นิมโบสเตรตัส
นิมโบสเตรตัส

นิมโบสเตรตัส

นิมโบสเตรตัส (อังกฤษ: nimbostratus) มีชื่อเรียกมาจากภาษาละติน nimbus แปลว่า ฝน และ stratus แปลว่า แผ่ขยาย นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆสีเทา มีรูปร่างไม่แน่นอน มักก่อให้เกิดฝนหรือหิมะตกอย่างต่อเนื่องโดยไม่มีฟ้าแลบฟ้าผ่า[1] นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่ก่อตัวในระดับกลางของชั้นโทรโพสเฟียร์ ก่อนจะแผ่ขยายสู่ชั้นบนและชั้นล่างของท้องฟ้า[2] ฐานเมฆมักอยู่ที่ระดับความสูง 3,000 เมตร เมฆชนิดนี้พบได้ทั่วโลก แต่มักพบบ่อยบริเวณกึ่งเขตร้อนและเขตอบอุ่น[3] นิมโบสเตรตัสมีอักษรย่อคือ Ns และสัญลักษณ์ นิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่เกิดจากมวลอากาศร้อนที่ยกตัวสูงขึ้นช้า ๆ จากแนวปะทะอากาศร้อนหรือแนวปะทะปิด[4] และบางครั้งเกิดจากเมฆที่อยู่ระดับสูงกว่า เช่น เซอร์โรสเตรตัส และอัลโตสเตรตัส[5][6] โดยทั่วไปแล้ว นิมโบสเตรตัสไม่ก่อให้เกิดพายุฟ้าคะนอง แต่ด้วยแนวปะทะอากาศร้อนที่กลายสภาพเป็นอากาศร้อนและแห้ง ทำให้เมฆคิวมูโลนิมบัสซึ่งเป็นเมฆฝนเช่นกัน ก่อตัวใกล้กับนิมโบสเตรตัสและเกิดฟ้าผ่าและฟ้าแลบได้เนื่องจากนิมโบสเตรตัสเป็นเมฆที่หนาทึบและไม่มีรูปร่างแน่นอน จึงไม่มีการแบ่งแยกเป็นเมฆย่อย[7][8] แต่เมฆชนิดนี้มีลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ precipitation-based supplementary features (ก่อให้เกิดน้ำโปรยฐานเมฆ หรือหยาดน้ำฟ้าอื่น ๆ), นิมโบสเตรตัส แพนนัส (เมฆเสริมที่ก่อตัวใต้ฐานเมฆหลัก)[9], เมฆหลักเจนิตัส (เกิดจากเมฆคิวมูลัสและคิวมูโลนิมบัส) และเมฆหลักมิวเตตัส (เกิดจากเมฆอัลโตคิวมูลัส สเตรโตคิวมูลัส และอัลโตสเตรตัส)

ใกล้เคียง