ลินเนียสได้ระบุชนิดนกตะขาบอินเดียภายใต้ชื่อใหม่ Coracias indica[5] ตามคำอธิบายของจอร์จ เอ็ดเวิร์ด (George Edwards) จากตัวอย่างที่เก็บได้ในศรีลังกาในปี ค.ศ. 1764[6] ชื่อหลังนี้เป็นที่นิยมมากกว่าชื่อแรกและถูกใช้นานหลายปี ซึ่งพิศวมัย พิศวาส นักปักษีวิทยาชาวอินเดีย ให้ข้อสังเกตความนิยมที่สับสนนี้อาจเกิดจากหนังสือ ระบบธรรมชาติ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 12 ของลินเนียสเป็นจุดเริ่มต้นสำหรับการตั้งชื่อทวินามอย่างเป็นทางการ (ทำให้ชื่อหลังถูกใช้ แทนที่ควรเป็นชื่อที่ตั้งครั้งแรกในฉบับที่ 10) ต่อมาเอิรนส์ ฮาร์แทท (Ernst Hartert) นักปักษีวิทยาชาวเยอรมัน ระบุว่ามีชนิดย่อยทางตอนเหนือที่ระบุชนิดครั้งแรกควรใช้ชื่อ benghalensis แยกออกอย่างชัดเจนจากชนิดย่อยทางใต้ที่ระบุชนิดครั้งหลังควรใช้ชื่อ indica อย่างไรก็ตาม พิศวมัยตั้งข้อสังเกตว่าชนิดต้นแบบ (ที่ซึ่งเดิมพบตัวอย่างครั้งแรก) ของ benghalensis นั้นคือแคว้นมัทราส (Madras Presidency) ซึ่งอยู่ภายในขอบเขตพื้นที่กระจายพันธุ์ของชนิดย่อยทางใต้ จึงเสนอให้มีการคัดเลือกเก็บตัวอย่างชนิดต้นแบบใหม่ (neotype) จากภูมิภาคเบงกอล ที่ซึ่งเดิมลินเนียสเข้าใจอย่างคลาดเคลื่อนว่าเป็นพื้นที่ที่เก็บตัวอย่างต้นแบบ[7] แนวคิดนี้ได้รับการยอมรับให้ดำเนินการจากคณะกรรมาธิการระหว่างประเทศว่าด้วยการตั้งชื่อทางสัตววิทยาในปี ค.ศ. 1962[8]

นกตะขาบอินเดีย (Coracias benghalensis) เป็นนกในสกุลนกตะขาบทุ่ง (Coracias) ของวงศ์นกตะขาบ (Coraciidae)

ชนิดย่อย

สองชนิดย่อยที่ได้รับการยอมรับ[9] คือ

  • Coracias benghalensis benghalensis (Linnaeus, 1758) — พบในด้านตะวันออกของภูมิภาคตะวันออกกลางโดยรอบอ่าวเปอร์เซีย จนถึงทางตะวันออกเฉียงเหนือของอนุทวีปอินเดีย ตามแนวเทือกเขาวินทยา[10] อาจตลอดจนถึงบังกลาเทศ
  • Coracias benghalensis indicus (Linnaeus, 1766) — กระจาบอยู่ทางใต้ของอินเดีย ไปจนถึงศรีลังกา[10] มีลักษณะที่แตกต่างคือ ปีกและหางสั้นกว่าเล็กน้อย กระหม่อมและสีแซมบนปีกสีน้ำเงินเข้มกว่า หลังด้านบนสีออกไปทางน้ำตาลกว่า รอบคอสีออกน้ำตาลแดง

ความสัมพันธ์กับนกตะขาบทุ่ง

Coracias

Blue-bellied roller (C. cyanogaster)





Purple roller (C. naevius)



Racket-tailed roller (C. spatulatus)






นกตะขาบทุ่งอกสีม่วง (C. caudatus)




Abyssinian roller (C. abyssinicus)



นกตะขาบยุโรป (C. garrulus)






นกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis)




นกตะขาบทุ่ง (C. affinis)



นกตะขาบปีกม่วง (C. temminckii)







