ซากดึกดำบรรพ์ ของ นอติลอยด์

ซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์ Trilacinoceras ยุคออร์โดวิเชียนจากประเทศจีนซากดึกดำบรรพ์นอติลอยด์ที่มีเปลือกกระดองชนิดออร์โธคองส์ยุคออร์โดวิเชียน พบในเคนทัคกี รอยพิมพ์ด้านในแสดงลักษณะของไซฟังเคิลและห้องด้านในมีสารปูนสะสมตัวอยู่ครึ่งห้อง

นอติลอยด์จะพบมากในหินที่มีอายุในช่วงแรกๆของมหายุคพาลีโอโซอิก (พบน้อยในชั้นตะกอนปัจจุบัน) เปลือกกระดองของซากดึกดำบรรพ์มีลักษณะหลายรูปแบบ ที่มีลักษณะเป็นแท่งตรงเช่น ออร์โธเชอแรสและเลยอนโนเซอแรส ที่เป็นแท่งโค้ง เช่น เซอโตเซอแรส ที่ขดม้วน เช่น ซีโนเซอแรส หรือที่ขดม้วนเป็นเกลียว เช่น ลอริเออเซอแรส ผิวของเปลือกกระดองบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งนอติลอยด์ในช่วงปลายมหายุคพาลีโอโซอิกและช่วงต้นมหายุคมีโซโซอิกจะมีลวดลายประดับด้วยหนามและลายเส้น

หินยุคออร์โดวิเชียนในทะเลบอลติกและส่วนของสหรัฐอเมริกาจะพบนอติลอยด์อย่างหลากหลายอย่างเช่นดิสซิโตเซอแรสและเลยอนโนเซอแรสอาจพบในหินปูนยุคคาร์บอนิเฟอรัสในสาธารณรัฐไอร์แลนด์ หินที่สะสมตัวในทะเลยุคจูแรสซิกในสหราชอาณาจักรมักพบซีโนเซอแรส และนอติลอยด์อย่างเช่นยูเทรโฟเซอแรสก็อาจพบในหมวดหินปิแอร์เชลยุคครีเทเชียสในทางตอนกลางถึงตอนเหนือของสหรัฐอเมริกา

ตัวอย่างของนอติลอยด์ “เอนโดเชอแรส”ยุคออร์โดวิเชียนพบว่ามีความยาวถึง 3.5 เมตร และ”[คาเมอโรเซอแรส]]” ที่ประมาณว่าอาจจะมีขนาดได้ถึง 11 เมตร นอติลอยด์ขนาดใหญ่เหล่านี้จะต้องเป็นสัตว์นักล่าที่น่าสะพรึงกลัวของเหล่าสัตว์ทะเลอื่นๆในยุคนั้นอย่างแน่นอน

ในบางแห่งอย่างเช่นสแกนดิเนเวียและโมรอคโคพบนอติลอยด์ที่มีเปลือกกระดองแบบออร์โธโคนสะสมตัวเป็นจะนวนมากเกิดเป็นชั้นหินปูนออร์โธเซอแรส แม้ว่าคำว่า “ออร์โธเซอแรส”ในปัจจุบันจะอ้างถึงสกุลที่พบในทะเลบอลติกยุคออร์โดวิเชียนเท่านั้น แต่ก่อนหน้านั้นได้ถูกใช้กับนอติลอยด์พวกออร์โธโคนทั้งหมดที่อาศัยอยู่ระหว่างยุคออร์โดวิเชียนถึงยุคไทรแอสซิก (แต่พบได้ทั่วไปในช่วงต้นของมหายุคพาลีโอโซอิก)