ลักษณะ ของ นกตะขาบอินเดีย

ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำยาวปานกลางนกตะขาบอินเดียวัยอ่อน

เป็นนกขนาดกลาง มีขนาดลำตัวประมาณ 30–34 เซนติเมตร[16][17][18] น้ำหนัก 166–176กรัม[19] ตัวผู้และตัวเมียมีลักษณะเหมือนกัน รูปร่างป้อมไม่เพรียวลม ลำตัวตั้งตรง คอสั้น หัวโต ปากสีดำด้าน ยาวปานกลาง สันปากบนโค้ง จะงอยเป็นตะของุ้ม หนังรอบตาสีส้มแก่ ม่านตาสีน้ำตาลเทา[17]

ปีกกว้างแต่ยาวและปลายปีกแหลม ปีกกว้าง 65–74 เซนติเมตร ปลายปีกมีขน 11 เส้น ขนปลายปีกเส้นที่ 11 สั้นกว่าขนเส้นอื่น ๆ จึงเห็นได้ชัดเพียง 10 เส้น ปลายหางเป็นรูปสี่เหลี่ยมหรือเว้ากลางเล็กน้อย

ขาและตีนเหลืองอมน้ำตาล ขาสั้น นิ้วตีนสั้นและไม่แข็งแรง เล็บโค้ง นิ้วตีนข้างละ 4 นิ้ว นิ้วที่ 2 และนิ้วที่ 3 เชื่อมติดกันตรงโคนนิ้ว เรียกตีนที่มีลักษณะดังกล่าวว่า นิ้วติดกันแต่กำเนิด (syndactyly foot) ความคล้ายคลึงกับนกกะรางหัวขวาน ในวงศ์ Upupidae

สีขน

ใต้ปีกและหาง เป็นสีฟ้าสลับน้ำเงิน ขนปีกนอกปลายสีฟ้าคาดแถบเล็ก ๆ สีน้ำเงินปลายนอกสุด ปีกในเป็นน้ำเงินเกือบทั้งหมดเว้นโคนขนปีกสีฟ้า (ดูรูปล่าง)ขนนกตะขาบอินเดีย: ขนปีกนอก ขนปีกในด้านนอกสองเส้น และขนหางสองเส้น (จากซ้ายไปขวา)

ขนที่หน้าผาก คาง และโคนจะงอยปากเป็นสีชมพูอมน้ำตาลอ่อน ขนปิดรูหูมีสีน้ำตาลแดงเข้มและมีริ้วสีชมพูหรือชมพูอ่อน คอสีน้ำตาลแดงหม่นและมีริ้วสีชมพูอ่อน กระหม่อมและต้นคอสีฟ้าเข้ม หลังและตะโพกสีเขียวมะกอก ท้องสีฟ้า ส่วนหางเป็นสีฟ้า ส่วนปลายสีครามถึงน้ำเงิน โคนหางโดยรอบเป็นสีครามเข้ม ขนปีกบนปีกมีสีม่วงน้ำเงินเหมือนกันกับขนที่หาง คาดด้วยแถบสีฟ้า ปลายสุดของขนปีกนอกที่หนึ่งถึงห้าหรือหกมีแถบสีน้ำเงิน ใต้โคนปีกและข้อพับสีฟ้า โคนปีกบนเป็นสีไล่จากนอกไปในคือฟ้าน้ำเงินไปจนสีเขียวหม่น (สีมะกอก) โคนหางด้านในสีฟ้าอ่อนมีปลายขนแซมสีมะกอกหรือคราม[17][18][19]

สีขนโดยรวมดูหม่นซีดเมื่อนกเกาะอยู่กับที่ แต่ดูสดใสหลากสีมากขึ้นเมื่อกางปีกบิน[18] การผลัดขนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนมิถุนายนถึงกลางเดือนสิงหาคมและสิ้นสุดระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงต้นเดือนมีนาคม[17]

สีฟ้าของขนปีกนั้นประกอบขึ้นจากโครงสร้างระดับจุลภาคในหนามขนที่สร้างสีน้ำเงินจากการกระเจิง ซึ่งซี.วี.รามัน (นักฟิสิกส์ชางอินเดีย) ตั้งข้อสังเกตในช่วงคริสต์ทศวรรษที่ 1930 ว่ามีความซับซ้อนเกินกว่าจะอธิบายได้ด้วยปรากฏการณ์ทินดอลล์ จากการศึกษาในปี ค.ศ. 2010 พบว่าหนามขนนกมีโครงสร้างเหมือนช่องที่มีแท่ง β-keratin เส้นผ่านศูนย์กลาง 100 นาโนเมตร สลับกับช่องว่างระหว่างเส้นขน

