นกยางเปีย
นกยางเปีย

นกยางเปีย

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งE. g. garzetta
E. g. immaculata
E. g. nigripes     เมื่อผสมพันธุ์      อยู่ประจำ      เมื่อไม่ผสมพันธุ์      อพยพ (ฤดูไม่ชัดเจน) Ardea garzettaลินเนียส, 1766นกยางเปีย[2](อังกฤษ: little egret, ชื่อวิทยาศาสตร์: Egretta garzetta)เป็นสปีชีส์นกขนาดเล็กในวงศ์นกยาง (Ardeidae)ชื่อสกุลวิทยาศาสตร์มาจากภาษาถิ่นฝรั่งเศส (Provençal dialect) จากคำว่า Aigrette โดยเป็นคำอังกฤษว่า egret ซึ่งเป็นคำที่บ่งขนาดเล็กจากคำว่า Aigron โดยเป็นคำอังกฤษว่า heron ซึ่งแปลว่านกยางส่วนชื่อสปีชีส์ว่า garzetta มาจากชื่ออิตาลีของนกนี้คือ garzetta หรือ sgarzetta[3]ในประเทศไทย เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่าพุทธศักราช 2535 จึงห้ามล่า พยายามล่า ห้ามค้า ห้ามนำเข้าหรือส่งออก ห้ามครอบครอง ห้ามเพาะพันธุ์ ห้ามเก็บหรือทำอันตรายรัง การห้ามการครอบครองและการค้ามีผลไปถึงไข่และซาก[2]นกมีสีขาว มีปากเรียวยาวสีดำ ขาดำยาว แต่นกเผ่าทางตะวันตกมีเท้าเหลืองเป็นนกน้ำ หากินตามน้ำตื้น ๆ และบนพื้น กินสัตว์เล็กต่าง ๆอยู่ผสมพันธุ์เป็นฝูง บ่อยครั้งอยู่กับนกน้ำสปีชีส์อื่น ๆ ทำรังขนาดใหญ่ (platform nest) จากก้านไม้ พุ่มไม้ และหญ้าวางไข่เป็นสีเขียวอมน้ำเงินที่ทั้งพ่อแม่ฟักลูกนกจะมีขนนกราว 6 สัปดาห์ช่วงสืบพันธุ์จะอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำเขตอบอุ่นจนถึงเขตร้อนในทวีปยุโรป, แอฟริกา, เอเชีย, และออสเตรเลียมีนกที่ค่อย ๆ กระจายตัวไปทางทิศเหนือจนมีกลุ่มประชากรที่เสถียรและคงตัวอยู่ได้เองจนถึงสหราชอาณาจักร[4]ในเขตที่อบอุ่น นกโดยมากจะอยู่ประจำถิ่นนกในเขตเหนือรวมทั้งนกยุโรป จะอพยพไปสู่แอฟริกาและเอเชียใต้ช่วงหน้าหนาวนกอาจจะเตร็ดเตร่ไปทางเหนือปลายฤดูร้อนหลังฤดูผสมพันธุ์ ซึ่งอาจช่วยขยายที่อยู่อันเพิ่งเกิดเมื่อไม่นานนี้แม้จะเป็นนกที่เคยสามัญในยุโรปตะวันตก แต่ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 นกก็ถูกล่าอย่างเป็นล่ำเป็นสันเพื่อเอาขนมาประดับหมวกจนสูญพันธ์ไปในยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือและเหลือน้อยทางตอนใต้ราว ๆ ปี 1950 ยุโรปใต้จึงได้ออกกฎหมายสงวนป้องกันนกสปีชีส์ต่าง ๆ แล้วจำนวนจึงได้เพิ่มขึ้นอีกต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 ก็มีนกผสมพันธุ์อีกในฝรั่งเศส, เนเธอร์แลนด์, ไอร์แลนด์, และสหราชอาณาจักรนกยางเปียยังขยายถิ่นที่อยู่ไปทางทิศตะวันตกอีกด้วย โดยพบเห็นในประเทศบาร์เบโดสในหมู่เกาะแคริบเบียนเป็นครั้งแรกในปี 1954 และเริ่มผสมพันธุ์ในปี 1994สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ได้ประเมินสถานะอนุรักษ์ทั่วโลกว่า น่าเป็นห่วงน้อยสุด (least concern)

แหล่งที่มา

WikiPedia: นกยางเปีย http://www.avibirds.com/html/Little_Egret.html http://www.hbw.com/ibc/species/little-egret-egrett... http://www.wmtw.com/news/28400447/detail.html http://aulaenred.ibercaja.es/wp-content/uploads/41... http://www.eu-nomen.eu/portal/taxon.php?GUID=urn:l... http://www.nzor.org.nz/names/f5a51329-c1f9-4b88-93... http://vireo.acnatsci.org/search.html?Form=Search&... http://web.archive.org/web/20150326081039/http://w... http://datazone.birdlife.org/species/factsheet/627... http://www.birdlife.org/datazone/species/factsheet...