บัญญัติตะวันตก
บัญญัติตะวันตก

บัญญัติตะวันตก

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งบัญญัติตะวันตก (อังกฤษ: Western canon) เป็นคำที่หมายถึงตำราที่ถือว่าเป็น “บัญญัติ” หรือ “แม่แบบ” ของวรรณกรรมตะวันตก และที่กว้างกว่านั้นก็จะรวมทั้งศิลปะที่มีอิทธิพลในการเป็นพื้นฐานในการวิวัฒนาการของรูปแบบของวัฒนธรรมตะวันตก งานเหล่านี้เป็นประมวลงานที่ถือว่ามี “คุณค่าอันประมาณมิได้ทางด้านศิลปะ” บัญญัติดังกล่าวมีความสำคัญต่อทฤษฎี “การศึกษาชั่วอมตะ” (Educational perennialism) และ การวิวัฒนาการของ “วัฒนธรรมระดับสูง” แม้ว่าบัญญัติตะวันตกเดิมจะถือกันว่าเป็นสิ่งสำคัญ แต่กลายมาเป็นหัวข้อที่สร้างความขัดแย้งเพิ่มขึ้นตั้งแต่ครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ในทางปฏิบัติการโต้แย้งและความพยายามที่จะให้คำนิยามของบัญญัติมักจะลงเอยด้วยรายชื่อหนังสือประเภทต่างๆ ที่รวมทั้ง: วรรณคดีที่รวมทั้ง กวีนิพนธ์, นวนิยาย และ บทละคร, งานเขียนอัตชีวประวัติและจดหมาย, ปรัชญา และประวัติศาสตร์ และหนังสือสาขาวิทยาศาสตร์อีกสองสามเล่มที่ถือว่ามีความสำคัญ

ใกล้เคียง

บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง บัญญัติ บรรทัดฐาน บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา บัญญัติ จันทน์เสนะ บัญญัติตะวันตก บัญญัติ สุชีวะ บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง บัญญัติ (ศาสนาพุทธ) บัญญัติ เจตนจันทร์