นครธม
นครธม

นครธม

นครธม (เขมร: អង្គរធំ) เป็นเมืองหลวงแห่งสุดท้ายและเป็นเมืองที่เข้มแข็งที่สุดของอาณาจักรขะแมร์ ปัจจุบันตั้งอยู่ในจังหวัดเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา สถาปนาขึ้นในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 12 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7[1]:378–382[2]:170 มีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่ 9 ตารางกิโลเมตร อยู่ทางทิศเหนือของ นครวัด ภายในนครมีสิ่งก่อสร้างมากมายนับแต่สมัยแรก ๆ และที่สร้างขึ้นต่อโดยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 และรัชทายาท ใจกลางพระนครเป็นปราสาทหลักที่สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมัน เรียกว่า "ปราสาทบายน" ซึ่งยังประกอบด้วยกลุ่มปราสาทและลานกลางแจ้งขนาดใหญ่โดยรอบ สัญลักษณ์สำคัญที่โดดเด่นสำหรับนครธม คือ พระพักต์สี่หน้าของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 หรือตามแหล่งข้อมูลอื่นเชื่อว่าเป็น พระพักต์ของพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ ซึ่งปรากฎพบตามปราสาทบายน หรือ ตามประตูเมืองทั้งสี่ด้าน นอกจากนี้ ประตูเมืองฝั่งเข้าสู่นคร จะพบถนนหลักที่ทั้งสองฝั่งเป็นแถวของยักษ์ (อสูร) ในทางด้านขวา และเทวดาทางด้านซ้าย เรียงรายแบกพญานาคอยู่สองข้างสะพาน โดยบริเวณประตูด้านใต้นี้ได้รับการอนุรักษ์ฟื้นฟูไว้ได้ดีกว่าบริเวณอื่น ๆ

นครธม

รูปแบบสถาปัตยกรรม บายน (รูปแบบสถาปัตยกรรมที่เด่นที่สุด; แต่ภายในนครธมก็มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่หลากหลาย)
ภูมิภาค เอเซียตะวันออกเฉียงใต้
ประเภท โบราณสถาน
ผู้สร้าง พระเจ้าชัยวรมันที่ 7
สภาพ ได้รับการบูรณะ
การเปิดให้เข้าชม เฉพาะชาวต่างชาติที่ต้องซื้อตั๋วก่อนเข้า
ความกว้าง 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์)
เส้นผ่านศูนย์กลาง 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์)
ความยาว 3 กิโลเมตร (1.9 ไมล์)
ละทิ้ง ราวต้นศตวรรษที่ 17
สมัย ยุคกลาง
ปริมณฑล 12 กิโลเมตร (7.5 ไมล์)
พิกัด 13°26′36″N 103°51′35″E / 13.443302°N 103.859682°E / 13.443302; 103.859682
ที่ตั้ง เสียมราฐ, กัมพูชา
ชื่ออื่น อังกอร์ธม
สร้าง ปลายศตวรรษที่ 12 (ไม่ได้รวมโบราณบางแห่งภายใน ซึ่งสร้างหลังจากนั้น)
พื้นที่ 9 ตร.กม. (3.4 ตร.ไมล์)
ส่วนหนึ่งของ เมืองพระนคร
วัสดุ หินทราย, ศิลาแลง
ผู้บริหารจัดการ เอพีเอสเออาร์เอ (APSARA)