ข้อโต้แย้ง ของ บัญญัติตะวันตก

ความคิดเห็นเกี่ยวกับเนื้อหาและสถานะของบัญญัติตะวันตกเป็นเรื่องที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งทางการเมืองกันอย่างรุนแรงมาอย่างน้อยก็ตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา บัญญัติตะวันตกได้รับการโจมตีว่าเป็นหลักสูตรที่เขียนขึ้นส่วนใหญ่โดย “ชายผิวขาวชาวตะวันตกที่หาชีวิตไม่แล้ว” ซึ่งไม่ใช่ผู้ที่เหมาะสมที่จะเป็นผู้แทนของแนวคิดของประชากรกลุ่มอื่นๆ ในสังคมร่วมสมัยรอบโลก แต่แอลแลน บลูมคัดค้านอย่างรุนแรงในหนังสือ “The Closing of the American Mind” (อังกฤษ: “การปิดหูปิดตาของชาวอเมริกัน”) ที่เขียนในปี ค.ศ. 1987 นักเขียนเช่นศาสตราจารย์แฮโรลด์ บลูมแห่งมหาวิทยาลัยเยลก็เช่นกัน ที่ให้เหตุผลสนับสนุนการมีบัญญัติตะวันตกอย่างแข็งขัน โดยทั่วไปแล้วบัญญัติดังกล่าวก็ยังคงเป็นแนวคิดโดยทั่วไปของสถาบันการศึกษาเกือบทุกสถาบัน แต่กระนั้นการโต้เถียงถึงคุณค่าและผลสะท้อนของบัญญัติตะวันตกก็คงยังดำเนินต่อไป

ผู้สนับสนุนบัญญัติกล่าวว่าผู้ค้านมีเหตุผลทางการเมืองแฝงอยู่ และการวัดคุณภาพของงานที่ถือว่าเป็นตัวแทนของบัญญัติตะวันตกเป็นการวัดคุณค่าทางสุนทรียภาพมากกว่าที่จะเป็นคุณค่าทางการเมือง ฉะนั้นการค้านบัญญัติตะวันตกทางด้านการเมืองจึงเป็นการค้านที่ผิดประเด็น

ประเด็นหลักของผู้ค้านบัญญัติวรรณคดีคือปัญหาที่ว่าผู้ใดควรจะมีอำนาจในการเลือกว่าหนังสือเล่มใดมีค่าพอที่จะควรอ่านหรือหรือหนังสือเล่มใดมีคุณค่าไม่เพียงพอแก่การอ่าน

ที่มาของคำว่า “ตะวันตก” ที่หมายถึงภูมิภาคทางภูมิศาสตร์เริ่มใช้กันมาตั้งแต่คริสต์ทศวรรษ 1800 ก่อหน้านั้นชนส่วนใหญ่กล่าวถึงชาติ, ภาษา, บุคคล หรือ ภูมิภาคทางภูมิศาสตร์ต่างๆ แต่จะไม่มีความคิดเกี่ยวกับชาติ “ตะวันตก” เช่นที่ใช้กันในปัจจุบัน แผนที่ที่ใช้กันก็เป็นแผนที่ที่หยาบ ไม่ตรงต่อความเป็นจริง และ ไม่เป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายก่อนคริสต์ทศวรรษ 1800 ฉะนั้นการนิยามความแตกต่างทางภูมิภาคและการเมืองจึงเป็นสิ่งที่ยากที่จะทำ มีคนเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่จะมีแผนที่ที่มีคุณภาพ และยิ่งน้อยไปกว่านั้นก็คือผู้ที่ได้มีโอกาสพบปะกับผู้ที่อาศัยอยู่ในดินแดนอันห่างไกล ปรัชญาหรือแนวคิดตะวันตกที่เราทราบกันในปัจจุบันจึงเป็นปรัชญาที่รูปแบบของความคิดที่มาจากคริสต์ทศวรรษ 1800 ถึง 1900 ที่มีรากเหง้าส่วนใหญ่แล้วมาจากยุโรป ความหมายของปรัชญาหรือแนวคิดตะวันตกที่เราทราบเป็นปรัชญาที่มีพื้นฐานมาจากวัฒนธรรมกรีก-โรมัน และ จูเดโอ-คริสเตียน, เรอเนสซองซ์, ยุคเรืองปัญญา และ การแสวงหาอาณานิคม ฉะนั้นคำว่า “แนวคิดตะวันตก” บางครั้งจึงเป็นสิ่งที่มิได้ช่วยให้กระจ่างขึ้นเท่าใดนักหรือกำกวม เพราะอาจจะเป็นการตีความหมายของธรรมเนียมนิยมต่างๆ, กลุ่มการเมืองต่างๆ, กลุ่มศาสนาต่างๆ และ นักเขียนแต่ละคนอย่างกว้างขวางและแตกต่างกันออกไป แต่ก็มีบ้างที่แนวต่างๆ ดังกล่างก็อาจจะมีความเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กันอยู่บ้าง

ใกล้เคียง

บัญญัติ 10 ประการ บัญญัติ สุวรรณแว่นทอง บัญญัติ บรรทัดฐาน บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา บัญญัติ จันทน์เสนะ บัญญัติตะวันตก บัญญัติ สุชีวะ บัญญัติว่าด้วยสิทธิพื้นฐานของพลเมือง บัญญัติ (ศาสนาพุทธ) บัญญัติ เจตนจันทร์