ความหมายในการสื่อสารโทรคมนาคม ของ บรอดแบนด์

บรอดแบนด์หมายถึงแบนด์วิดธ์การสื่อสารอย่างน้อย 256 kbit/วินาที แต่ละช่องกว้าง 6 MHz และใช้ช่วงกว้างของความถี่ในการถ่ายทอดและรับข้อมูลระหว่างเครือข่ายได้อย่างง่ายดาย. วิธีการส่งสัญญาณแบบบรอดแบนด์เป็นการจัดการกับแถบที่กว้างของความถี่ บรอดแบนด์เป็นคำคุณศัพท์และให้ความหมายตามตัวอักษร แบนด์วิดท์ของช่องสัญญาณยิ่งกว้างเท่าไร ความจุของข้อมูลที่ขนส่งมายิ่งมากเท่านั้น ถ้าช่องสัญญาณมีคุณภาพเท่ากัน

ตัวอย่างเช่นในวิทยุ แถบที่แคบมากๆจะใช้ส่งรหัสมอร์ส; แถบที่กว้างกว่าจะใช้ส่งคำพูดหรือเสียงดนตรีโด​​ยไม่สูญเสียความถี่เสียงสูงที่จำเป็นสำหรับการสร้างเสียงที่สมจริง แถบที่กว้างนี้มักถูกแบ่งออกเป็นช่องหรือความถี่ที่ใช้เทคนิค passband เพื่อทำ frequency-division multiplexing แทนที่จะส่งสัญญาณมีคุณภาพสูงความถี่เดียว

เสาอากาศโทรทัศน์อาจจะอธิบายได้ว่าเป็น "บรอดแบนด์" เพราะมันมีความสามารถในการรับได้หลายช่องสัญญาณ ในขณะที่เสาอากาศความถี่เดียวหรือ Lo-VHF เป็น "narrowband" เนื่องจากที่มันรับได้เพียง 1-5 ช่องเท่านั้น มาตรฐาน FS-1037C ของรัฐบาลกลางสหรัฐ กำหนด "บรอดแบนด์" เป็นคำพ้องกับ wideband.

ในการสื่อสารข้อมูล โมเด็ม 56k จะส่งข้อมูลอัตราความเร็ว 56 กิโลบิตต่อวินาที บนสายโทรศัพท์แถบความถี่กว้าง 4 กิโลเฮิรตซ์ (narrowband หรือ voiceband) รูปแบบต่างๆของบริการ digital subscriber line (DSL) จะเป็นบรอดแบนด์ในแง่ที่ว่าข้อมูลดิจิตอลจะถูกส่งผ่านช่องทางที่มีแบนด์วิธสูง ที่อยู่ในย่านความถี่สูงพร้อมกับช่องสัญญาณเสียงเบสแบนด์ความถี่ต่ำในคู่สายเดียว ดังนั้นมันจึงสามารถให้บริการโทรศัพท์ธรรมดาในเวลาเดียวกับบริการ DSL

อย่างไรก็ตาม เมื่อคู่สายนั้นถูกแปลงให้เป็นสายตีเกรียวไม่มีโหลด (ไม่มีตัวกรองโทรศัพท์) มันจะกลายเป็นสายเคเบิลที่สามารถส่งข้อมูลที่มีแถบกว้างหลายร้อยกิโลเฮิร์ตซ์ (บรอดแบนด์) และสามารถส่งข้อมูลได้ถึง 60 เมกะบิตต่อวินาทีโดยใช้เทคนิค very-high-bitrate digital subscriber line (VDSL หรือ VHDSL)

ในช่วงปลายทศวรรษ 1980 Broadband Integrated Services Digital Network (B-ISDN) เป็นคำที่ใช้เพื่ออ้างถึงช่วงกว้างของอัตราบิตที่เป็นอิสระจากรายละเอียดการ modulation ทางกายภาพ.