การอนุรักษ์ ของ นกยางเปีย

ทั่วโลก นกยางเปียไม่จัดว่าเสี่ยงสูญพันธุ์และจริง ๆ ได้ขยายที่อยู่ในช่วงทศวรรษที่ผ่าน ๆ มา[6]สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้ระบุว่าเพราะนกอยู่กระจายอย่างกว้าขวางและมีจำนวนมาก จึงเป็นสปีชีส์ที่น่าเป็นห่วงน้อยสุด (least concern)[1]แต่ในประเทศไทย ก็ยังเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]

อาณานิคมในโลกใหม่

นกได้เริ่มสร้างอาณานิคมในโลกใหม่มีบันทึกว่าเห็นมันที่เกาะบาร์เบโดสในเดือนเมษายน 1954นกเริ่มผสมพันธุ์ที่เกาะในปี 1994 และปัจจุบันก็ผสมพันธุ์ในหมู่เกาะบาฮามาสด้วย[10]การติดป้ายที่ขานก (bird ringing) จากประเทศสเปนช่วยระบุแหล่งที่มาของนก[9]นกคล้ายกับนกยางหิมะ (Egretta thula) มากและยังอยู่รวมฝูงกับนกเหล่านี้ในเกาะบาบาโดส โดยเป็นนกที่เพิ่งเริ่มอาณานิคมใหม่ทั้งสองชนิดแต่นกยางเปียใหญ่กว่า มีวิธีการหากินหลากหลายกว่า และเป็นนักเลงใหญ่กว่าในที่หากิน[9]ยังมีรายงานเห็นนกในบริเวณเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มตั้งแต่ประเทศซูรินามและบราซิลทางทิศใต้จนไปถึงเกาะนิวฟันด์แลนด์ รัฐควิเบก และรัฐออนแทรีโอในประเทศแคนาดาทางทิศเหนือนกทางชายฝั่งตะวันออกของอเมริกาเหนือเชื่อว่าอพยพไปทางทิศเหนือพร้อมกับนกยางหิมะจากหมู่เกาะแคริบเบียนในเดือนมิถุนายน 2011 มีรายงานว่าเห็นนกในรัฐเมนของสหรัฐ[11]

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกยางเปีย http://www.avibirds.com/html/Little_Egret.html http://www.hbw.com/ibc/species/little-egret-egrett... http://www.wmtw.com/news/28400447/detail.html http://aulaenred.ibercaja.es/wp-content/uploads/41... http://www.eu-nomen.eu/portal/taxon.php?GUID=urn:l... http://www.nzor.org.nz/names/f5a51329-c1f9-4b88-93... http://vireo.acnatsci.org/search.html?Form=Search&... http://web.archive.org/web/20150326081039/http://w... http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/627... http://www.birdlife.org/datazone/species/factsheet...