ในอดีตนกตะขาบทุ่ง (Coracias affinis) ที่พบในแถบอินโดจีนรวมทั้งประเทศไทยถูกระบุเป็นชนิดย่อยของนกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis) (ในชื่อสามัญร่วมกันคือ นกตะขาบทุ่ง) จากหลักฐานการผสมข้ามพันธุ์ในเขตรอยต่อทับซ้อนในพื้นที่ตั้งแต่ตอนกลางของเนปาล บังกลาเทศ ไปจนถึงรัฐอัสสัมตะวันตก อย่างไรก็ตามในปัจจุบันนกตะขาบทุ่งแยกออกเป็นต่างชนิดกันกับนกตะขาบอินเดีย[11] จากการศึกษาระดับโมเลกุลของนิวเคลียร์และไมโทคอนเดรียดีเอนเอในปี ค.ศ. 2018 พบว่า นกตะขาบทุ่งเป็นญาติใกล้ชิดที่สุดกับนกตะขาบปีกม่วง (C. temminckii) (นกตะขาบทุ่งที่แยกออกนี้บางครั้งสามารถเรียกเป็น "นกตะขาบทุ่งอินโดจีน") ในขณะที่นกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis) เป็นเพียงญาติระดับถัดไปซึ่งแยกออกจาก C. affinis และ C. temminckii

สายวิวัฒนาการ

ความสัมพันธ์ทางสายวิวัฒนาการในสกุลนกตะขาบทุ่ง (Coracias) ถูกระบุจากการศึกษาระดับโมเลกุลที่ตีพิมพ์ในปี ค.ศ. 2018[12]

เมื่อกางปีกบิน จะมองเห็นสีปีกสีน้ำเงิน สีฟ้าสะท้อนแสง เหลือบพรายภาพเคลื่อนไหวขนด้านหลังสีน้ำตาลปนเขียวมะกอก

สมาพันธ์นักปักษีวิทยานานาชาติได้กำหนดให้ชื่อ "นกตะขาบอินเดีย" (อังกฤษ: Indian roller) เป็นชื่อสามัญอย่างเป็นทางการของนกชนิดนี้[9] ในบริติชอินเดียเดิม เรียกว่า 'บลูเจย์' (blue jay; นกเจย์สีฟ้า)[13] และนกตะขาบอินเดียยังถูกเรียกว่า 'ราชาน้อย' (Little King) โดยชาวบ้านในจังหวัดคูเซสถานในประเทศอิหร่าน[14]

ชื่ออื่น

ภาษาเบงกอล : বাংলা নীলকণ্ঠ (Bānlā nīlakaṇṭha, บานลา นิลกันฑา)

ภาษาฮินดี : Pal kuruvi (พาล คุรุวี)

ภาษามลยาฬัม : പനംകക്ക, പനങ്കാക്ക (panaṅkakka; พะนังคัคคา)

ภาษาทมิฬ : Panangadai (พะนังกะได)

ภาษาเปอร์เซีย : سبزقبای هندی

ลูกผสม

พบลูกผสม นกตะขาบทุ่ง x นกตะขาบอินเดีย (Coracias benghalensis x affinis) ในพื้นที่กระจายพันธุ์ที่ทับซ้อนกันของนกตะขาบอินเดีย (C. benghalensis) กับ นกตะขาบทุ่ง (C. affinis) ในช่วงตอนกลางของประเทศบังกลาเทศ และตอนเหนือของรัฐเบงกอลตะวันตก โดยทั่วไปมีลักษณะขนสีฟ้าซีดและขนส่วนมากเป็นสีน้ำตาลทึมโดยเฉพาะส่วนท้องและบนกระหม่อมเกือบทั้งหมด ลำคออาจมีสีครามเล็กน้อยพร้อมกับริ้วขาวประปรายเล็กน้อย ซึ่งเป็นลักษณะเด่นของ C. affinis กับ C. benghalensis ตามลำดับ หรือไม่มีเลย (น้ำตาลอ่อนล้วน)[15]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกตะขาบอินเดีย http://www.chiangmaizoo.com/web25/encyclopedia/ani... http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstoc... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18453241 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29631051 http://www.ias.ac.in/jarch/procb/2/00000076.pdf http://knowindia.gov.in/knowindia/national_symbols... http://www.telangana.gov.in/about/state-symbols http://www.birdsofthailand.net/product/73/%E0%B8%9... http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/227... http://www.boldsystems.org/index.php/TaxBrowser_Ta...