นกตะขาบอินเดียตัวผู้และตัวเมียที่โตเต็มวัยจะมีรูปร่างสัณฐานคล้ายคลึงกันและไม่มีการเปลี่ยนแปลงสีขนตามฤดูกาล[17] นกวัยรุ่นมีสีทึมกว่า ซีดกว่าและออกสีน้ำตาลมากกว่า[10] กระหม่อมสีเขียวหม่นและท้องสีฟ้าอมเขียวหม่นแต้มด้วยจุดประปรายสีน้ำตาลอ่อน จะงอยปาหมีสีน้ำตาลและมีโคนปากเป็นสีเหลืองแทนที่เป็นสีดำแบบตัวเต็มวัย[17]

เสียง

นกตะขาบอินเดีย ส่งเสียงร้องแบบพยางค์เดี่ยว "จิด ๆ " แตกต่างกันไป ทั้งสั้น ยาว และกระแทกเสียง การร้องร้องเสียงดัง "ค๊าบ แค๊บ ค๊าบ" เกิดขึ้นในระหว่างการบินผาดแผลง และเพิ่มความถี่และระดับเสียงเมื่อนกบินเข้าหาผู้บุกรุก เมื่อเกาะอยู่ข้างกันในรัง ลูกนกส่งเสียงดังเมื่อเรียกหาอาหาร ในขณะที่ลูกนกจะแหกร้องดังหลังกิน นกตะขาบอินเดียวัยรุ่นมักทำเสียงเหมือนแมวขณะหาอาหาร[18]

ความแตกต่างจากนกตะขาบอื่น

  • นกตะขาบทุ่ง (C. affinis)—โดยรวมนกตะขาบทุ่งมีสีเข้มกว่า ขนาดใหญ่กว่า มีคาง คอ และหน้าอกสีครามและไม่มีริ้วลาย[10] หน้าผากสีเขียวอมฟ้า[18] ขนใต้ปีกเป็นสีน้ำเงินเข้มกว่า[20] เสียงเรียกมีเสียงแหลมสูงและมีเสียงจมูกมากกว่า[10]
  • นกตะขาบยุโรป (C. garrulus)—ในระยะไกลอาจเข้าใจผิดว่านกตะขาบอินเดียเป็นนกตะขาบยุโรป[21] ซึ่งเป็นนกอพยพบางส่วนในของเขตการกระจายพันธุ์ของนกตะขาบอินเดีย นกตะขาบยุโรปมีคอและหางยาวกว่าขณะบิน เช่นเดียวกับขนปีกนอกสีดำและหัวสีน้ำเงินล้วน[18]
นกตะขาบอินเดีย
(C. benghalensis)
เปรียบเทียบกับชนิดอื่นที่คล้ายกันในสกุล (เฉพาะที่พบในเอเชีย)
นกตะขาบทุ่ง
(C. affinis)
นกตะขาบยุโรป
(C. garrulus)
นกตะขาบปีกม่วง
(C. temminckii)
  • หน้าและคอสีน้ำตาลอ่อนอมชมพู
  • มีริ้วขาวคาดตามยาวช่วงลำคอและอก
  • ท้ายทอยและหลังสีน้ำตาลเทา
  • สีฟ้าและน้ำเงินโดยรวมเข้ม
  • คอสีครามเด่นชัด
  • ท้ายทอยและหลังสีน้ำตาลมะกอกเข้ม
  • สีโดยรวมเป็นสีฟ้าอ่อนอมเขียว
  • หัวและคอสีฟ้าล้วนหรือเกือบทั้งหมด
  • หลังสีน้ำตาล
  • ปลายปีกนอกและในคล้ายกันคือไม่มีแถบสีฟ้าตรงปลาย
  • สีโดยรวมเป็นสีน้ำเงินเข้ม
  • ปลายปีกและหางสีน้ำเงินสด
  • ท้ายทอยและหลังสีน้ำตาลมะกอกเข้ม
  • นกประจำถิ่นของประเทศไทย[22]
  • ไม่พบในประเทศไทย
  • พบในประเทศอินโดนีเซีย

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกตะขาบอินเดีย http://www.chiangmaizoo.com/web25/encyclopedia/ani... http://topicstock.pantip.com/chalermthai/topicstoc... //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/18453241 //pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/29631051 http://www.ias.ac.in/jarch/procb/2/00000076.pdf http://knowindia.gov.in/knowindia/national_symbols... http://www.telangana.gov.in/about/state-symbols http://www.birdsofthailand.net/product/73/%E0%B8%9... http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/227... http://www.boldsystems.org/index.php/TaxBrowser_Ta...